ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองพระนคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
ช่วงเวลาใน[[ประวัติศาสตร์กัมพูชา]]ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ ณ เมืองพระนครนี้ เรียกว่า '''สมัยพระนคร''' (Angkorian period) เริ่มใน ค.ศ. 802 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) เมื่อ[[พระเจ้าชัยวรรมันที่ 2]] (ជ័យវរ្ម័នទី២ ''ชัยวรฺมันที ๒'') พระมหากษัตริย์เขมร ทรงรับการอภิเษกขึ้นเป็น[[พระเจ้าจักรพรรดิ]] ณ [[พนมกุเลน]] (ភ្នំគូលេន ''ภฺนํคูเลน''; "ภูเขาลิ้นจี่") ดำเนินมาจน ค.ศ. 1431 (คริสต์ศตวรรษที่ 15) เมื่อ[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] ของ[[กรุงศรีอยุธยา]] ทรงนำทัพมาปล้นเมืองพระนคร นักประวัติศาสตร์กระแสหลักถือเป็นอันสิ้นสุดสมัยพระนคร ตามมาด้วย[[เมืองละแวก|สมัยละแวก]] (ល្វែក ''ลฺแวก'')
 
เวลาผ่านไป เมืองพระนครกลายเป็นซากปรักหักพังอยู่ในป่ารก ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของ[[โตนเลสาบ]] (ទន្លេសាប ''ทนฺเลสาบ'') และตอนใต้ของพนมกุเลน ใกล้กับ[[กรุงเสียมเรียบ]] (ក្រុងសៀមរាប ''กฺรุงเสียมราบ'') เมืองเอกของเขตเสียมเรียบ โบราณสถานพระนครมีศาสนสถานกว่าหนึ่งพันแห่ง ถือเป็นอนุสรณ์สถานทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในจำนวนนี้รวมถึง[[นครวัด]] (អង្គរវត្ ''องฺครวตฺ'') ที่[[พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2]] (សូរ្យវរ្ម័នទី២ ''สูรฺยวรฺมันที ๒'') ทรงสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ศาสนสถานหลายแห่งได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ และนับเป็นสถานที่สำคัญที่สุดในทาง[[สถาปัตยกรรมเขมร]] ได้รับความคุ้มครองในฐานะ[[แหล่งมรดกโลก]]ของ[[ยูเนสโก]] (UNESCO World Heritage Site) แต่ละปีมีผู้เยี่ยมชมราวสองล้านคน แต่ความนิยมนี้เองทำให้เกิดข้อยากหลายประการในการสงวนรักษาสถานที่อนุรักษ์
 
ใน ค.ศ. 2007 คณะนักวิจัยระหว่างประเทศใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและวิทยาการสมัยใหม่แขนงอื่น ๆ จนได้ข้อสรุปว่า เมืองพระนครเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อน[[ยุคอุตสาหกรรม]] มีระบบ[[โครงสร้างพื้นฐาน]]อันสลับซับซ้อนซึ่งเชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ ของเมืองเข้ากับศาสนสถานทั้งหลาย รวมแล้วเป็นพื้นที่อย่างน้อย 1,000 ตารางกิโลเมตร<ref name="Evans PNAS">Evans et al., [http://www.pnas.org/content/104/36/14277 A comprehensive archaeological map of the world's largest pre-industrial settlement complex at Angkor, Cambodia], Proceedings of the National Academy of Sciences of the USA, August 23, 2007.</ref> นอกจากนี้ เมืองพระนครยังนับเป็นนครไฮดรอลิก (hydraulic city) เพราะมีเครือข่ายบริหารจัดการน้ำที่ซับซ้อนสำหรับเก็บและกระจายน้ำอย่างเป็นระบบในทุกพื้นที่<ref>Evans, D., Pottier, C., Fletcher, R., Hensley, S., Tapley, I., Milne, A., & Barbetti, M. (2007). A comprehensive archaeological map of the world's largest pre-industrial settlement complex at Angkor, Cambodia. Proceedings of the National Academy of Sciences, 104(36), 14277-14282.</ref> ระบบน้ำนี้ยังเชื่อว่า ใช้สำหรับชลประทาน ใช้เตรียมรับมือฤดูแล้งที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือการคาดการณ์ และใช้สนับสนุนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ<ref name="Evans PNAS"/> แม้จำนวนประชากรที่แน่ชัดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ระบบทางเกษตรกรรมที่ค้นพบใหม่ในพื้นที่นี้นำไปสู่สมมุติฐานว่า อาจมีมนุษย์อาศัยอยู่ถึงหนึ่งล้านคน คิดเป็นอย่างน้อย 0.1% ของประชากรทั่วโลกในช่วง ค.ศ. 1010–1220 ทำให้เมืองพระนครถือเป็น[[อภินคร]] (megacity) อีกด้วย<ref>[https://www.independent.co.uk/news/world/asia/metropolis-angkor-the-worlds-first-megacity-461623.html Metropolis: Angkor, the world's first mega-city], The Independent, August 15, 2007</ref>
 
== เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก ==