ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรมัตถธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kasin2 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kasin2 (คุย | ส่วนร่วม)
เน้นตัวหนา
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
# เจตสิก เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต เจตสิกแต่ละเจตสิกมีลักษณะและกิจต่างกันตามประเภทของเจตสิกนั้นๆ เจตสิกเป็นสภาพรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่จิต (ได้แก่: เวทนา - คือความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ ที่เกิดทางกายหรือใจ; สัญญา - คือความจำได้ รู้ชื่อ รู้จัก; สังขาร - คือความนึกคิดปรุงแต่งอื่นๆ เช่น รัก โกรธ เมตตา ปัญญา เป็นต้น) เป็นนามธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
# รูป รูปเป็นสภาพไม่รู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เป็นรูปธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
# นิพพาน เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ นิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น นิพพานจึงไม่เกิดดับ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ คือพ้นจากขันธ์ นิพพานเป็นสภาพรู้
#เป็นนามธรรม เป็นอนัตตา
 
แยกประเภท (บางทีเรียกว่า ดวง) ได้ดังนี้
เส้น 19 ⟶ 20:
โดยจัดเป็นรูป 28 นับเป็น[[รูปธรรม]] จัดจิต 89 หรือ 121 โดยพิเศษ เจตสิก 52 นิพพาน 1 เป็น[[นามธรรม]]
 
'''สังขารธรรม''' คือ ธรรมที่เกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน
 
'''วิสังขารธรรม''' คือ ธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
 
(ปัจจัย คือ ธรรมซึ่งอุปการะอุดหนุนให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่)
 
'''สังขตธรรม''' คือ ธรรมที่เกิดดับ ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน
 
'''อสังขตธรรม''' คือ ธรรมที่ไม่เกิดดับ ได้แก่ นิพพาน
 
จิต จำแนกโดยการเกิด คือ โดยชาติ มี 4 ชาติ คือ กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิตเป็นจิตที่ดี ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผล คือ กุศลวิบาก อกุศลจิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นโทษ เป็นสภาพธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลที่เป็นทุกข์ ไม่น่าพอใจ คือ อกุศลวิบาก ส่วนกิริยาจิต ซึ่งไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบาก จึงไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต และไม่ใช่วิบากจิต สำหรับวิบากจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นผลจากกุศลจิต หรืออกุศลจิต และปรากฏในชีวิตประจำวันของสัตว์ทั้งหลายที่มีขันธ์ห้า เมื่อจิตรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าพอใจ ก็เป็นกุศลวิบาก ถ้าไม่พอใจ ก็เป็นอกุศลวิบาก