ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิลิตยวนพ่าย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน 3 ครั้งของ 61.19.22.31 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย 58.8.227.93.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{ตารางวรรณคดี
|กวี = ไม่ทราบ
|ประเภท = เฉลิมพระเกียรติ
|คำประพันธ์ = [[ลิลิต]]
|ความยาว =
|สมัย = [[กรุงศรีอยุธยา]]
|ปี = ประมาณ พ.ศ. 2034 - 2072
|ชื่ออื่น =
}}
 
'''ลิลิตยวนพ่าย''' เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของ[[พระมหากษัตริย์]] จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัย[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] เพื่อเฉลิมพระเกียรติ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] คำว่า "ลิลิต" หมายถึง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว ส่วน "ยวน" หมายถึง ไทยวน ชาติพันธ์หลักในอาณาจักรล้านนา เพี้ยนมาจาก โยน หรือ โยนก ดังนั้น ลิลิตยวนพ่ายจึงมีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่[[กรุงศรีอยุธยา]]มีชัยเหนือ[[ล้านนา]]นั่นเอง<ref>พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542</ref>
<br />
 
ลิลิตยวนพ่ายแต่งเป็นลิลิตดั้น กล่าวคือ เป็นร่ายดั้น 2 ตอนและโคลงดั้นบาทกุญชร 365 บท<ref> [http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK24/chapter1/t24-1-l2.htm#sect1 ลิลิตยวนพ่าย]</ref> ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยโบราณ เขมร สันสกฤต และบาลี จึงอ่านเข้าใจได้ยาก ใช้ภาษาที่ประณีตงดงาม ศัพท์สูงส่งวิจิตร เต็มไปด้วยชั้นเชิงสูงด้านการใช้ภาษา และเป็นแบบอย่างในการแต่ง[[ลิลิตตะเลงพ่าย]]ของ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส]]
 
== เนื้อหา ==
เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายจะกล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยเริ่มจากการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและยกหัวข้อธรรมะเพื่อสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แล้วจึงเริ่มกล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนกระทั่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าเมืองพิษณุโลกเอาใจออกห่างกรุงศรีอยุธยาโดยหันไปติดต่อกับ[[พระเจ้าติโลกราช]] พระองค์จึงทรงยกทัพไปขึ้นไปตีและปราบปรามมาจนสงบและเสด็จประทับที่[[เมืองพิษณุโลก]]
 
ต่อมา จึงกล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าติโลกราชเสียพระจริตประหารหนานบุญเรือง ราชบุตรและหมื่นดังนคร เจ้าเมืองเชียงชื่น เป็นเหตุให้ภรรยาของหมื่นดังนครไม่พอใจและส่งสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์จึงยกทัพไปช่วยจนเกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชทรงยกทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมืองเชียงชื่น ตอนสุดท้ายป็นการยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง
 
== แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ==