ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จัวนาแห่งโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
 
บรรทัด 13:
ชีวิตของพระราชินีกับพระธิดาเริ่มลำบากเมื่อขุนนางฝ่ายคัดค้านไม่พอใจที่พระเจ้าเอนริเกไว้เนื้อเชื่อใจฆวน ปาเชโก มาร์ควิสแห่งบิเยนาผู้โลภมากและตลบแตลง พระเจ้าเอนริเกเล็งเห็นว่าพระองค์ไม่สามารถกำราบชนชั้นสูงกัสติยาที่เป็นกบฏได้ ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับการคุกคามจากอารากอนและกรานาดา เพื่อลดทอนอำนาจของพระองค์ กลุ่มขุนนางฝ่ายคัดค้านได้เคลื่อนไหวเพื่อปลดพระเจ้าเอนริเกออกจากตำแหน่งและยกอัลฟอนโซ พระอนุชาต่างมารดาของพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ พระเจ้าเอนริเกกับจัวนาจึงจำต้องแยกจากกัน เพื่อเอาใจกลุ่มกบฏพระเจ้าเอนริเกยอมให้อาลอนโซ เด ฟอนเซกา อัครมุขนายกแห่งเซบิยาจับพระนางเป็นตัวประกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าพระเจ้าเอนริเกจะยอมรับอัลฟอนโซเป็นทายาทของพระองค์ จัวนารอเวลาอยู่ในปราสาทของฟอนเซกาที่[[อาลาเอโฆส]]ด้วยความผิดหวังและเบื่อหน่าย ในปี ค.ศ. 1468 พระองค์ตั้งครรภ์บุตรชายนอกสมรส (ฝาแฝด) อันเป็นผลมากจากการคบชู้กับเปโดร เด กัสติยา อี ฟอนเซกา หลานชาย (ลูกของพี่น้อง) ของอัครมุขนายก เมื่อพระองค์พยายามหนี สาธารณชนจึงได้รู้ถึงพฤติกรรมอันฉาวโฉ่ของพระองค์
 
ขณะเดียวกันอัลฟอนโซได้สิ้นพระชนม์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1468 ฝ่ายตรงข้ามจึงต่อสู้เพื่อให้สิทธิ์ของพระองค์ตกเป็นของ[[สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา|อิซาเบล]] พระขนิษฐาที่ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา นอกจากการใช้กำลังทางทหารเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ฝ่ายคัดค้านยังวางกลยุทธ์ลดทอนความน่าเชื่อถือในตัวฆัวนา พระธิดาของพระเจ้าเอนริเกและจัวนา เดึนกันยายนเดือนกันยายน ค.ศ. 1468 กลุ่มขุนนางกบฏบีบบังคับให้พระเจ้าเอนริเกยอมรับข้อตกลงโตโรสเดกิซันโดที่ให้พระเจ้าเอนริเกประกาศสละสิทธิ์ในการสืบทอดบัลลังก์ของพระธิดา และยินยอมให้อิซาเบลเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์แทน กลุ่มขุนนางแย้งว่าที่ควรเป็นเช่นนี้เพราะพระเจ้าเอนริเกกับจัวนาไม่ได้รับการผ่อนผันจากพระสันตะปาปาที่ทั้งคู่จำเป็นต้องได้รับจึงจะสมรสกันได้ เนื่องจากเป็นลูกพี่ลูกน้องชั้นที่หนึ่งกัน การสมรสของทั้งคู่จึงไม่ชอบในทางกฎหมาย ทำให้ฆัวนาเป็นบุตรสาวนอกสมรสและไม่มีสิทธิ์ในบัลลังก์ บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าที่พระเจ้าเอนริเกทำเช่นนี้เพราะต้องการแก้แค้นการคบชู้ของจัวนา
 
[[ไฟล์:Joana, a Excelente Senhora - The Portuguese Genealogy (Genealogia dos Reis de Portugal).png|thumb|ฆัวนา พระธิดา ในพงศาวลีกษัตริย์แห่งโปรตุเกส (อังตอนียู ดึ อูลังดา ค.ศ. 1530–1534)]]
ทว่าในปี ค.ศ. 470 พระเจ้าเอนริเกเพิกถอนข้อตกลงดังกล่าวและประกาศให้ฆัวนา พระธิดา เป็นทายาทของพระองค์อีกครั้ง ทำให้มีการปล่อยข่าวลือว่าพระเจ้าเอนริเกไม่ใช่บิดาตัวจริงของเด็กหญิง พระราชินีจัวนาเคยสนิทสนมกับข้าราชสำนักชื่อเบลตรัน เด ลา กูเอบา ดยุคที่ 1 แห่งอัลบูร์เกร์เกซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นบิดาของฆัวนา พฤติกรรมอันฉาวโฉ่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานของจัวนาทำให้ข้อกล่าวหายิ่งมีน้ำหนัก แม้ว่าทั้งพระเจ้าเอนริเกและจัวนาจะสาบานต่อหน้าสาธารณชนว่าทั้งคู่เป็นบิดามารดาของเด็กหญิง แต่เด็กหญิงได้ถูกตั้งฉายาว่า ''ลา เบลตราเนฆา''
 
ต่อมาจัวนาได้บวชเข้าคอนแวนต์ซานฟรันซิสโกใน[[เซโกเบีย]] เมื่อพระเจ้าเอนริเกสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1474 พระนางพยายามแย่งชิงสิทธิ์ในการสืบทอดตำแหน่งมาให้ฆัวนา ทว่าพระนางเองกลับสิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่เดึนเดือนต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1475 ร่างของจัวนาถูกฝังในคอนแวนต์ที่พระนางสิ้นพระชนม์ แต่หลุมฝังศพของพระนางไม่เหลืออยู่แล้ว
 
บุตรชายนอกสมรสของพระนางได้แต่งงานทั้งคู่และมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีทายาท ขณะที่ฆัวนาลาเบลตราเนฆา พระธิดาถูกขับไล่ออกจากประเทศไปอยู่ในโปรตุเกส บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าเรื่องราวของพระองค์ถูกใส่สีตีไข่โดยนักโฆษณาชวนเชื่อและนักประวัติศาสตร์ของอิซาเบลที่ต้องการทำลายชื่อเสียงของพระเจ้าเอนริเกและจัวนาแห่งโปรตุเกสเพื่อช่วยสร้างความชอบธรรมให้แก่พระมหากษัตริย์คนใหม่