ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอยเอจเจอร์ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samnosphere (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Samnosphere (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 472:
 
=== บินเฉียดดาวพฤหัสบดี ===
{{Main|การสำรวจดาวพฤหัสบดี}}''วอยเอจเจอร์ 1'' เริ่มทำการถ่ายภาพดาวพฤหัสสบดีในปี ค.ศ. 1979 โดยบินเฉียดระยะใกล้มากที่สุดคือที่ระยะห่างประมาณ {{convert|349000|km|mi|abbr=off|sp=us}} จากจุดศูนย์กลางดาวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1979 และด้วยตำแน่งของยานที่อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีรายละเอียดที่มากขึ้น ส่งผลให้ภารกิจการสังเกตการณ์ระบบของดาวพฤหัสบดีซึ่งได้แก่ เหล่าดาวบริวาร วงแหวน สนามแม่เหล็ก และสภาพแวดล้อมของ[[แถบกัมมันตรังสีแวนอัลเลน|แถบรังสี แวน แอลเลน]] (Van Allen Belts) เสร็จสิ้นภายใน 48 ชั่วโมงเท่านั้น ภารกิจการถ่ายภาพระบบดาวพฤหัสบดีเสร็จสิ้นลงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1979
 
การค้นพบภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ (active volcanoes) บนดวงจันทร์[[ไอโอ (ดาวบริวาร)|ไอโอ]]ถือว่าเป็นการค้นพบที่สร้างความฮือฮาที่สุด นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบภูเขาไฟมีพลังบนดาวดวงอื่นใน[[ระบบสุริยะ]]นอกเหนือจากบนโลก อีกทั้งภูเขาไฟที่ครุกรุ่นเหล่านี้ยังส่งอิทธิพลไปยังดาวพฤหัสบดีด้วย ดวงจันทร์ไอโอถือเป็นแหล่งของสสารหลักที่แผ่ไปทั่วชั้นแม็กนีโตสเฟียร์ (บริเวณโดยรอบของดาวฤกษ์ที่ได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจากสนามแม่เหล็ก) ของดาวพฤหัสบดี โดยมีการค้นพบร่องรอยของ[[ซัลเฟอร์]] [[ออกซิเจน]] และ[[โซเดียม]]ที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอปะปนอยู่ในขอบนอกของชั้นแม็กนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดี<ref name="nasa.jupiter2">{{cite web|url=https://voyager.jpl.nasa.gov/science/jupiter.html|title=Encounter with Jupiter|publisher=NASA|accessdate=August 18, 2013}}</ref>
บรรทัด 501:
{{Main|การสำรวจดาวเสาร์}}
 
ยานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์'' ทั้งสองลำประสบความสำเร็จในการโคจรโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravitational assist trajectory) ไปยังดาวเสาร์ อีกทั้งได้ทำการสำรวจ[[ดาวเสาร์]] รวมถึงวงแหวน และเหล่าดาวบริวารของดาวเสาร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์ 1'' เดินทางมาถึงดาวเสาร์ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1980 และเดินทางเข้าใกล้มากที่สุด โดยห่างจากขอบบนของกลุ่มเมฆ (clound-tops) บนดาวที่ระยะ {{convert|124000|km|mi|-3|sp=us}} ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 ซึ่งกล้องบนยานได้ตรวจพบโครงสร้างอันสลับซับซ้อนบนวงแหวนของดาวเสาร์และใช้เซ็นเซอร์ระยะไกลทำการศึกษาชั้นบรรยากาศของทั้งดาวเสาร์และดวงจันทร์[[ไททัน (ดาวบริวาร)|ไททัน]] (Titan) ซึ่งเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุด<ref name="nasa.saturn">{{cite web |url=https://voyager.jpl.nasa.gov/science/saturn.html |title=Encounter with saturn |publisher=NASA |accessdate=August 29, 2013 }}</ref>
 
จากการสำรวจพบว่าชั้นบรรยากาศส่วนบน (upper atmosphere) ของ[[ดาวเสาร์]]ประกอบไปด้วย[[ฮีเลียม]]อยู่ประมาณร้อยละ 7 (คิดเป็นร้อยละ 11 ของชั้นบรรยากาศบนดาวพฤหัสบดี) ขณะที่องค์ประกอบที่เหลือคือ[[ไฮโดรเจน]] เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าฮีเลียมปริมาณมหาศาลจะกระจุกตัวอยู่บริเวณชั้นในของดาวเสาร์เช่นเดียวกับที่พบบนดาวพฤหัสบดีและดวงอาทิตย์ ส่วนฮีเลียมปริมาณเบาบางที่พบในชั้นบรรยากาศส่วนบนอาจแทรกลงมาด้านล่างอย่างช้าๆ ผ่านไฮโดรเจนซึ่งมีมวลน้อยกว่า ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลว่าความร้อนส่วนเกินบนดาวเสาร์ที่แผ่ออกมานั้นได้รับมาจากดวงอาทิตย์นั่นเอง นอกจากยังพบว่ามีกระแสลมแรงพัดอยู่บนพื้นผิวดาวเสาร์ ความเร็วลมใกล้เส้นศูนย์สูตรสูงถึง 500&nbsp;เมตรต่อวินาที (1,100&nbsp;ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยกระแสลมส่วนใหญ่จะพัดไปทางทิศตะวันออก<ref name="nasa.planetary" />
 
