ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
6 พฤศจิกายน 2310 กู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา 28 ธันวาคม 2311 ปราบดาภิเษก
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 182:
ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปราบ[[ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช]]เมื่อปี พ.ศ. 2312 ทรงนำตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้วจัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง[[รามเกียรติ์]] เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย<ref name="วรรณคดีไทย"/> ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึกสอนและออกโรงเล่นได้อิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้น เครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง ส่งผลให้ศิลปะการละครของไทยซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้นตัวขึ้นใหม่
 
โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "'''สมุดภาพไตรภูมิ'''" ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2319 ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของไทย เมื่อคลี่ออกจะมีความยาวถึง 34.72 เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง 2 ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน 4 คน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ ณ [[หอสมุดแห่งชาติ]] ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ<ref>[https://online.fliphtml5.com/zbzbg/afio/ สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรีเลม 1]</ref> และอีกฉบับเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนีเยอรมนี ซึ่งได้ซื้อไปจากประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436<ref>[https://www.deutsche-digitale-bibliothek.de/item/CZY2WFMZSOO37EEEDMG4X2SKZFZSSG4K Bilderhandschrift Traiphum]
</ref>