ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
 
== บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ==
 
=== การวางรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ===
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรีดี พนมยงค์ ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดวางรูปแบบการปกครองในระบอบใหม่ เป็นผู้ให้กำเนิด[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย|รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ]] โดยเป็นผู้ร่าง[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/166.PDF พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475], เล่ม 49, วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475, หน้า 166</ref> ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พร้อมกันนั้นยังมีบทบาทสำคัญในการร่าง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475|รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475]] อันเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยาม<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/3131.PDF พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475], ตอนที่ 0ง, เล่ม 49, วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2475, หน้า 3131</ref> ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่
 
ในขณะเดียวกัน ปรีดีก็ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นเลขาธิการคนแรกของ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎรสยาม]] ด้วยตำแหน่งดังกล่าว ทำให้เขามีบทบาทด้าน[[นิติบัญญัติ]]ในการวางหลัก[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]] และความเสมอภาคให้แก่ราษฎร โดยเป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติ[[การเลือกตั้ง]]ฉบับแรก และเป็นผู้ริเริ่มให้สตรีมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้ง[[ผู้แทนราษฎร]]ได้เช่นเดียวกับเพศชาย<ref>ประมาณ อดิเรกสาร, Unseen ราชครู, สื่อวัฏสาร, 2547, หน้า 186, ISBN 974-92685-3-9</ref> และจากการที่ได้ไปศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ปรีดีจึงสนับสนุนแนวคิดเรื่อง[[ศาลปกครอง]] และก็เป็นผู้นำเอาวิชา "[[กฎหมายปกครอง]]" (droit administratif) มาสอนเป็นคนแรก ณ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม แนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการให้ราษฎรสามารถตรวจสอบฝ่ายปกครองได้ และมีสิทธิในทางการเมืองเท่าเทียมกับข้าราชการอย่างแท้จริง
 
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วเขาจึงผลักดันให้รัฐบาลยกฐานะกรมร่างกฎหมายและสถาปนาขึ้นเป็น "[[คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)|คณะกรรมการกฤษฎีกา]]"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/779.PDF พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476], ตอนที่ 0ก, เล่ม 50, วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476, หน้า 779</ref> ทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายของแผ่นดิน ทั้งยังพยายามผลักดันให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่ศาลปกครองอีกด้วย แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากวัฒนธรรมในทางอำนาจนิยมของรัฐไทยยังมีอยู่หนาแน่น ความพยายามในการตั้งศาลปกครองของปรีดีจึงประสบอุปสรรคมาโดยตลอด<ref>เดือน บุนนาค [http://www.openbase.in.th/files/pridibook024.pdf ข้าพเจ้ารู้จักกับเขาปรีดี พนมยงค์], ปรีดีปริทัศน์, 2542, หน้า 23</ref>
 
ใน พ.ศ. 2476 ได้เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า "[[สมุดปกเหลือง]]" ต่อรัฐบาลเพื่อใช้เป็นนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ<ref name="ปรีดีกับเศรษฐกิจ">วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, [http://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-and-thai-economy รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ กับเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย], ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข, เรียกข้อมูลวันที่ 10 พ.ย. 2552</ref><ref name="เค้าโครงการเศรษฐกิจ">สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย), เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ศิษย์อาจารย์ฉบับที่ 3, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2541</ref> ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร โดยดำเนินเศรษฐกิจแบบสหกรณ์ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน ซึ่งเขาได้ชี้แจงไว้ว่า
 
{{คำพูด|การคิดที่จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรนี้ ข้าพเจ้าได้เพ่งเล็งถึงสภาพอันแท้จริง ตลอดจนนิสสัยใจคอของราษฎรส่วนมากว่า การที่จะส่งเสริมให้ราษฎรได้มีความสุขสมบูรณ์นั้น ก็มีอยู่ทางเดียว ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง โดยแบ่งการเศรษฐกิจนั้นออกเป็นสหกรณ์ต่าง ๆ ความคิดที่ข้าพเจ้าได้มีอยู่เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นด้วยข้าพเจ้าได้มีอุปาทานผูกมั่นอยู่ในลัทธิใด ๆ ข้าพเจ้าได้หยิบเอาส่วนที่ดีของลัทธิต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมแก่ประเทศสยามแล้ว จึงได้ปรับปรุงยกขึ้นเป็นเค้าโครงการ"<ref>สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย), เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ศิษย์อาจารย์ฉบับที่ 3, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2541, หน้า 11</ref> }}
 
ปรีดียังได้วางหลักการประกันสังคม คือ ให้การประกันแก่ราษฎรทั้งหลายตั้งแต่เกิดจนตาย ที่จะได้รับความอุปการะจากรัฐบาล หากไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 แห่งเค้าโครงการเศรษฐกิจ ในชื่อร่าง "พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"<ref>สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย), เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ศิษย์อาจารย์ฉบับที่ 3, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2541, หน้า 16-17</ref> แต่แนวความคิดดังกล่าวถูกมองว่าเป็น[[คอมมิวนิสต์]] และถูกคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่มอนุรักษนิยม<ref name="ประวัติศาสตร์การเมืองไทย"/><ref name="เค้าโครงการเศรษฐกิจ"/><ref>เฉลิมเกียรติ ผิวนวล, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook161.pdf ความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2529, หน้า 146-147</ref>
 
=== การกระจายอำนาจการปกครอง ===