ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองพระนคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
เอาออกก่อน เขียนเสร็จแล้วค่อยมาแปะใหม่
บรรทัด 60:
 
ใน ค.ศ. 2007 คณะนักวิจัยระหว่างประเทศใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและวิทยาการสมัยใหม่แขนงอื่น ๆ จนได้ข้อสรุปว่า เมืองพระนครเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อน[[ยุคอุตสาหกรรม]] มีระบบ[[โครงสร้างพื้นฐาน]]อันสลับซับซ้อนซึ่งเชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ ของเมืองเข้ากับศาสนสถานทั้งหลาย รวมแล้วเป็นพื้นที่อย่างน้อย 1,000 ตารางกิโลเมตร<ref name="Evans PNAS">Evans et al., [http://www.pnas.org/content/104/36/14277 A comprehensive archaeological map of the world's largest pre-industrial settlement complex at Angkor, Cambodia], Proceedings of the National Academy of Sciences of the USA, August 23, 2007.</ref> นอกจากนี้ เมืองพระนครยังนับเป็นนครไฮดรอลิก (hydraulic city) เพราะมีเครือข่ายบริหารจัดการน้ำที่ซับซ้อนสำหรับเก็บและกระจายน้ำอย่างเป็นระบบในทุกพื้นที่<ref>Evans, D., Pottier, C., Fletcher, R., Hensley, S., Tapley, I., Milne, A., & Barbetti, M. (2007). A comprehensive archaeological map of the world's largest pre-industrial settlement complex at Angkor, Cambodia. Proceedings of the National Academy of Sciences, 104(36), 14277-14282.</ref> ระบบน้ำนี้ยังเชื่อว่า ใช้สำหรับชลประทาน ใช้เตรียมรับมือฤดูแล้งที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือการคาดการณ์ และใช้สนับสนุนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ<ref name="Evans PNAS"/> แม้จำนวนประชากรที่แน่ชัดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ระบบทางเกษตรกรรมที่ค้นพบใหม่ในพื้นที่นี้นำไปสู่สมมุติฐานว่า อาจมีมนุษย์อาศัยอยู่ถึงหนึ่งล้านคน คิดเป็นอย่างน้อย 0.1% ของประชากรทั่วโลกในช่วง ค.ศ. 1010–1220 ทำให้เมืองพระนครถือเป็น[[อภินคร]] (megacity) อีกด้วย<ref>[https://www.independent.co.uk/news/world/asia/metropolis-angkor-the-worlds-first-megacity-461623.html Metropolis: Angkor, the world's first mega-city], The Independent, August 15, 2007</ref>
 
==ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์==
 
===ศูนย์กลางของจักรวรรดิเขมร===
 
ราว ค.ศ. 800 [[พระเจ้าชัยวรรมันที่ 2]] พระมหากษัตริย์เขมร ทรงประกาศไม่ขึ้นกับ[[เกาะชวา|ชวา]] และทรงสร้างเมือง[[หริหราลัย]]ขึ้นทรงตอนเหนือของ[[โตนเลสาป]] ต่อมา ทรงใช้หลายกลวิธีเพื่อรวมดินแดน ทั้งการรบ, การสร้างพันธมิตร, และการสร้างเครือญาติผ่านการสมรส กระทั่งทรงมีอำนาจตลอดท้องที่ซึ่งทางเหนือติดกับ[[ประเทศจีน|จีน]], ทางตะวันออกติดกับ[[จามปา]] (เวียดนามตอนกลางในปัจจุบัน), ทางใต้ติดกับทะเล, และทางตะวันตกติดกับสถานที่ซึ่งจารึกพรรณนาว่า เป็น "ดินแดนแห่งกระวานและมะม่วง" (land of cardamoms and mangoes) ครั้น ค.ศ. 802 ทรงรับการอภิเษกขึ้นเป็น[[พระเจ้าจักรพรรดิ]]แห่ง[[จักรวรรดิเขมร]] ณ [[พนมกุเลน]] (ภูเขาลิ้นจี่) เพื่อมีสถานะอย่างที่ฮินดูเรียกว่า "[[เทวราช]]"<ref>Higham, ''The Civilization of Angkor'', pp.53 ff.; Chandler, ''A History of Cambodia'', p.34 ff.</ref>
 
ใน ค.ศ. 889 [[พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1]] ทรงขึ้นครองราชย์<ref>Higham, ''The Civilization of Angkor'', pp.63 ff.</ref> จารึกพรรณานาว่า ทรงเป็น "นรสิงห์ ฉีกศัตรูด้วยกรงเล็บอันโอฬาร พระราชบริหารดำรงอยู่ในพระทนต์ พระเวทดำรงอยู่ในพระเนตร" (a lion-man; he tore the enemy with the claws of his grandeur; his teeth were his policies; his eyes were the Veda)<ref>Chandler, ''A History of Cambodia'', p.40.</ref> พระองค์ทรงสร้างศรียโศธรปุระขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ อยู่ใกล้กับหริหราลัยเมืองหลวงเดิม<ref name=Higham/> และทรงสร้างฝายขนาดใหญ่ตามธรรมเนียม เรียกว่า "[[บาราย]]" (បារាយ) ซึ่งนักวิชาการบางคนเชื่อว่า ไว้ใช้ชลประทานในไร่นา และบางคนมองว่า เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาสื่อถึงมหาสมุทรทั้งหลายที่รายล้อม[[เขาพระสุเมรุ]]ตามตำนานฮินดู โดยสิ่งที่สื่อถึงเขาพระสุเมรุก็คือศาสนสถานที่ประดิษฐาน[[ศิวลึงค์]] อันได้แก่ [[ปราสาทพนมบาแคง]]ที่พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1 ทรงสร้างขึ้น และล้อมรอบด้วยคูซึ่งทดน้ำมาจากบารายนั้น<ref>Coedès, ''Pour mieux comprendre Angkor'', p.10.</ref> นอกจากนี้ พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1 ยังทรงสร้างศาสนสถานฮินดูและอาศรมสำหรับฤๅษีขึ้นอีกหลายแห่ง<ref>Higham, ''The Civilization of Angkor'', p.60; Chandler, ''A History of Cambodia'', p.38 f.</ref>
 
==อ้างอิง==