ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
 
== บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ==
 
=== ด้านการต่างประเทศ ===
[[ไฟล์:Pridi Banomyomg at Europe 1935.jpg|thumb|220x220px|ปรีดี พนมยงค์ เมื่อครั้งเดินทางไปเจรจากับสัมพันธมิตรยุโรปในปี พ.ศ. 2488]]
เมื่อภารกิจด้านการปกครองในกระทรวงมหาดไทยเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ปรีดี พนมยงค์ ได้ก้าวเข้าดำรงตำแหน่ง[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]] (พ.ศ. 2478–พ.ศ. 2481)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/79.PDF ประกาศตั้งผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี กับตำแหน่งที่นายกรัฐมนตรีดำรงอยู่ในฐานที่เป็นนายกรัฐมนตรีและตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ], เล่ม 52, วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2478, หน้า 79</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/918.PDF ประกาศตั้งรัฐมนตรี], เล่ม 54, วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2480, หน้า 918</ref> ในเวลานั้นสยามยังอยู่ภายใต้บังคับของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันไม่เป็นธรรม ที่รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกบังคับให้ทำไว้กับประเทศต่าง ๆ 13 ประเทศ ในนามของ "[[สนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือ]]"
 
ใน พ.ศ. 2478 หลังจากได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแล้ว รัฐบาลเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะหาทางยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค และทวงอำนาจอธิปไตยของประเทศกลับคืนมา โดยยึดหลักเอกราชทั้งในทางการเมือง การศาล และเศรษฐกิจ ตลอดจนหาทางลดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินที่รัฐบาลเก่าได้ทำสัญญาไว้ ปรีดี พนมยงค์ และคณะจึงออกเดินทางไปพบปะเจรจากับผู้นำประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกา และเอเชีย อาทิ [[เบนิโต มุสโสลินี]] ผู้นำ[[ฟาสซิสต์]]แห่งอิตาลี [[ปีแอร์ ลาวาล]] นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส [[ฮจาล์ มาร์ ซาคท์]]ตัวแทนของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ผู้นำนาซีเยอรมัน [[เซอร์ แซมมวล ฮอร์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ [[คอร์เดล ฮัลล์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา [[จักรพรรดิฮิโรฮิโต]]แห่งญี่ปุ่น และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ในหลายประเทศ<ref>ปรีดี พนมยงค์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook080.pdf ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน], บทที่ 3 การเข้าพบมุสโสลินีฯ, สำนักพิมพ์เทียนวรรณ, 2529, หน้า 30-31</ref>
 
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปรีดีได้ใช้ความพยายามทางการทูตเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่สยามได้ทำไว้กับประเทศมหาอำนาจ 13 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี เบลเยียม และนอร์เวย์ ตามลำดับ ซึ่งประเด็นหลักในการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคมีอยู่ 2 ประเด็น คือ
# [[สิทธิสภาพนอกอาณาเขต]] คือคนในบังคับของต่างประเทศไม่ต้องขึ้นต่อศาลสยาม ทำให้สยามสูญเสียเอกราชในทางศาล
# [[ภาษีร้อยชักสาม]] คือรัฐบาลสยามสามารถเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าได้เพียงไม่เกินร้อยละ 3 ทำให้สยามขาดรายได้เข้าประเทศเท่าที่ควรจะได้ นับเป็นการสูญเสียเอกราชในทางเศรษฐกิจ<ref>สุพจน์ ด่านตระกูล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook085.pdf จากรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ถึงรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์], สำนักพิมพ์สันติธรรม, 2531, หน้า 133</ref>
 
โดยใช้ยุทธวิธีบอกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศคู่สัญญาเหล่านั้น และได้ยื่นร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่โดยอาศัยหลัก "[[ดุลยภาพแห่งอำนาจ]]" จนสามารถยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ ทำให้สยามได้เอกราชทางศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา และมีสิทธิเสมอภาคกับนานาประเทศทุกประการ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/3789_1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแก้ไขสนธิสัญญากับนานาประเทศเป็นผลสำเร็จนับเป็นความชอบในราชการของชาติควรตราไว้เป็นสำคัญ], ตอนที่ 0ง, เล่ม 55, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481, หน้า 3789</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/800.PDF หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองสนธิสัญญาใหม่], เล่ม 56, วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2482, หน้า 800</ref><ref>สุพจน์ ด่านตระกูล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook085.pdf จากรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ถึงรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์], สำนักพิมพ์สันติธรรม, 2531, หน้า 135</ref>
 
หนังสือพิมพ์สเตรตไทม์ของสิงคโปร์ กล่าวยกย่องปรีดีไว้ในบทบรรณาธิการว่า "ดอกเตอร์ปรีดี พนมยงค์ เสมือนหนึ่งเป็น [[แอนโทนี อีเดน]]" ผู้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ<ref name="สารคดี"/>
 
=== ด้านการคลัง ===