ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pattara2001 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Codeshare_flight_information_at_FUK.jpg|thumb|300px|ตารางการบินที่แสดงเที่ยวบินร่วมที่[[ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ]]]]
 
'''ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน''' ({{lang-en|codeshare agreement หรือ codeshare}}) หรือ ''เที่ยวบินร่วม'' เป็นข้อตกลงทางธุรกิจการบินระหว่าง 2 สายการบินหรือมากกว่า''ทำการบินร่วมกันในเที่ยวบินเดียวกัน'' (การบินร่วมในที่นี้หมายถึงแต่ละสายการบินทำการจำหน่ายตั๋วเครื่องบินสายการบินของตนเอง แต่ทำการรวมเที่ยวบินของแต่ละสายมาใช้เครื่องบินลำเดียวกันและตารางเวลาเที่ยวบินเดียวกัน) ซึ่งผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินของสายการบินและเที่ยวบินที่ต้องการ แต่อาจทำการบินด้วยสายการบินเดียวที่ร่วมข้อตกลงนั้นไว้ โดยทั่วไปจะเรียกว่า '''สายการบินที่ปฏิบัติการ''' หรือ "สายการบินที่บริการจัดการ<ref>ตามคำนิยามของ IATA Standard Schedules Information Manual</ref>" (ตามคำนิยามใน IATA Standard Schedules Information Manual)
 
สำหรับรหัสของเที่ยวบินของเที่ยวบินร่วมนั้น จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรสองตัวที่แทนรหัสของสายการบินตาม [[สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ|IATA]] แล้วตามด้วยเลขที่เที่ยวบิน เช่น XX123 (เที่ยวบินที่ 123 ทำการบินด้วยสายการบิน XX) ซึ่งอาจจะทำการขายตั๋วเครื่องบินของสายการบินอื่นโดยใช้เที่ยวบินอื่นเช่น สายการบิน YY เที่ยวบินที่ YY4456 และ สายการบิน ZZ เที่ยวบินที่ ZZ9876. โดยสายการบิน YY และ ZZ ในที่นี้จะถูกเรียกว่า "สายการบินที่ทำการตลาด" ซึ่งสายการบินหลักๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลก ต่างมีข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันแทบทุกสายการบิน และเที่ยวบินร่วมถือเป็นหน้าที่หลักของ[[พันธมิตรสายการบิน|พันธมิตรการบิน]] โดยพันธมิตรการบินเดียวกันมักจะทำเที่ยวบินร่วมกันก่อนเสมอ
 
==ประวัติ==
ในปี [[พ.ศ. 2510]] ริชาร์ด เอ. เฮนสัน ร่วมกับ [[ยูเอสแอร์เวย์]] ทำข้อตกลงกับ [[อาเลเกยนี่แอร์ไลน์]] ทำเที่ยวบินร่วมเป็นเที่ยวแรก<ref>{{cite web | url=http://atwonline.com/aircraftenginescomponents/article/piedmonts-roots-run-deep-0309 | title=Piedmont's Roots Run Deep}}</ref> โดยคำว่า "เที่ยวบินร่วม" ถูกเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยสายการบิน [[ควอนตัส]] กับ [[อเมริกันแอร์ไลน์]]<ref>''Financial Review,'' 21 พฤศจิกายน, 1989</ref> และในปี พ.ศ. 2533 ทั้งสองสายการบินได้เริ่มใช้เที่ยวบินร่วมระหว่างกัน ในเที่ยวบินภายในประเทศระหว่างเมือง ในประเทศออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันจึงเป็นที่แพร่หลายนำจากนั้นมา ซึ่งต่อได้ทำให้เกิดการร่วมตัวของสายการบินขนาดใหญ่รวมกันเป็น "[[พันธมิตรสายการบิน]]" และในพันธมิตรสายการบินก็ต่างใช้เที่ยวบินร่วมเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และจัดตั้ง[[รายการสะสมแต้มการบิน]]ร่วมกันด้วย.
 
== การนิยามคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ==
ภายใต้ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน สายการบินที่ดูแลการบิน (สายการบินที่ถือสิทธิ์ในการปฏิบัติงานภายในสนามบิน การวางแผน การควบคุมเที่ยวบิน และ[[การจัดการภาคพื้นดิน]]) จะเรียกว่า "สายการบินที่ปฏิบัติการ" หรือเรียกว่า OPE CXR ถึงแม้ว่า IATA SSIM จะให้คำนิยามของ Administrating carrier ซึ่งเป็นคำนิยามที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เนื่องจากอาจมีผู้ให้บริการรายที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นในกรณีที่สายการบินเดิมที่จำปฏิบัติการบินจำเป็นต้องจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการบินในนามของสายการบินเดิม (มักเป็นการเช่าอากาศยานแบบ Wet Lease คือ การเช่าอากาศยานไปพร้อมลูกเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกบนเที่ยวบิน เนื่องจากการจำกัดทางความจุ หรือปัญหาทางเทคนิค เป็นต้น) ในกรณีนี้สายการบินที่บรรทุกผู้โดยสารจะกำหนดให้เป็น สายการบินที่ปฏิบัติการ เนื่อจากทำหน้าที่บรรทุกผู้โดยสารหรือสินค้า
 
เมื่อมีการขายที่นั่งบนเครื่องบินโดยใช้ชื่อผู้ให้บริการและหมายเลขเที่ยวบินตามที่อธิบายข้างต้น สายการบินที่ปฏิบัติการ จะเรียกว่า "สายการบินหลัก"
 
== เหตุผลและประโยชน์ ==
ภายใต้ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน สายการบินที่เข้าร่วมสามารถแสดงหมายเลขเที่ยวบินทั่วไปได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
 
=== ต่อผู้โดยสาร ===
 
* การต่อเที่ยวบิน: ช่วยในการกำหนดเส้นทางที่ชัดเจนให้แก่ผู้โดยสาร โดยช่วยให้ผู้โดยสารสามารถจองเที่ยวบิน จาก จุด A ไปจุด C ผ่าน B ได้โดยใช้รหัสสายการบินเดียวกัน แทนที่จะต้องจองจากจุด A ไปจุด B ด้วยรหัสสายการบินหนึ่ง และจากจุด B ไปจุด C ด้วยรหัสสายการบินอีกรหัสหนึ่ง ซึ่งสายการบินที่มีข้อตกลงการบินร่วมกันพยายามที่จะปรับตารางบินให้ตรงกันด้วย
 
=== ต่อสายการบิน ===
 
* เที่ยวบินจากสายการบินที่บินในเส้นทางเดียวกัน: ช่วยเพิ่มความถี่ในการให้บริการในเส้นทางที่บินด้วยสารการบินเดียว
* ช่วยให้รับรู้ถึงความต้องการในตลาด: วิธีนี้ช่วยให้สายการบินที่ไม่ได้บินด้วยเครื่องบินของตนในเส้นทาง ได้รับข้อมูลทางการตลาดผ่านการแสดงหมายเลขเที่ยวบินของสายการบิน
* เมื่อสายการบินนำที่นั่งของตนให้กับสายการบินอื่นในฐานะสายการบินคู่พันธมิตร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะลดลง<ref>Sharkey, Joe (5 ธันวาคม, 2011). [https://www.nytimes.com/2011/12/06/business/global/forget-the-airlines-name-its-all-about-alliances.html?_r=2&ref=business "Forget the Airline's Name; It's All About Alliances"]. ''The New York Times''. เข้าถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2019.</ref>
 
==อ้างอิง==