ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "== บทบาททางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง =="
ป้ายระบุ: ถูกแทน แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== บทบาททางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ==
== ปัจฉิมวัย ==
[[ไฟล์:ปรีดี พนมยงค์.png|thumb|292x292px|ปรีดี พนมยงค์ ในปัจฉิมวัย|link=Special:FilePath/ปรีดี_พนมยงค์.png]]
หลายปีที่ปรีดีลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ยังมีการกล่าวหาว่าปรีดีสมคบการปลงพระชนม์ในหลวงอยู่เป็นระยะ ๆ เขาจึงต้องฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม<ref>สำเนาคำฟ้อง, เรื่องละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและหมิ่นประมาทโดยใส่ความทำให้โจทก์เสียหาย ความแพ่งระหว่างปรีดี พนมยงค์ โดย นายวิชา กันตามระ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์กับบริษัทสยามรัฐ จำเลยที่ 1, ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จำเลยที่ 2 และคนอื่น ๆ, จัดพิมพ์โดย นายทิม ภูริพัฒน์ ธนบุรี : มีชีพกิจการพิมพ์, 2513</ref><ref>สำนาคำฟ้อง, เรื่องละเมิด หมิ่นประมาท ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์, ความแพ่ง ระหว่างปรีดี พนมยงค์ โดยนายปาล พนมยงค์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ กับนายรอง ศยามานนท์ จำเลยที่ 1, บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำเลยที่ 2 และบริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำเลยที่ 3, 2521 (คดีหมายเลขดำ ที่ 4226/2521)</ref><ref>สำเนาคำฟ้อง, เรื่องละเมิด หมิ่นประมาทความแพ่งระหว่างปรีดี พนมยงค์ โดยนายปาล พนมยงค์ ผู้รับมอบอำนาจ กับนายชาลี เอี่ยมกระสินธ์กับพวก จำเลย, คำตัดสินใหม่ กรณีสวรรคต ร.8 โดยคำพิพากษาศาลแพ่ง, 2522</ref><ref>[http://www.openbase.in.th/files/pridibook117.pdf ปรีดี พนมยงค์ ผู้บริสุทธิ์ (คำฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ 4226/2521)]. --กรุงเทพฯ : กฤตญาดา, 2550. ISBN 978-974-85063-2-6</ref> ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี นอกจากนี้ โดยคำพิพากษาของศาลในกรณีฟ้องร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสกับพวก ในข้อหาร่วมกันละเมิดสิทธิของโจทก์<ref name="ReferenceB" /> ปรีดีจึงได้รับความรับรองจากทางราชการในฐานะคนไทยโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และได้รับเงินบำนาญตลอดจนได้รับ[[หนังสือเดินทางไทย|หนังสือเดินทางของไทย]]<ref name="socialitywisdom.blogspot.com" /><ref name="ReferenceC" /><ref>สุพจน์ ด่านตระกูล, [http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/pridi2.htm ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเขาปรีดีฯ และกรณีสวรรคต], สารคดี, 2543, เรียกข้อมูลวันที่ 11 พ.ย. 2552</ref><ref>สุพจน์ ด่านตระกูล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook129.pdf ม.จ. ศุภสวัสดิ์ฯ รับสั่งว่า ในหลวงและสมเด็จพระราชชนนีไม่ทรงเชื่อว่า...ปรีดีฯ สมคบปลงพระชนม์ ร.8], สำนักพิมพ์สันติธรรม, 2529, หน้า 46, 69</ref><ref name="ชีวิตผันผวน">ปรีดี พนมยงค์ [http://www.openbase.in.th/files/pridibook080.pdf ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน], สำนักพิมพ์เทียนวรรณ, 2529</ref>
 
ขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ปรีดีได้มีโอกาสพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำพรรคและรัฐบาลจีนไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี[[เหมา เจ๋อตง]] นายกรัฐมนตรี[[โจว เอินไหล]] จอมพลเฉินยี่ [[เติ้ง เสี่ยวผิง]] เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังได้พบปะสนทนากับผู้นำกอบกู้เอกราชของชาติในอินโดจีน อาทิ ประธานาธิบดี[[โฮจิมินห์]]และนายกรัฐมนตรีฝ่ามวันดง แห่งเวียดนาม [[เจ้าสุภานุวงศ์]] ประธานประเทศลาว เจ้าสุวรรณภูมา และ[[พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ]] กษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยเฉพาะมิตรภาพระหว่างปรีดีกับประธานโฮจิมินห์นั้น ยืนยาวมาตั้งแต่สมัยที่เขาผู้นี้ต่อสู้กับฝรั่งเศส<ref name="ชีวิตผันผวน"/>
 
ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 [[โจวเอินไหล]]ได้อำนวยความสะดวกให้ปรีดีเดินทางจากประเทศจีนไปยังกรุงปารีส ด้วยความช่วยเหลือจากนายกีโยม จอร์จ-ปีโก (Guillaume Georges- Picot) มิตรเก่าที่มีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตถาวรของประเทศฝรั่งเศส และโดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี [[ชาร์ลส์ เดอ โกลล์]]<ref>ปรีดี พนมยงค์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook080.pdf ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน], บทที่ 1 การเดินทางออกจากสาธารณรัฐราษฎรจีน, สำนักพิมพ์เทียนวรรณ, 2529, หน้า 4-5</ref> ปรีดีจึงได้พำนักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปลายชีวิตอย่างสันติสุข ท่านเป็นผู้สนใจสนใจในพุทธศาสนา<ref>สัมพันธ์ ก้องสมุทร, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook127.pdf ดอกโมกข์ ดอกไม้แห่งพุทธะและธรรมมาตา], ปีที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ฉบับที่ 5, หน้า 93</ref> โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง "กฎบัตรของพุทธบริษัท" ที่[[พุทธทาสภิกขุ]]ส่งไปให้นั้น ปรีดีจะพกในกระเป๋าเสื้อนอกติดตัวอยู่ตลอดเวลาตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต<ref>ข่าวสด, [http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXhOREV5TURrMU13PT0= เปิดหนังสือกฎบัตรพุทธบริษัท], วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7227 ข่าวสดรายวัน</ref>
 
เวลา 11 นาฬิกาเศษ ของวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ปรีดี พนมยงค์ สิ้นใจด้วยอาการหัวใจวายขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน<ref name="ปรีดีในต่างแดน"/>