ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาลาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33:
สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
 
# [[ภาษาลาวเวียงจันทน์]] ([[เวียงจันทน์]], [[แขวงบอลิคำไซ|บอลิคำไซ]]; [[จังหวัดหนองคาย]], [[จังหวัดบึงกาฬ]], [[จังหวัดเลย]], [[จังหวัดพิษณุโลก]])
# ภาษาลาวเหนือ ([[หลวงพระบาง]] [[ไชยบุรี]] [[แขวงอุดมไซ|อุดมไซ]] [[หลวงน้ำทา]]; ไม่มีใช้ในประเทศไทย)
# ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ([[แขวงเชียงขวาง|เชียงขวาง]], [[แขวงหัวพัน|หัวพัน]]; ไม่มีใช้ในประเทศไทย)
# ภาษาลาวกลาง ([[แขวงคำม่วน|คำม่วน]] [[แขวงสุวรรณเขต|สุวรรณเขต]]; [[จังหวัดสกลนคร]], [[จังหวัดนครพนม]])
# ภาษาลาวใต้ ([[จำปาศักดิ์]] [[สาละวัน]] [[เซกอง]] [[อัตตะปือ]]; [[จังหวัดอุบลราชธานี]])
# [[ภาษาลาวตะวันตกอีสาน|ภาษาอีสานขอนแก่น]] (ไม่มีใช้ในประเทศลาว; [[จังหวัดร้อยเอ็ด|ร้อย]][[จังหวัดขอนแก่น|แก่น]][[จังหวัดมหาสารคาม|สาร]][[จังหวัดกาฬสินธุ์|สิน]], [[จังหวัดอุดรธานี|อุดรธานี]])
 
ทางการประเทศลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว สถานีวิทยุแห่งประเทศลาว จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูดอ่านภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจได้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม
 
ส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงแตกออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสุวรรณเขต สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ถิ่นเมืองจำพอน ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ถิ่นจำปาศักดิ์ในจังหวัดพระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย
 
ในประเทศไทยจะพบภาษาลาวถิ่นอีสาน หรือถิ่นร้อยแก่นสารสินในฐานะภาษากลาง โดยสื่อส่วนใหญ่จะมาจากภาษาลาวถิ่นนี้
 
== ระบบเสียง ==