ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยศิลปากร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูล
บรรทัด 41:
ต่อมาเมื่อผู้แทนของ [[องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]] หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น ศาสตราจารย์ [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]] ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 และเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ [[พระราชวังสนามจันทร์]] จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะฯ ตลอดมา และได้ทำการจัดตั้ง [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะศึกษาศาสตร์]] ขึ้นใน พ.ศ. 2513 [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะวิทยาศาสตร์]] ใน พ.ศ. 2515 [[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะเภสัชศาสตร์]] ใน พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใน พ.ศ. 2535 (ปัจจุบันคือ [[คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม]])
 
เนื่องในวโรกาสที่ [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 36 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2536 และเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มจัดตั้ง [[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] ใน พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำริของ ศาสตราจารย์ ดร. [[ตรึงใจ บูรณสมภพ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีผู้อำนวยการคนแรก คือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. [[แมนรัตน์ ศรีกรานนท์]] [[ศิลปินแห่งชาติ]] และทำการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรที่สำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน
 
ใน พ.ศ. 2542 ศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อธิการบดีในขณะนั้น จึงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในการย้ายวิทยาเขตใหม่ไปที่ หมู่ที่ 1 หมู่บ้านไร่ใหม่พัฒนา ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และมีแผนในการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตรขึ้นเป็นคณะแรก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าพื้นที่โดยรอบมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มหาวิทยาลัยจะได้ให้บริการได้โดยตรง จากการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2544 ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง อาจารย์ ดร. [[สุภสร ชโยวรรณ]] เป็นผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร
บรรทัด 263:
=== วังท่าพระ ===
 
[[วังท่าพระ]] ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้างวังหลวง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] เป็นวิทยาเขตแรกและเป็นจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย
 
เป็นที่ตั้งของ [[คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์]] [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]] [[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]] [[คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะมัณฑนศิลป์]] และหอศิลป์ต่าง ๆ
บรรทัด 312:
 
* '''ประตูและกำแพงวังท่าพระ'''
กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับ [[วังท่าพระ]] ตั้งแต่รัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
* '''ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว'''
ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้ง [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมใน [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
บรรทัด 339:
สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์ มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าโรงอาหารสระแก้ว ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง
* '''ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร'''
สร้างขึ้นในวโรกาสที่ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดความสูง 2 ชั้น ใช้ในกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย อาทิ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พิธีปฐมนิเทศและบายศรีสู่ขวัญนักศึกษาชั้นปีที่ 1
 
=== วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ===
 
* '''เทวาลัยพระคเณศ'''
พระคเณศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2550 ปัจจุบันอยู่บริเวณลานเทวาลัยพระคเณศ เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระคเณศ ออกแบบปั้นและหล่อโดย อาจารย์ [[เสวต เทศน์ธรรม]] ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
* '''ลานประติมากรรม'''
ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขต มีชื่อเล่นว่า "ลานเทเลทับบีส์" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบีส์ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ พิธีบรวงสวงพระคเณศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง
บรรทัด 376:
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร ==
 
[[พิธีสำเร็จการศึกษา|พิธีพระราชทานปริญญาบัตร]] ของมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] โดยเสด็จฯ ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ท้องพระโรง [[วังท่าพระ]]<ref>พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร</ref>
 
ปัจจุบัน [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
 
== บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ==
บรรทัด 384:
=== ปูชนียบุคคล ===
 
* [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก [[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]] ปีการศึกษา 2520<ref>[http://www.thapra.lib.su.ac.th/princess/text/article4.pdf สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร], หอสมุดสาขา วังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร</ref>
* [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ภรณวลัยลักษณ์ฯ อัครกรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชกุมารีนารี]] ทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ [[คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์]] ปีการศึกษา 2560<ref>[http://www.tnews.co.th/contents/361165 ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร], สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 09:39:35 น.</ref>
* [[พระเจ้าหลานเธอวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์]] ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) [[คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์]] ปีการศึกษา 2544 และทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกศิลปะไทย [[คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์]] ปีการศึกษา 2551<ref>[http://www.tnews.co.th/contents/207621 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ทรงเจริญพระชันษา๓๔ปี ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ], สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13:25:21 น.</ref>
* [[กมล สุวุฒโฑ]] อธิการบดี [[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]
* [[กำจร สุนพงษ์ศรี]]