มีการตรวจพบปรากฎการณ์คล้าย[[ออโรรา (ดาราศาสตร์)|ออโรรา]]ซึ่งเกิดจาก[[รังสีอัลตราไวโอเลต]]ที่ปลดปล่อยออกมาจาก[[ไฮโดรเจน]]บริเวณเขตละติจูดกลาง (mid-latitudes) ของชั้นบรรยากาศ และพบออโรราบริเวณละติจูดแถบขั้วโลก (มากกว่า 65 องศา) การเกิดออโรราบนชั้นบรรยากาศที่สูงเช่นนี้อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลเชิงซ้อนของ[[ไฮโดรคาร์บอน]]ซึ่งจะเคลื่นที่ไปรวมกันอยู่ที่แถบ[[เส้นศูนย์สูตร]] ส่วนสาเหตุของการเกิดออโรราบริเวณเขตละติจูดกลางที่พบได้เฉพาะบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงนั้นยังคงเป็นปริศนา แต่คาดการณ์ว่าอาจเกิดจากการระเบิดของอิเล็กตรอนและไอออนซึ่งเป็นสาเหตุเดียวกับการเกิดออโรราที่พบบนโลก ยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองลำได้ทำการวัดคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์พบว่าใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที 24 วินาที<ref name="nasa.saturn" />
 
ภารกิจของยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ยังรวมถึงการบินเฉียดดวงจันทร์[[ไททัน (ดาวบริวาร)|ไททัน]] ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ ซึ่งมีการค้นพบการมีอยู่ของชั้นบรรยากาศจากภาพถ่ายที่ได้จากยานไพโอเนียร์ 11 ในปี ค.ศ. 1979 ระบุว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นและซับซ้อน ซึ่งทำให้เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา การบินเฉียดดวงจันทร์ไททันเกิดขึ้นเมื่อยานพยายามเดินทางเข้าสู่ระบบของดาวเสาร์โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะที่อาจส่งผลต่อการสำรวจ ในที่สุดยานก็เข้าใกล้ที่ระยะประมาณ {{convert|4000|mi|km|order=flip|abbr=on}} จากด้านหลังดวงจันทร์ไททันหากมองจากโลก เครื่องมือบนยานทำการตรวจวัดปฎิกิริยาระหว่างชั้นบรรยากาศกับแสงอาทิตย์ มีการใช้คลื่นวิทยุของยานเพื่อทำการค้นหาองค์ประกอบ ความหนาแน่น และความดันของชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ยังทำการวัดมวลของดวงจันทร์ไททันโดยอาศัยการสังเกตแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อเส้นทางโคจรของยาน ชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมอย่างหนาแน่นกลายเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถมองทะลุถึงพื้นผิวได้ แต่ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บได้จากชั้นบรรยากาศทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีทะเลสาบโฮโดรคาร์บอนเหลวอยู่บนพื้นผิวดาว<ref name="Bell2015">{{cite book|author=Jim Bell|title=The Interstellar Age: Inside the Forty-Year Voyager Mission|url=https://books.google.com/books?id=KXPoAwAAQBAJ&pg=PT93|date=February 24, 2015|publisher=Penguin Publishing Group|isbn=978-0-698-18615-6|pages=93}}</ref>
 
เนื่องภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ไททันถูกจัดให้เป็นภารกิจสำคัญ ดังนั้นเส้นทางการโคจรของ ''วอยเอจเจอร์ 1'' จึงถูกออกแบบให้บินเฉียดดวงจันทร์ไททันให้มากที่สุด ส่งผลให้ยานเคลื่อนผ่านขั้วโลกใต้ของดาวเสาร์และหลุดออกจากระนาบสุริยวิถี ซึ่งทำให้ภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์นั้นสิ้นสุดลงไปด้วย<ref name="Swift1997">{{cite book|author=David W. Swift|title=Voyager Tales: Personal Views of the Grand Tour|url=https://books.google.com/books?id=E-NGFqfq1LsC&pg=PA69|date=January 1, 1997|publisher=AIAA|isbn=978-1-56347-252-7|page=69}}</ref> นอกจากนี้หากยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ล้มเหลวในการเข้าใกล้เพื่อทำการสำรวจดวงจันทร์ไททัน ทางนาซ่าก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางของยาน ''วอยเอจเจอร์ 2'' มาทำภารกิจนี้แทนได้<ref name="Bell20152">{{cite book|author=Jim Bell|title=The Interstellar Age: Inside the Forty-Year Voyager Mission|url=https://books.google.com/books?id=KXPoAwAAQBAJ&pg=PT93|date=February 24, 2015|publisher=Penguin Publishing Group|isbn=978-0-698-18615-6|pages=93}}</ref>{{rp|94}} โดยไม่โคจรผ่านดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน<ref name="faq">{{cite web|url=https://www.jpl.nasa.gov/voyager/frequently-asked-questions/|title=Voyager – Frequently Asked Questions|publisher=NASA|date=February 14, 1990|accessdate=August 4, 2017}}</ref> ซึ่งที่จริงแล้วเส้นทางโคจรเดิมของยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' จะไม่มีการโคจรผ่านดาวยูเรนัสหรือดาวเนปจูนอยู่แล้ว<ref name="Swift1997" />{{rp|155}} แต่ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางภายหลังได้โดยการไม่บินเฉียดดวงจันทร์ไททันและยังสามารถเดินทางไปยังดาวพลูโตได้ภายในปี ค.ศ. 1986 อีกด้วย<ref name="SD">{{cite web|url=http://www.spacedaily.com/reports/What_If_Voyager_Had_Explored_Pluto_999.html|title=What If Voyager Had Explored Pluto?|accessdate=September 2, 2015}}</ref>
 
== อนาคตของยานสำรวจฯ ==