ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่อง 7HD"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ghjkl (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เคาะวรรค
บรรทัด 38:
'''[[บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด]]''' จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุน 10,000,000 บาท เมื่อวันที่ [[25 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2510]] เพื่อประกอบธุรกิจโฆษณา ขณะที่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) มีทุนจดทะเบียนที่ 61,000,000 บาท<ref>[http://www.isranews.org/investigative/invest-slide/item/24131-red.html ดูชัดๆ สถานะธุรกิจ "คุณแดง-สุรางค์" ก้างขว้างคอ "ช่อง 7" ประมูลคลื่นดิจิตอล?], สำนักข่าวอิศรา, 1 ตุลาคม 2556.</ref> โดยมีรายชื่อผู้ก่อตั้งประกอบด้วย คุณหญิง[[ไสว จารุเสถียร]] (คำนำหน้าชื่อขณะนั้น; ภริยา[[ประภาส จารุเสถียร|จอมพล ประภาส จารุเสถียร]]), [[เรวดี เทียนประภาส]] (น้องสาวคุณหญิงไสว), ร้อยเอกชูศักดิ์ บุณยกะลิน, เฑียร์ กรรณสูต (น้องชายสุชาติ กรรณสูต สามีของเรวดี ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ [[พ.ศ. 2501]]), [[ชาติเชื้อ กรรณสูต]] (บุตรชายคนโต), [[ชายชาญ เทียนประภาส|ร้อยโทชายชาญ กรรณสูต]] (ยศขณะนั้น; บุตรชายคนที่สอง เปลี่ยนมาใช้นามสกุลฝ่ายแม่ เมื่อ [[พ.ศ. 2517]]) และ[[สุรางค์ เปรมปรีดิ์]] (บุตรสาวคนเล็ก) ซึ่งคณะผู้ก่อตั้งมอบหมายให้[[สหสมภพ ศรีสมวงศ์|สมภพ ศรีสมวงศ์]] (ปัจจุบันชื่อสหสมภพ) เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนบริคณห์สนธิ กับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) จากนั้นมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ [[22 กันยายน]] ซึ่งมีมติแต่งตั้งให้คุณหญิงไสว เป็นประธานกรรมการบริษัท ส่วนเฑียร์, ชาติเชื้อกับร้อยโทชายชาญ เป็นกรรมการบริษัท ทั้งสี่ถือหุ้นจำนวน 100 หุ้นเท่ากัน, ชวน รัตนรักษ์ ผู้บริหาร[[ธนาคารกรุงศรีอยุธยา]] เป็นรองประธานกรรมการ ถือ 50 หุ้น, เรวดีเป็นกรรมการผู้จัดการ ถือ 230 หุ้น และร้อยเอกชูศักดิ์ เป็นกรรมการบริษัท ถือ 20 หุ้น<ref name="profile2">[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4767 "ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อใคร?"] จากนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539</ref>
 
ในระยะเดียวกัน จอมพลประภาส ซึ่งดำรงตำแหน่ง[[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] มีนโยบายให้ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ บจก.[[บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด|กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ]] ดำเนินการติดต่อให้นำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัท[[ฟิลิปส์]]แห่ง[[ฮอลแลนด์]] ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวด[[นางสาวไทย]] ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่[[พระราชวังสราญรมย์]] ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ [[25 พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9<ref name="tv_research_1969"/> ในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ [[27 พฤศจิกายน]] หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ [[1 ธันวาคม]] มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ โดยในปีถัดมา ([[พ.ศ. 2511]]) ผู้ถือหุ้นมีมติให้เฑียร์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริษัท, หัวหน้าฝ่ายรายการ และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค โดยแต่งตั้งให้สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เข้าเป็นกรรมการแทน พร้อมถือ 80 หุ้น<ref name="profile2"/> และในปีเดียวกัน คณะกรรมการฯ ทำสัญญาร่วมกับทาง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง ''สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7'' ภายในบริเวณที่ทำการ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5]] (ททบ.) สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ.5 แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก ใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำ[[รถประจำทาง]]เก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ [[ททบ.5]] สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆต่าง ๆ ไปพลางก่อน
 
เมื่อวันที่ [[5 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2512]] [[บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด]] จัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 10 กิโลวัตต์ พร้อม[[เสาอากาศ]]สูง 570 ฟุต และเครื่องส่ง[[วิทยุกระจายเสียง]] ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ เพื่อส่งมอบให้แก่ ททบ. และในวันที่ [[30 มกราคม]] ปีถัดมา ([[พ.ศ. 2513]]) เรวดีและร้อยเอกชูศักดิ์ เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งให้ชาติเชื้อ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยเมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ย้ายเข้าใช้อาคารที่ทำการถาวร ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 บริเวณหลัง[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)]] แห่งเดิม (ปัจจุบันเป็น อาคารศูนย์ซ่อม[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] และลานจอดรถ สำหรับผู้ใช้บริการ[[รถไฟฟ้ามหานคร]] บริเวณ[[สถานีสวนจตุจักร]])<ref name="profile1">[http://www.ch7.com/aboutus/default.aspx?CategoryId=44 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7] จากเว็บไซต์ช่อง 7 สี</ref> และเมื่อ[[วันเสาร์]]ที่ [[6 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2514]] เวลา 15:30 นาฬิกา [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จพระราชดำเนินไปยัง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เพื่อทอดพระเนตรการแข่งขัน [[มวยไทย]]และ[[มวยสากล]] โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุนนักมวยไทย ใน[[มูลนิธิอานันทมหิดล]] พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยรางวัล แก่นักกีฬามวยไทยและมวยสากลยอดเยี่ยม<ref>[http://www.ohm.go.th/documents/BR2515004/pdf/T0003_0002.pdf พระราชกรณียกิจ ประจำวันที่ 5, 6 และ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514], [[สำนักราชเลขาธิการ]], [[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2515|2515]].</ref> จากนั้นในวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2516]] ชาติเชื้อขอลาออก ผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้ร้อยเอกชายชาญ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แล้วแต่งตั้งให้[[ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์]] สามีของสุรางค์ ที่มีอยู่ 20 หุ้น เป็นกรรมการบริษัท และในเดือน[[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2517]] ท่านผู้หญิงไสวลาออกจากกรรมการบริษัท ชวนจึงขยับขึ้นเป็นประธานกรรมการแทน และให้ร้อยเอกหญิงสุมิตรา จารุเสถียร บุตรสาวท่านผู้หญิงไสว ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการที่ว่าง<ref name="profile2"/>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ช่อง_7HD"