ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
หลังจากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อใน[[ระดับอุดมศึกษา]] ณ [[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] โดยสามารถทำคะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นอันดับ 4 ของประเทศ<ref name="Biography">[http://kanchanapisek.or.th/biography/sirindhorn/index.th.html Biography of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn] จาก เว็บไชต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก {{en icon}}</ref> ซึ่งถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศ<ref name="ประวัติศาสตร์">[http://kanchanapisek.or.th/kp8/sirindhorn/pratep04.html สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กับ วิชาประวัติศาสตร์] จาก เว็บไชต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก</ref> จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2520 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขา[[ประวัติศาสตร์]] เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98<ref name="สถาปนา"/>
 
พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านจารึกภาษาตะวันออก ([[ภาษาสันสกฤต]]และ[[ภาษาเขมร]]) ณ [[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร]] และสาขา[[ภาษาบาลี]]และภาษาสันสกฤต จาก ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างนั้น มีพระราชกิจมากจนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน โดยทรงทำวิทยานิพนธ์ห้วข้อเรื่อง “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และเข้ารับ[[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร|พระราชทานปริญญาบัตร]]เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้น พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง “ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524<ref>[http://www.rspg.org/king-1/rsgeo3.htm พระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี] จาก เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref> หลังจากนั้น พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่[[สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย]] หรือสถาบันเอไอที ในหลักสูตรเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา จนได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบัน โดยพระองค์ได้ทรงประยุกต์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่ของจังหวัดนราธิวาส<ref>[https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/cadweb_client/50years/history8.html พระราชประวัติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี] จาก เว็บไซต์กรมตรวจบัญชีสหกรณ์</ref><ref>[http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/72496 เอไอที ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแห่งหอเกียรติยศแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยทรงนำความรู้ในหลักสูตรเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกลไปทรงประยุกต์ใช้ในการพัฒนา] จาก เว็บไซต์คมชัดลึก</ref>
 
พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับ[[ปริญญาเอก]] ณ [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] โดยพระองค์ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างยอดเยี่ยมด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด และทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ รุ่นที่ 4 พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักว่าสภาพการเรียนการสอน[[ภาษาไทย]]นั้นมีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียนภาษาไทย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ พระองค์จึงทรงนำเสนอวิธีการสอนภาษาไทยในลักษณะนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอนภาษาไทยได้ง่ายขึ้น พระองค์ทรงสอบผ่านวิทยานิพนธ์อย่างยอดเยี่ยม '''สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับ[[ปริญญาเอก]]''' เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2529<ref>[http://www.swu.ac.th/hrhday/study.html สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}} จาก เว็บไซต์ [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]]</ref>
บรรทัด 67:
เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาไทยนั้น พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งด้านหลักภาษา วรรณคดี และศิลปะไทย เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนก[[วิทยาศาสตร์]] จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียน[[อักษรขอม]] เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร<ref name="ภาษาเขมร">[http://www.sirindhorn.net/Cambodian.html พระราชประวัติ ทางด้านภาษาเขมร] จาก เว็บไซต์ กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref> ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจำการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้ และเข้าพระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้ นอกจากนี้ ยังทรงเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสแทนการเรียนเปียโน เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่มีอยู่ในตู้หนังสือมากกว่าการซ้อมเปียโน<ref name="ภาษาฝรั่งเศส">[http://www.sirindhorn.net/French.html พระราชประวัติ ทางด้านภาษาฝรั่งเศส] จาก เว็บไซต์ กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref>
 
เมื่อทรงเข้าศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น พระองค์ทรงเลือกเรียนสาขาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอก และวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตเป็นวิชาโท ทำให้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยในระดับชั้นสูงและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นทั้งด้านภาษาและวรรณคดี ส่วนภาษาบาลีและสันสกฤตนั้น ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบดั้งเดิมของไทย คือ แบบที่เรียนกันในพระอารามต่าง ๆ และแบบภาษาศาสตร์ซึ่งเป็นวิธีการตะวันตก ตั้งแต่ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง และเรียนตามวิธีการอินเดียโบราณเป็นพิเศษในระดับปริญญาโท ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้ส่ง[[สัตยพรต ศาสตรี|ศาสตราจารย์ ดร. สัตยพรต ศาสตรี]] มาถวายพระอักษรภาษาสันสกฤต โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทของพระองค์ เรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท นั้น ยังได้รับการยกย่องจาก[[มหามกุฏราชวิทยาลัย]]ว่า เป็นวิทยานิพนธ์ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถ ในภาษาบาลีพุทธวจนะเป็นพิเศษ<ref name="ภาษาบาลี"> [http://www.sirindhorn.net/PaliandSanskrit.html พระราชประวัติ ทางด้านภาษาบาลีและสันสกฤต] จาก เว็บไซต์ กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref>
 
พระปรีชาสามารถทางด้านภาษาของพระองค์นั้นเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับการทูลเกล้าถวายปริญญา[[ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์]]ทางด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] [[มหาวิทยาลัยมาลายา]] [[ประเทศมาเลเซีย]] [[มหาวิทยาลัยบักกิงแฮม]] [[สหราชอาณาจักร]] เป็นต้น<ref>[http://www.sirindhorn.net/Honorary-Degrees.html ปริญญากิตติมศักดิ์ที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายจากสถาบันการศึกษา] จาก เว็บไซต์ กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref>
บรรทัด 372:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย]]
[[หมวดหมู่:นักเขียนชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:กวีชาวไทย]]