ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
ปีการศึกษา 2546 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์แนวใหม่ (New Tract) โดยรับจากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้โอกาสผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบโอนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 1) และศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับนิสิตแพทย์ปกติทุกประการ ซึ่งจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเช่นเดียวกัน โดยจะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลแพร่ และ โรงพยาบาลพิจิตร<ref name="ประวัติคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"/>
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2547]] คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์ระบบคัดเลือกจากส่วนกลางของ[[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]] (สกอ.)<ref name="ประวัติคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"/> ซึ่งไม่ได้อยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (สำหรับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะรับเฉพาะนิสิตแพทย์ที่เข้าทำการศึกษาในปีการศึกษา 2547 - 2548 เท่านั้น)<ref name="คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551">คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551</ref> และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปลี่ยนวิธีการรับนิสิตแพทย์ระบบคัดเลือกจากส่วนกลาง โดยรับร่วมกับ[http://www.cotmes.org/ [กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย]] (กสพท.)]
 
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีวิสัยทัศน์ที่จะผลิตบัณฑิตแพทย์คุณภาพ บริการทางการแพทย์มาตรฐานสากล และพันธกิจในการบริหารการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม สร้างเสริมงานวิจัยทั้งระดับพื้นฐานและประยุกต์ ให้บริการทางการแพทย์ระดับมาตรฐานสากล ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เน้นการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและเข้าถึงประชาชน