ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เก้าอี้อิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:ศิลปะศาสนาคริสต์ ไปยัง หมวดหมู่:ศิลปะคริสเตียน
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะวรรค
 
บรรทัด 4:
[[ไฟล์:Ludlow_Green_Man_misericord.jpg|thumb|260px|รายละเอียดเก้าอี้อิงที่วัดเซนต์ลอเร็นซ์ ที่เมืองลัดโลว์แสดงให้เห็น “[[พฤกษาพักตร์]]” (Green Man)]]
 
'''เก้าอี้อิง''' ({{lang-en|Misericord}}) หรือ '''เก้าอี้กรุณา''' (Mercy seat) เป็นสิ่งที่กล่าวถึงใน[[คัมภีร์ไบเบิล]] เป็นคันไม้สั้นๆสั้น ๆ ที่ยื่นออกมาจากม้านั่งที่พับได้ที่ตั้งอยู่ในบริเวณสวดมนต์หรือร้องเพลงสวดภายใน[[วัดคริสต์ศาสนา]]เพื่อใช้ยืนอิงเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยระหว่างที่ต้องยืนสวดมนต์นานๆนาน ๆ
 
== ประวัติ ==
ในสมัยกลางนักบวชต้องยืนสวดมนต์วันละหลายครั้งและครั้งละนานๆนาน ๆ และอาจจะนานถึงวันละ 7-8 ชั่วโมง ผู้สูงอายุหรือเจ็บป่วยก็จะใช้ไม้ค้ำได้ ต่อมาก็มีการใช้ “เก้าอี้อิง” (Misericordia ซึ่งแปลตรงๆตรง ๆ ว่า “ความกรุณา”) การสร้างเก้าอี้ก็เป็นแบบที่พับได้ เมื่อพับขึ้นก็จะมีคันเล็กๆเล็ก ๆ ยื่นออกมาเพื่อให้ผู้ยืนสวนมนต์ยืนอิงลงไปบนคันที่ยื่นออกมาเพื่อช่วยผ่อนคลายความเมื่อย และเมื่อยืนอิงก็จะดูไม่น่าเกลียดว่ากึ่งนั่งสวดมนต์ เพราะคันภายใต้จะมีระดับสูงกว่าที่นั่งเล็กน้อย
 
งานแกะไม้ทำเก้าอี้อิงก็เช่นงานศิลปะในยุคกลางอย่างอื่นซึ่งจะประณีต และมักจะเป็นฉากที่อาจจะแสดงฐานะของผู้นั่งเป็นนัย โดยเฉพาะที่นั่งที่ใกล้กับแท่นบูชา
บรรทัด 13:
เก้าอี้อิงในวัดใน[[อังกฤษ]]เริ่มทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่งานหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็เริ่มเป็นงานเลียนแบบของเก่าซึ่งทำให้ไม่มีค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปะเท่าใด แคทตาลอกของจี แอล เร็มเนนต์ปี ค. ศ. 1969 ไม่ได้กล่าวถึงงานหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 และรวมเป็นงานสมัยใหม่ แต่ก็มีข้อยกเว้นบางกรณีของงานจาก[[สมัยวิคตอเรีย]]และแม้แต่งานสมัยใหม่บางชิ้น งานชุด “เก้าอี้อิง” จากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มีให้เห็นก็ได้แก่เก้าอี้อิงที่[[มหาวิหารเอ็กซีเตอร์]] แต่เก้าอี้อิงส่วนใหญ่ในอังกฤษสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 15 และจะไม่เป็นศิลปะศาสนาแต่จะเป็นเรื่องชาวบ้านหรือรูปสิ่งนอกศาสนา ซึ่งแปลกสำหรับสิ่งที่เอาไว้ในวัดโดยเฉพาะไว้ใกล้บริเวณที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในวัด
 
เก้าอี้อิงเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสำนักสงฆ์แต่เมื่อมีการ[[การปฏิรูปศาสนาที่ประเทศอังกฤษ]] เก้าอี้เหล่านี้ก็ถูกทำลายบ้างหรือแจกไปตามวัดประจำตำบลหรือหมู่บ้านบ้าง ที่ยังเหลืออยู่ก็มาถูกทำลายเอาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกลุ่มชนที่สนับสนุน[[ลัทธิการทำลายศาสนศิลป์]] และโดยนักปฏิรูปสมัยวิคตอเรีย เก้าอี้อิงชุดหนึ่งที่เชสเตอร์ถูกทำลายโดยดีน ฮอว์ซันผู้อ้างว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะเอาไว้ในวัด แต่ของเดิมจากยุคกลางก็ยังเหลืออยู่อีก 43 ตัว “เก้าอี้อิง” จาก[[มหาวิหารลิงคอล์น]]ถูกย้ายไปวังเวสท์มินส์เตอร์ (Westminster Hall) กล่าวกันว่าผู้ที่แกะเก้าอี้อิงมักจะเป็นช่างหัดใหม่ ตัวครูจะแกะสิ่งที่เด่นๆเด่น ๆ กว่า
 
แม้ว่า เก้าอี้อิง จะถูกทำลายไปมากแต่ก็ยังมีบางแห่งที่ยังมีเก้าอี้ฝืมือดีที่ยังเหลือให้เราชมอยู่เช่นที่วัดเซนต์โบทอฟ ที่เมืองบอสตันแขวงลิงคอล์นเชอร์ ที่อังกฤษที่เรียกกันว่า “ตอ” (The Stump)