ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 18:
 
== บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ==
 
=== การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ===
[[ไฟล์:24 June Rivet.jpg|thumb|right|[[หมุดคณะราษฎร]] ซึ่งฝังอยู่บน[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] ฝั่ง[[สนามเสือป่า]]]]
 
ในขณะที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อก่อตั้ง "[[คณะราษฎร]]" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ณ หอพักแห่งหนึ่งย่าน "Rue Du Sommerard" กรุงปารีส ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ร.ท.[[ประยูร ภมรมนตรี]], ร.ท.[[แปลก พิบูลสงคราม|แปลก ขิตตะสังคะ]], ร.ต.[[ทัศนัย มิตรภักดี]], ภก.[[ตั้ว ลพานุกรม]], [[หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)]], นาย[[แนบ พหลโยธิน]] โดยมีวัตถุประสงค์คือ เปลี่ยนการปกครองจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็นระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]<ref>กำพล จำปาพันธ์. [http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95070.html ประวัติศาสตร์การเมืองในระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 (ตอนที่ 1)]. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. เรียกข้อมูล 28-01-2553.</ref><!--<ref>เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, [http://www.pub-law.net/article/ac231044.html แนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยในประเทศไทย], Public Law Net, เรียกข้อมูลวันที่ 28 ม.ค. 53</ref> --> และการดำเนินเพื่อให้สยามบรรลุ[[หลัก 6 ประการของคณะราษฎร|หลัก 6 ประการ]] คือ
 
# จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
# จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
# จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทำ จะวาง[[สมุดปกเหลือง|โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ]] ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
# จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
# จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
# จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
 
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ปรีดีร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรที่ประกอบด้วยกลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ยึดอำนาจการปกครองประเทศจาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อ[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|เปลี่ยนแปลงการปกครอง]]ได้สำเร็จโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ หลังจากนั้นคณะราษฎรโดยปรีดี พนมยงค์ ได้จัดให้มีการประชุมระหว่างคณะราษฎร และเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง ขึ้น ณ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] เพื่อชี้แจงจุดประสงค์ หลักการระบอบใหม่ กฎหมายพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยย่อ และขอความร่วมมือในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป<ref name="ประวัติศาสตร์การเมืองไทย"/><ref name="สารคดี">วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, 100 ปีของสามัญชน นาม ปรีดี พนมยงค์, นิตยสารสารคดี, ฉบับที่ 182, เมษายน 2543</ref><ref>[http://www.prachatai.com/journal/2009/06/24781 ชัยพงษ์ สำเนียง เล่าเรื่องอภิวัฒน์ 2475], ประชาไท, 20 มิ.ย. 2552, เรียกข้อมูลวันที่ 10 พ.ย. 2552</ref><ref>[http://www.openbase.in.th/files/pridibook153.pdf สุนทรพจน์ (บางเรื่องของปรีดี พนมยงค์) และ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 (ทัศนะของนายทศ พันธุมเสน)], คลังเอกสารสาธารณะ Openbase.in.th, เรียกข้อมูลวันที่ 13 พ.ย. 2552</ref>
 
=== การวางรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ===