ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธาตุก่องข้าวน้อย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thyj (คุย | ส่วนร่วม)
รูปภาพเป็นลบแล้ว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ธาตุก่องข้าวน้อย''' หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''พระธาตุก่องข้าวน้อยถาดทอง''' หรือ '''ธาตุตาดทอง''' ตั้งอยู่ในกลางทุ่งนาของบ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง [[อำเภอเมืองยโสธร]] [[จังหวัดยโสธร]] ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 (สายยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
 
==ลักษณะองค์ธาตุ ==
ธาตุก่องข้าวน้อย มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 23-25 (สมัยอยุธยาตอนปลาย) เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์ธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์ธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังองค์ธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้า ([[เมษายน]]) จะมีการประเพณีสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
 
== นิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ==
มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 23-25 (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ประวัติของการสร้างธาตุแห่งนี้แตกต่างไปจากธาตุอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยเป็นนิทานพื้นบ้านเล่าว่า มีชายหนุ่ม[[ชาวนา]] (บ้างว่าชื่อ ทอง) ที่ได้ทำนาทั้งชีวิต วันหนึ่งเขาออกไปไถนา ในเวลาเที่ยงเขาเหนื่อยล้า รู้สึกเกิดอาการร้อนรนและหิวโซ [[มารดา]]ของหนุ่มชาวนามาส่งข้าว แต่มาช้ากว่าเวลาปกติ ชายหนุ่มเห็นว่าก่องข้าวที่มารดาถือมาให้นั้นก่องเล็กมาก เขาโกรธ[[มารดา]]มาก จึงทำร้ายมารดาด้วยความโมโหหิว เอาคันไถนาฟาดไปที่มารดา จนมารดาล้มและเสียชีวิต หลังจากนั้นเขากิน[[ข้าว]]ที่[[มารดา]]นำมาให้ แต่ก็กินเท่าไรข้าวก่องน้อยนั้นก็ไม่หมดก่อง ลูกชายเริ่มได้สติ หันมาเห็น[[มารดา]]นอนเสียชีวิตบนพื้น จึงรู้สึกเสียใจมากที่ได้ทำผิดไป จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้นมาด้วยมือเพื่อชดใช้บาปกรรม
 
== โบราณคดี ==
นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบๆโดยรอบ องค์ธาตุก่องข้าวน้อย [[กรมศิลปากร]]ได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ เกี่ยวกับการอยู่อาศัย ณ ที่แห่งนี้ ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทย และภาพเขียนสียุคเดียวกับ[[บ้านเชียง|โบราณสถานบ้านเชียง]]ด้วย<ref>[http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2--3312 พระธาตุก่องข้าวน้อย]</ref> อนึ่งชื่อที่ถูกต้องของธาตุองค์นี้ ควรจะเรียกว่า "ธาตุก่องข้าวน้อย" มากกว่า "พระธาตุก่องข้าวน้อย" เพราะภายในบรรจุอัฐิบุคคลธรรมดา มิใช่เป็นอัฐิ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ของ[[พระสมณโคดม|สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] เหมือนเช่นพระธาตุ หรือพระบรมธาตุทั่วไป<ref>''เที่ยวอีสานหน้าฮ้อน ออนซอนแท้เด้อ'', "สมุดโคจร". รายการทางช่อง 5: อาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2556</ref>{{อ้างอิงดีกว่า}}
 
== ข้อเท็จจริง ==
อนึ่งชื่อที่ถูกต้องของธาตุองค์นี้ ควรจะเรียกว่า "ธาตุก่องข้าวน้อย" มากกว่า "พระธาตุก่องข้าวน้อย" เพราะภายในบรรจุอัฐิบุคคลธรรมดา มิใช่เป็นอัฐิ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ของ[[พระสมณโคดม|สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] เหมือนเช่นพระธาตุ หรือพระบรมธาตุทั่วไป<ref>''เที่ยวอีสานหน้าฮ้อน ออนซอนแท้เด้อ'', "สมุดโคจร". รายการทางช่อง 5: อาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2556</ref>{{อ้างอิงดีกว่า}}
ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบ ธาตุวัดทุ่งสะเดา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก จึงได้มีการสันนิษฐานใหม่ว่า ธาตุวัดทุ่งสะเดา น่าจะเป็นธาตุก่องข้าวน้อย ตามตำนานเล่าขาน เพราะมีขนาดเล็กคนๆ เดียวสามารถสร้างได้ ส่วนธาตุก่องข้าวน้อย บ้านตาดทอง มีขนาดใหญ่พอๆ กับพระธาตุอานนท์ วัดมหาธาตุ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัว บุคคลคนเดียวไม่มีความรู้เรื่องช่างไม่สามารถทำได้ จึงได้เรียกขานใหม่ว่า พระธาตุถาดทอง แทน
 
ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบ ธาตุวัดทุ่งสะเดา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก จึงได้มีการสันนิษฐานใหม่ว่า ธาตุวัดทุ่งสะเดา น่าจะเป็นธาตุก่องข้าวน้อย ตามตำนานเล่าขาน เพราะมีขนาดเล็กคนๆ เดียวสามารถสร้างได้ ส่วนธาตุก่องข้าวน้อย บ้านตาดทอง มีขนาดใหญ่พอๆ กับพระธาตุอานนท์ วัดมหาธาตุ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัว บุคคลคนเดียวไม่มีความรู้เรื่องช่างไม่สามารถทำได้ จึงได้เรียกขานใหม่ว่า พระธาตุถาดทอง แทน
 
== อ้างอิง ==