ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{Infobox_Software
| name = Vim
| logo = [[ไฟล์:Vimlogo.png]]
| screenshot = [[ไฟล์:Vim.png|200px]]
| developer = แบรม มูลีนาร์ และคนอื่น ๆ
| latest_release_version = 7.4
| latest_release_date = 10 สิงหาคม [[พ.ศ. 2556]]
| operating_system = [[ลีนุกซ์]], [[แมคโอเอสเท็น]], [[ยูนิกซ์]], [[ไมโครซอฟท์วินโดวส์]]
| genre = [[เอดิเตอร์]]
| license = ให้ผู้ใช้บริจาคเพื่อสาธารณะกุศล
| website = http://www.vim.org
}}
 
'''Vim''' หรือ '''วิม''' ย่อมาจาก '''V'''i '''IM'''proved เป็น[[ซอฟต์แวร์เสรี]] สำหรับ[[เอดิเตอร์]]สำหรับแก้ไขไฟล์ มีรากฐานการพัฒนามาจากโปรแกรม [[vi]] ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว Vim ถูกพัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2534]] นับตั้งแต่นั้นมามีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไข[[ซอร์สโค้ด]][[โปรแกรม]] Vim ถูกออกแบบสำหรับทั้ง [[command line interface]] และ [[graphical user interface]]
 
โดยดังเดิม Vim ทำงานบนระบบปฏิบัติการ [[อะมีกา]] เท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนา สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว ในปี พ.ศ. 2549 Vim เคยถูกโหวตให้เป็นหมวดหมู่เอดิเตอร์ยอดนิยมในนิตรยสาร [[Linux Journal]]
 
== เรียนรู้การใช้ Vim ==
Vim ถือเป็นโปรแกรมที่เรียนรู้ยากตัวหนึ่ง แต่ถ้าผู้ใช้จับหลักการพื้นฐานได้ ก็สามารถใช้งานได้คล่องตัวขึ้นมาก เพื่อช่วยให้เรียนรู้เร็วขึ้น จึงมีโปรแกรมสอนวิธีใช้ Vim โดยการพิมพ์คำสั่ง <tt>vimtutor</tt> บนบรรทัดคำสั่งใน[[ยูนิกซ์]] หรือคลิกบนไอคอน Vim tutor บน[[วินโดวส์]] นอกจากนี้ภายใน Vim เองก็มีคู่มือการใช้งานโดยละเอียดซึ่งปรากฏบนจอโดยการพิมพ์คำสั่ง <tt>:help user-manual</tt> ภายใน Vim
 
ผู้ใช้ยังสามารถอ่าน ระบบขอความช่วยเหลือ โดยการพิมพ์คำสั่ง <tt>:help</tt>
 
== โหมดการแก้ไข ==
วิธีการติดต่อกับผู้ใช้ใน Vim มีหลายโหมดการทำงาน การกดปุ่มบนแป้นพิมพ์จะให้ผลลัพธ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานในปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนไปมาระหว่างโหมดโดยให้แป้นพิมพ์ เหมาะกับผู้ที่สามารถ[[พิมพ์สัมผัส]]ได้ ไม่เหมือนกับเอดิเตอร์หลายตัวที่ต้องใช้[[เมาส์]]หรือเลือกคำสั่งในเมนูในการใช้งาน
 
Vim มีโหมดพื้นฐานอยู่ 6 โหมด และแยกย่อยจากโหมดพื้นฐานได้อีก 5 โหมด
 
=== โหมด normal ===
โหมด normal เป็นโหมดที่สามารถพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ เช่นเพื่อเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ ลบข้อความ เป็นต้น เวลาเริ่มต้นโปรแกรม Vim จะเข้ามาอยู่ในโหมดนี้
 
Vim เป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้มีประสิทธิผลก็มาจากคำสั่งที่หลากหลายในโหมดนี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการลบทั้งบรรทัดที่ตำแหน่งเคอร์เซอร์ ก็ใช้คำสั่ง <tt>dd</tt> ถ้าต้องการลบทั้งบรรทัดปัจจุบันและบรรทัดถัดไป ก็ใช้คำสั่ง <tt>dj</tt> โดยที่ <tt>d</tt> หมายถึงลบ ส่วน <tt>j</tt> เป็นปุ่มที่ใช้ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ลง แทนที่จะใช้คำสั่ง <tt>dj</tt> ยังสามารถใช้คำสั่ง <tt>2dd</tt> (หมายถึงทำคำสั่ง <tt>dd</tt> สองครั้ง) ก็ได้ เมื่อผู้ใช้เรียนรู้คำสั่งการเคลื่อนที่เคอร์เซอร์ต่าง ๆ และวิธีการนำคำสั่งมารวมกัน ก็สามารถใช้งานได้รวดเร็วกว่าเอดิเตอร์แบบที่ไม่มีโหมด
 
เมื่ออยู่ในโหมดนี้ สามารถเข้าไปในโหมด insert สำหรับแทรกข้อความได้หลายทาง เช่น ใช้ปุ่ม <tt>a</tt> (หมายถึง append หรือพิมพ์ต่อท้าย) หรือ <tt>i</tt> (หมายถึง insert หรือพิมพ์แทรก)
 
=== โหมดย่อย operator-pending ===
โหมดนี้เป็นโหมดย่อยของโหมด normal เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งและโปรแกรม Vim รอผู้ใช้เคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์เพื่อให้คำสั่งสมบูรณ์ Vim ยังสามารถรับคำสั่งแทนการขยับเคอร์เซอร์ (เรียกว่า text object) เช่น <tt>aw</tt> หมายถึง คำ (word) <tt>as</tt> หมายถึง ประโยค (sentense) <tt>ap</tt> หมายถึงย่อหน้า (paragraph) ตัวอย่างการใช้เช่น คำสั่ง <tt>d2as</tt> จะลบประโยคปัจจุบันและประโยคถัดไป
 
=== โหมดย่อย insert normal ===
เป็นอีกโหมดย่อยของโหมด normal Vim จะเข้าโหมดนี้เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม control-o ขณะอยู่ในโหมด insert Vim จะเข้ามาอยู่ในโหมด normal แต่จะรับเพียงคำสั่งเดียวแล้วกลับไปยังโหมด insert โดยอัตโนมัติ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วิม"