ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีสซี คาเฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
 
== ชีวิตวัยเด็ก ==
อภิชัยเกิดที่ย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในครอบครัวเย็บหมวกกีฬาที่มีพ่อและแม่เป็นชาวจีนแท้ๆ เขาใช้ชีวิตวัยเด็กในย่านวรจักร เรียนชั้นประถมศึกษากับโรงเรียนประสาทวุฒิ ซึ่งเป็นโรงเรียนภาษาไทยและจีน เรียนต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียนศิริวัฒนาและโรงเรียนเพชรรัตน์ เขาจบศึกการศึกษาระดับปวช. ที่โรงเรียนไทวิจิตรศิลป์ไทยวิจิตรศิลป อภิชัยเดินทางไปเรียนด้านการถ่ายภาพที่ประเทศอังกฤษตอนอายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลาร่วม 4 ปี
 
ช่วงเวลาที่เรียนในอังกฤษ อภิชัยได้มีโอกาสเริ่มเล่นดนตรีอย่างจริงจัง ได้รวมวงกับเพื่อนในชื่อ The Light ตระเวนเล่นตามผับขนาดเล็ก วงดนตรีของเขาทำงานได้ไม่นานนักและแยกย้ายไป เขากลับเมืองไทยและทำงานเป็นช่างภาพนิตยสาร เริ่มจากการถ่ายภาพแฟชั่นให้กับนิตยสาร Hyper ก่อนจะหลงใหลในการถ่ายภาพแนวสารคดี งานถ่ายภาพนิตยสารยังทำให้เขารู้จักคนมากขึ้น วันหนึ่งเขามีโอกาสถ่ายภาพวงดนตรีชื่อ [[Crub (วงดนตรี)|Crub]] และได้ทำความรู้จัก รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ หนึ่งในสมาชิกวงซึ่งกลายมาเป็นเจ้าของค่ายเพลง [[สมอลล์รูม|Smallroom]] ในปัจจุบัน
บรรทัด 50:
 
=== The Journey without Maps (พ.ศ. 2555) ===
[[ไฟล์:GreasyCafe, Melody of life2013.jpg|thumbnail|right|งาน Melody of Life ปี 2013|link=Special:FilePath/GreasyCafe,_Melody_of_life2013.jpg]][[ไฟล์:GreasyCafe, ชมรมวิจารณ์บันเทิง.jpeg|thumbnail|right|รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]หลังจบอัลบั้ม ทิศทาง อภิชัยประสบปัญหาทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว แม้ผลตอบรับและเสียงวิจารณ์จากสองอัลบั้มแรกจะดีแต่รายได้ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตในประจำวันได้ ปัจจัยรอบด้านทำให้เขารู้สึกกดดันจนไม่มีสมาธิในเขียนเพลงใหม่ อภิชัยตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการเดินทางไปใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ โดยที่ไม่กำหนดเวลาว่าจะอยู่นานแค่ไหน เขานำกีตาร์โปร่ง เครื่องบันทึกเสียง และแลปท็อปจากเมืองไทยมาด้วยเพราะหวังว่าจะได้นำมาใช้ทำเพลงระหว่างใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ
 
การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ทำให้อภิชัยได้แรงบันดาลใจและเริ่มต้นทำเพลงแม้จะมีเครื่องดนตรีติดตัวแค่ชิ้นเดียว เขานำอุปกรณ์ที่อยู่รอบตัวมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสียง เช่น ใช้เสียงผิวปาก ใช้เสียงดนตรีจากแอปพลิเคชันทำเพลงใน [[ไอแพด|iPad]] ใช้อูคูเลเล่จากเพื่อนร่วมห้องและแอคคอร์เดียนเก่าซึ่งมีในห้องพักมาใช้ทำเพลง เขาตั้งชื่ออัลบั้มนี้ว่า  The Journey without Maps อภิชัยเคยเล่าว่า “เราไม่เคยเชื่อเลยว่า ในการเริ่มต้นคบใครบางคน เค้าเหล่านั้นจะเดินทางมาพร้อมกับแผนที่ในมือ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เราจะขึ้นทิศเหนือ ลงใต้ ไปทางซ้าย ขวา หรือเราจะไปกันได้ไกลแค่ไหน และปลายทางจะจบลงที่ใด้”