ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยนเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8230800 โดย 96.30.127.226ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
นพดล คำกองแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
|anthem = [[มาร์ช มน.|มาร์ชมหาวิทยาลัยนเรศวร<br>(มาร์ช มน.)]]}}
 
'''มหาวิทยาลัยนเรศวร''' เป็น[[มหาวิทยาลัย]]ของ[[มหาวิทยาลัยรัฐ|รัฐ]] ตั้งอยู่ใน[[จังหวัดพิษณุโลก]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2533]] ภายหลังจากการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขตของ[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] โดยชื่อ ''"มหาวิทยาลัยนเรศวร"'' นั้น ได้รับพระราชทานนามจาก[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] วีรกษัตริย์แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]] เนื่องด้วยพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลก และทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกมาก่อน
 
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับในด้านการวิจัยให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย จาก[[อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย|การจัดอันดับมหาวิทยาลัย]]โดย[[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2549]]<ref name="อันดับมหาวิทยาลัย">[http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03p0107010949&day=2006/09/01 อันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามสาขาวิชา ตามงานวิจัย] หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 1 กันยายน 2549</ref> และได้รับการจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) เมื่อเดือน[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2556]] ให้อยู่ในอันดับที่ 605 ของโลก อันดับที่ 15 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย<ref name="Ranking Web of World Universities: Top South East Asia">[http://www.webometrics.info/top100_continent.asp?cont=SE_Asia Ranking Web of World Universities: Top South East Asia]</ref>
บรรทัด 30:
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค[[ภาคเหนือ]]ตอนล่างและ[[ภาคกลาง]]ตอนบนของ[[ประเทศไทย]]<ref>[http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/pcoc_menu/admin/manage/files/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20%204.doc บทบาทของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลกที่เกี่ยวกับนโยบายการลงทุน]</ref> โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งสาย[[วิทยาศาสตร์]]และ[[เทคโนโลยี]] [[วิทยาศาสตร์สุขภาพ]] [[มนุษยศาสตร์]]และ[[สังคมศาสตร์]] รวมทุกระดับการศึกษาทั้งสิ้น 184 หลักสูตร<ref name="หลักสูตรมหาวิทยาลัยนเรศวร"> [http://www.nu.ac.th/th/d_course.php]</ref> มีจำนวนนิสิตประมาณ 22,200 คน<ref>http://www.reg.nu.ac.th/publish//studentstat_DL/2557/สถิตินิสิตประจำปีการศึกษา_2557(23-09-2557).pdf]</ref> และมีอาจารย์ประจำกว่า 1,400 คน<ref>[http://report.nu.ac.th/51/RP_PositionStaff_512.aspx รายงานบุคลากรสายวิชาการ (มีหน้าที่สอน) จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ และระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2551]</ref>
 
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคมหรือเดือนกราคม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[สมเด็จพระกนิฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 42:
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 ([[พ.ศ. 2520]] - [[พ.ศ. 2524]]) ที่กำหนดให้[[จังหวัดพิษณุโลก]] เป็นเมืองศูนย์กลางและเมืองหลักของภาคเหนือตอนล่าง ทางวิทยาเขตจึงขออนุญาต[[กระทรวงมหาดไทย]] ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับอนุญาตในปี [[พ.ศ. 2527]] โดยเป็นช่วงเดียวกับที่ทาง[[ทบวงมหาวิทยาลัย]]ในขณะนั้นประกาศโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของรัฐในส่วนภูมิภาคอีก 5 แห่ง โดยที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่นี้อยู่บริเวณทุ่งหนองอ้อ – ปากคลองจิก ตำบลท่าโพธิ์ [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]] ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
 
ช่วงปี [[พ.ศ. 2527]] - [[พ.ศ. 2531|2531]] ทางวิทยาเขตได้เตรียมแผนสำหรับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และในวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2533]] ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] รัฐบาลในสมัยของนายกรัฐมนตรี [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่แห่งนี้ว่า '''"มหาวิทยาลัยนเรศวร"''' ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ [[29 กรกฎาคม]] ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย<ref name="ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร"/>
 
ภายหลังจากการยกฐานะของมหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งอาคาร สถานที่และบุคลากร โดยมุ่งหวังที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive University)<ref name="เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร">[http://www.nu.ac.th/ab-goal.htm เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> จึงมีการจัดตั้งคณะ วิทยาลัยต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา และจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัย ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2538]] ทางมหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้งวิทยาเขตที่[[จังหวัดพะเยา]]<ref>[http://www.pyo.nu.ac.th/history.htm ประวัติมหาวิทยาลัยพะเยา]</ref> โดยปัจจุบันได้ยกฐานะขึ้นเป็น[[มหาวิทยาลัยพะเยา]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/044/4.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553]</ref> และในปี [[พ.ศ. 2548]] ได้จัดตั้ง[[โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]]<ref>[http://www.satit.nu.ac.th/satitprawad.html ประวัติโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความรู้ทาง[[วิทยาศาสตร์]] [[เทคโนโลยี]] และภาษาต่างประเทศในระดับมัธยมให้กับนักเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง
บรรทัด 367:
 
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
นับแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวร [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประจำทุกปี
 
เมื่อ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จขึ้นทรงราชย์ สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรสืบมาจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้น ณ ห้องพระราชทานปริญญาบัตร อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
=== ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ===