ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 14 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52:
เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|การรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514]] ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น
 
การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "'''บันทึกลับจากทุ่งใหญ่'''" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "'''13 ขบถรัฐธรรมนูญ'''"<ref>[http://www.thairath.co.th/content/456482 14 ต.ค. ครบรอบ 41 ปี 'วันมหาวิปโยค' เรียกร้องประชาธิปไตยไทย], ไทยรัฐ .วันที่ 14 ต.ค. 2557</ref> ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] สู่การเดินประท้วงใน[[ถนนราชดำเนิน]] โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ได้มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง พ.อ.[[ณรงค์ กิตติขจร]] และจอมพล[[ประภาส จารุเสถียร]] กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "'''[[3 ทรราช]]'''"<ref>[http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=4887&Mbrowse=9 ถูกต้อง : 14 ตุลา วันประชาธิปไตย], ผู้จัดการ .วันที่ 26 ส.ค. 2546</ref>
 
เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็น[[การก่อการกำเริบโดยประชาชน|การลุกฮือของประชาชน]]ครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ [[เกาหลีใต้]]ใน[[เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู]] เป็นต้น<ref name="14 ตุลา">หนังสือ มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9 </ref>