ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== หน้าที่การงานก่อนเข้าสู่การเมือง ==
เมื่อกลับถึงกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2470 ปรีดีเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำ[[กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย)|กระทรวงยุติธรรม]] ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย (ปัจจุบันคือ[[สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)|สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา]]) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/2718.PDF พระราชทานบรรดาศักดิ์], เล่ม 45, วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2471, หน้า 2718</ref> เมื่อ พ.ศ. 2471 ขณะมีอายุ 28 ปี ต่อมาใน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกรมร่างกฎหมาย<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/313.PDF พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ ตั้งกรรมการกรมร่างกฎหมาย], เล่ม 49, วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2475, หน้า 313</ref> (ต่อมาได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมกับ[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 9]] ใน พ.ศ. 2485 และกลับไปใช้ชื่อเดิมคือ นายปรีดี พนมยงค์<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/4525_1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการ กราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์]</ref>)
 
ในช่วงที่รับราชการในกระทรวงยุติธรรมนี้ ปรีดีได้รวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาพกระจัดกระจายให้มารวมเป็นเล่มเดียว ใช้ชื่อว่า “[[ประชุมกฎหมายไทย]]” และได้รับการตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2473 ที่โรงพิมพ์นิติสาสน์ซึ่งเป็นกิจการส่วนตัวของเขาเอง หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้แก่ปรีดีเป็นอย่างมาก<ref name="bunnag-1999">เดือน บุนนาค [http://www.openbase.in.th/files/pridibook024.pdf ข้าพเจ้ารู้จักกับเขาปรีดี พนมยงค์], ปรีดีปริทัศน์, 2542, หน้า 22</ref>
 
นอกจากงานที่กรมร่างกฎหมายแล้ว ปรีดียังเป็นอาจารย์ผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ในชั้นแรกได้สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยลักษณะหุ้นส่วน บริษัทและสมาคม ต่อมาได้สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล ลูกศิษย์ของเขาในช่วงดังกล่าวนี้ได้แก่ [[สัญญา ธรรมศักดิ์]] [[จิตติ ติงศภัทิย์]] [[ดิเรก ชัยนาม]] เสริม วินิจฉัยกุล เสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ ไพโรจน์ ชัยนาม จินดา ชัยรัตน์ โชติ สุวรรณโพธิ์ศรี และศิริ สันตะบุตร
 
ใน พ.ศ. 2474 ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชา[[กฎหมายปกครอง]] (Droit Administratif)<ref name="bunnag-1999" /> กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์<ref>ทิพวรรณ (บุญทวี) เจียมธีรสกุล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook018.pdf วิทยานิพนธ์เรื่องความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ : ระยะเริ่มแรก], 2528, หน้า 409-421, 423-424</ref> ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุน[[คณะราษฎร]]ในเวลาต่อมาหลายคน<ref>ปรีดี พนมยงค์, ชีวประวัติย่อของปรีดี พนมยงค์, สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2544, หน้า 38, ISBN 974-7834-15-4</ref><ref name="ประวัติศาสตร์การเมืองไทย">สุพจน์ ด่านตระกูล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook109.pdf ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ยุค 2475 ที่ถูกบิดเบือน], สถาบันวิทยาศาตร์สังคม, 2536</ref>
 
== บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ==