ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรน่านเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
นักวิชาการทาง[[ประวัติศาสตร์]] [[ภาษาศาสตร์]] และ[[มานุษยวิทยา]]ในอดีต เคยมี[[ทฤษฎี|แนวความคิด]]ว่า คนในอาณาจักรน่านเจ้านั้นน่าจะเป็น[[คนไทย]]หรือบรรพบุรุษของคนไทยในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากอ้างอิงมาจากหลักฐานทาง[[โบราณคดี]]ของจีน อาทิ [[วิลเลียม เจ.เกดนีย์]] นักวิชาการ[[ชาวอเมริกัน]], ดร.[[บรรจบ พันธุเมธา]] และ ศ.ดร.[[ประเสริฐ ณ นคร]] นักวิชาการชาวไทย ได้ข้อสรุปว่าเป็นถิ่นที่[[คนไท]]อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้มีการผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์อื่น และอพยพลงมาสู่[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]อย่างในปัจจุบัน ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ม.ร.ว.[[คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]เมื่อคราวไปเยือน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ในปี [[พ.ศ. 2518]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=433487 [[สุทธิชัย หยุ่น]], [[สารคดี]]ชุด แม่น้ำโขง สายน้ำพยศ ตอนที่ 4 โดย [[เนชั่น แชนแนล]]: [[วันจันทร์]]ที่ [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2552]] ทาง[[ช่อง 9]]]</ref>
 
แต่ก็มีข้อแย้งเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ ศ.[[เฟดเดอริก โมต]] หรือ [[ชาร์ลส์ชาลส์ แบกคัส]] รวมทั้งนักวิชาการชาวไทย ดร.[[วินัย พงษ์ศรีเพียร]] มีความเห็นว่าไม่น่าจะใช่เป็นคนไทย โดยอ้างว่าภาษาที่ใช้ในอาณาจักรน่านเจ้าที่ปรากฏในหนังสือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นใน[[พุทธศตวรรษที่ 15]] มีลักษณะคล้ายภาษาใน[[ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า|ตระกูลทิเบต-พม่า]] มากกว่า และมีส่วนที่คล้าย[[ภาษาไทย]]ซึ่งจัดอยู่ใน[[ตระกูลภาษาขร้า-ไทกะได]]น้อยมาก และวัฒนธรรมการเอาพยางค์สุดท้ายของพ่อมาตั้งเป็นชื่อพยางค์แรกของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ เป็น โก๊ะล่อฝง ก็เป็นวัฒนธรรมร่วมกับวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ด้วยเช่นกัน
 
แต่ในประเด็นนี้ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ยังเห็นแย้งว่า ข้อพิสูจน์นี้ยังไม่หนักแน่นพอ เพราะระยะเวลาที่ผ่านไปหลายร้อยปี ธรรมเนียมบางอย่างอาจแปรเปลี่ยนไป โดย ศ.ดร.ประเสริฐ ยังไม่ยอมรับทั้งหมดว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้ามิใช่คนไทย<ref>[[ณรงค์ พ่วงพิศ]], [[วุฒิชัย มูลศิลป์]] และคณะ, ประวัติศาสตร์หนังสือแบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน้า 61-63, บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด ([[กรุงเทพมหานคร]], [[พ.ศ. 2546]]) ISBN 974-408-626-2</ref>