ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดศรีธรรมาราม (จังหวัดยโสธร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 54:
ท่านพระยาอุดรธานีฯ จะมาทำบุญที่วัดศรีธรรมารามนี้ทุกปี ท่านได้สร้างกุฏิไว้หลายหลัง พร้อมทั้งเมรุเผาศพ หลังจากที่ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. 2516 ทุกวันนี้ลูกหลานของท่านยังคงถวายปัจจัย เป็นค่าภัตตาหารให้วัดศรีธรรมารามทุกเดือน ท่านพระยาอุดรธานีฯ อัญเชิญหลวงพ่อพระสุกมาที่วัดศรีธรรมารามในราวปี พ.ศ. 2467–2473 เมื่อมีการบูรณะพระอุโบสถ และเจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูวิจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูล โสภโณ) ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์และคนสนิทของบิดาท่าน
 
คราวที่[[พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวง สุขินทริโย)]] พระเกจิสายวิปัสนากรรมฐานศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขณะยังมีชีวิตอยู่ท่านได้กล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีความสำคัญมากที่สุด คงจะเป็นเพราะพระยาอุดรธานีฯ ได้อาราธนาให้ท่านรักษาไว้ (หลวงตาพวง สุขินทริโย มาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม ปี พ.ศ. 2511) ท่านกล่าวว่าเมื่อสิ้นท่านไปแล้วจึงให้นำมาเปิดเผย พระราชสุทธาจารย์ (รักษาการเจ้าอาวาดวัดศรีธรรมารามองค์ปัจจุบัน พ.ศ. 2559) เคยเล่าว่า หลวงตาพวงได้กล่าวย้ำๆ กับท่านว่า นี่แหละหลวงพ่อพระสุก นี่แหละหลวงพ่อพระสุก
เมื่อครั้งที่หลวงตาพวงยังมีชีวิตอยู่ หลวงตามีความปรารถนาที่จะสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานแห่งองค์พระสุก แต่เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างสูงเป็นสิบๆ ล้านบาท ท่านก็พิจารณาว่าคงเป็นไปได้ยาก เพราะการรับกิจนิมนต์แต่ละครั้งของหลวงตา ชาวบ้านได้ทำบุญด้วยความศรัทธาตามกำลังของชาวบ้าน จึงเกรงว่าจะก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากใจในภายหลัง หลวงตาจึงเก็บรักษา พระสุก ไว้เป็นอย่างดี คอนขยับเปลี่ยนที่ประดิษฐาน ใช้ชื่อพระคัมภีรพุทธเจ้า และพระพุทธมงคลรุ่งโรจน์ แทนชื่อพระสุก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เกรงว่าจะโดนขโมย
ได้มีการทำเรื่องส่งให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอุบลราชธานี ทำการขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณวัตถุของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2548