ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันวิสาขบูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงกำหนดวันวิสาขบูชาในปีต่างๆให้ถูกต้อง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
'''วันวิสาขบูชา''' ({{lang-pi|''วิสาขปุณฺณมีปูชา''}}; {{lang-en|''Vesak''}}) เป็น[[วันสำคัญทางศาสนาพุทธ]]สำหรับ[[พุทธศาสนิกชน]]ทุก[[นิกาย]]ทั่ว[[โลก]] ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลาย[[ประเทศ]] และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของ[[สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ]]<ref name="UN fifty-fourth">Request for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999). [http://www.un.org/ga/54/agenda/a235.pdf ''International recognition of the Day of Vesak'']. Retrieved on May 7, 2009 {{en icon}}</ref> เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดใน[[ศาสนาพุทธ]] 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ [[ตรัสรู้]] และ[[ปรินิพพาน]]ของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ[[วันเพ็ญ]]แห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตาม[[ปฏิทิน]]ของอินเดีย ซึ่งตรงกับ[[วันเพ็ญ]]เดือน 6 ตาม[[ปฏิทินจันทรคติของไทย]] และมักตรงกับเดือน[[พฤษภาคม]]หรือ[[มิถุนายน]]ตาม[[ปฏิทินจันทรคติ]]ของไทย โดยใน[[ประเทศไทย]] ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม<ref>[http://www.vesakday.net/vesak47/article/article_file/now_situation_buddhism1.html พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}. UNDV Celebration. เรียกข้อมูลวันที่ 23 เมษายน 2552</ref> ส่วนในกลุ่มชาวพุทธ[[มหายาน]]บางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท<ref>[http://www.bbc.co.uk/schools/religion/buddhism/nirvana.shtml Nirvana Day - 15th February 2009]. BBC Schools-Buddhism. Retrieved on May 7, 2009 {{en icon}}</ref>
 
วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่า[[ชมพูทวีป]]ในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อน[[พุทธศักราช]] เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ใน[[พระราชอุทยานลุมพินีวัน]] (อยู่ในเขต[[ประเทศเนปาล]]ในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้[[ตรัสรู้|บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จ]][[วันวิสาขบูชา|ธรรมไชยโยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]]" ณ [[พุทธคยา|ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม]] (อยู่ในเขต[[ประเทศอินเดีย]]ในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ใน[[กุสินารา|สาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา]] (อยู่ในเขต[[ประเทศอินเดีย]]ในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
 
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง[[มหายาน]]และ[[เถรวาท]]ทุก[[นิกาย]]มาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน [[ประเทศอินเดีย]]และ[[ประเทศศรีลังกา]] ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น [[ประเทศอินเดีย]] [[ประเทศไทย]] [[ประเทศพม่า]] [[ประเทศศรีลังกา]] [[สิงคโปร์]] และ[[อินโดนีเซีย]] เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]]