ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แมนรัตน์ ศรีกรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
}}
 
'''เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ท.จ.ว. ,ต.ช. ,ต.ม. ,จ.ภ. ,ภ.ป.ร.3 ,ร.จ.ท.9''' หรือ เรมอนด์ ซีเกร่า ({{lang-pt|Reimondo Amato de Sequeira}}) เป็นนักดนตรีลูกครึ่งชาวไทย-[[โปรตุเกส]] เป็นสมาชิก [[วง อ.ส. วันศุกร์|วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์]] ได้รับพระราชทานนามในภาษาไทยจาก[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]ว่า "แมนรัตน์ ศรีกรานนท์" ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ ส่งไปเรียนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานที่ [[วิทยาลัยดนตรีเบิร์กลี|โรงเรียนการดนตรีเบิร์กลี]] (Berkley School of Music) ที่เมือง[[บอสตัน]] [[สหรัฐอเมริกา]] (ปัจจุบันคือวิทยาลัยดนตรีเบิร์กลี - Berkley College of Music)
 
เกิดเมื่อวันที่ [[25 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2471]] ที่กรุงเทพมหานคร บิดาของท่านคือ เรนัลโด ซีเกร่า (Reinaldo Maria de Sequeira) นักดนตรีชาวโปรตุเกส เป็นคนแรกๆที่นำเพลงตะวันตกมาบรรเลงในประเทศไทย แมนรัตน์เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี"คีตะเสวี" เมื่อปี พ.ศ. 2493 เป็นวงดนตรีร่วมสมัยกับวง[[สุนทราภรณ์]] บรรเลงตามสถานีวิทยุและงานลีลาศด่างๆ แต่เน้นดนตรีสากล สมรสกับคุณลออวรรณ ศรีกรานนท์ มีบุตรและธิดา 2 คน ชื่อ ดร.อินทุอร และ [[ภาธร ศรีกรานนท์|ดร.ภาธร ศรีกรานนท์]]
บรรทัด 38:
ผ่านการทำงานหลายที่ เช่น บริษัทเชลล์ ซึ่งที่นี่ได้ตั้ง ''วงดนตรีพนักงานบริษัทเชลล์'' ขึ้น และได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง จากนั้นได้ตั้งวงดนตรีเล็กๆของตนเองอีก 1 วง ชื่อ ''วงดนตรีเรมอนด์และสหาย'' (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ''คีตะเสวี'' ) ซึ่งเป็นชื่อวงดนตรีของบิดา รวบรวมเพื่อน ๆ มาเล่นดนตรียามว่างจากการทำงาน แรก ๆ เล่นกันในงานเลี้ยงสังสรรค์ตามบ้านเพื่อนฝูงเท่านั้น แต่ภายหลังได้เล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุ 1 ปณ และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วย
 
เมื่อลาออกจากเชลล์ ได้เข้าทำงานที่บริษัทน้ำมันแสตนดาร์ด เวคัม ออยส์ ในปี พ.ศ. 2498 ได้ร่วมเล่นดนตรีอยู่กับวงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในตำแหน่งนัก PIANO ได้มีโอกาสเล่นเปียโนถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชในวันที่ไปออกอากาศ ณ สถานีวิทยุ อ.ส. หลังจากนั้นได้ถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเพื่อที่จะเล่นเปียโนใน ''วงดนตรีลายคราม'' ซึ่งนักดนตรีในวงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ชั้นหม่อมเจ้าและชั้นหม่อมราชวงศ์ และที่พิเศษ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นผู้ทรงแซกโซโฟน และคลาริเน็ต จนถึงปัจจุบันได้เล่นดนตรีถวายใน ''วงดนตรี อ.ส วันศุกร์'' มาเป็นเวลา 50 ปี
 
นอกจากนี้ได้เคยร่วมเล่นดนตรีกับนักดนตรีแจ๊สชั้นนำของโลก เช่น เบนนี กูดแมน สก็อต แฮมิลตัน และเบนนี คาร์เตอร์ เป็นต้น