ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิเดกิ โทโจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 85:
ขณะที่กลุ่มโทะเซะฮะยินดีที่จะใช้การลอบสังหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและยังคงเต็มใจที่จะทำงานในระบบแบบเดิมเพื่อให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น; อีกทั้งยังต้องการสร้าง "ความมั่นคงของชาติ" เพื่อระดมพลทั้งชาติก่อนทำสงคราม แม้ว่ากลุ่มโทะเซะฮะจะไม่ปฏิเสธแนวความคิดแบบ "จิตวิญญาณ" ในฐานะที่เป็นปัจจัยที่ชนะสงครามก็เห็นว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางทหารเป็นปัจจัยที่ได้รับชัยชนะและมองว่า[[สหรัฐอเมริกา]]เป็นศัตรูในอนาคตเช่นเดียวกับสหภาพโซเวียต{{sfn|Bix|p=244}}
 
ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1936 กลุ่มทหารโคะโดะฮะ[[วิฤตการณ์วิกฤตการณ์ 26 กุมภาพันธ์|ได้พยายามทำการก่อรัฐประหารขึ้น]] โทโจและ[[ชิเกะรุ ฮอนโจ]] ได้ให้การสนับสนุนการกระทำของ[[ซะดะโอะ อะระกิ]] ทั้งสองไม่เห็นด้วยกับการก่อกบฏของกลุ่มโคะโดะฮะที่เป็นคู่แข่งทางการเมือง{{sfn|Takemae & Ricketts|p=221}} เมื่อความไปถึง[[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ]] พระองค์เองทรงพิโรธอย่างยิ่งในการที่กลุ่มกบฏโจมตีที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดพระองค์และหลังจากเกิดวิกฤติทางการเมืองสั้นๆ ทรงถ่วงเวลาให้ทหารที่เห็นอกเห็นใจพวกกบฏถูกบังคับให้ยอมจำนน โทโจในฐานะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วย ''[[เค็นเปไต]]'' เขาสั่งให้จับกุมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดใน[[กองทัพคันโต]]ที่สงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการรัฐประหารในกรุงโตเกียว{{sfn|Browne|p=59}} หลังจากนั้นกลุ่มโทะเซะฮะได้ทำการกวาดล้างผู้เห็นต่างทางการเมืองในกองทัพและผู้นำการก่อรัฐประหารถูกดำเนินคดีตัดสินประหารชีวิต หลังจากการกวาดล้างทางการเมืองกลุ่มโคะโดะได้ถูกยุบรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในด้านการเมืองแบบชาตินิยมภายใต้การนำของกลุ่มทหารโทะเซะฮะ โดยมีโทโจเป็นผู้นำ
 
หลังจากการกวาดล้างกลุ่มโคะโดะฮะ โทโจได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพคันโตในปี ค.ศ.1937{{sfn|Dear & Foot|p=872}} ขณะเดียวกันญี่ปุ่นได้ยกสถานะดินแดนยึดครองแมนจูเรียของตนเป็นประเทศอิสระชื่อว่า "[[ประเทศแมนจู]]" (แมนจูกัว) แต่ในความเป็นจริงเป็นอาณานิคมหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในทุกด้านและหน้าที่ของกองทัพคันโตนั้นเป็นเรื่องทางการเมืองมากเท่ากับด้านการทหาร{{sfn|Browne|p=60}}