ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
 
== บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ==
 
=== ด้านการศึกษา ===
ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปรีดี พนมยงค์ ได้สถาปนา "[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]]" (มธก.) ขึ้นเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477] และได้รับแต่งตั้งเป็น "[[ผู้ประศาสน์การ]]"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/D/205_1.PDF ประกาศ ตั้งกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการโดยคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476], ตอนที่ 0ง, เล่ม 51, วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2477, หน้า 205</ref> (พ.ศ. 2477–พ.ศ. 2490) คนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย เพื่อสนองเจตนารมณ์ของคณะราษฎรที่ว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร" ด้วยเห็นว่าในขณะนั้น สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่มิได้เปิดกว้างเพื่อชนส่วนใหญ่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยใหม่ตามแนวความคิดของเขา จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างเพื่อราษฎร เป็นตลาดวิชา ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกัน<ref>[http://www.openbase.in.th/files/pridibook115.pdf ปรีดี พนมยงค์ : ชีวิต งาน และธรรมศาสตร์ ], สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529, หน้า 31, 59-60</ref> ปรีดีกล่าวไว้ในวันสถาปนามหาวิทยาลัยว่า
 
{{คำพูด|มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น<ref>[http://www.openbase.in.th/files/pridibook115.pdf ปรีดี พนมยงค์ : ชีวิต งาน และธรรมศาสตร์ ], สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529, หน้า 26</ref> }}
 
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในระยะแรกมิได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน หากอาศัยเงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาทั่วราชอาณาจักรและดอกผลที่ได้มาจาก[[ธนาคารเอเชีย|ธนาคารแห่งเอเชียเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม]] ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้นถึง 80%<ref>สุพจน์ ด่านตระกูล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook085.pdf จากรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ถึงรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์], สำนักพิมพ์สันติธรรม, 2531, หน้า 126</ref> นอกจากนี้ปรีดียังได้ยกกิจการโรงพิมพ์นิติสาส์นของเขาให้แก่มหาวิทยาลัยเพื่อพิมพ์เอกสารตำราคำสอนแก่นักศึกษา<ref name="bunnag-1999"/> มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสงครามและต่อสู้เพื่อสันติภาพ โดยมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ของ[[ขบวนการเสรีไทย]]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง<ref>[http://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-and-the-free-thai-movement/ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ กับขบวนการเสรีไทย]
</ref>
 
ภายหลังจากที่ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมือง รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยตัดคำว่า "วิชา" และ "การเมือง" ออก เหลือเพียง[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เพื่อไม่ให้นักศึกษายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งยังขายหุ้นทั้งหมดของมหาวิทยาลัย จนไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล<ref name="ปรีดีกับธรรมศาสตร์">ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, [http://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-and-thammasat ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์กับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง], ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข, เรียกข้อมูลวันที่ 10 พ.ย. 2552</ref><ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, [http://www.tu.ac.th/intro/about/swf/history1.htm ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์], www.tu.ac.th</ref>
 
=== ด้านการต่างประเทศ ===