ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ด้านการศึกษา: เคาะวรรค
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 416:
{{บทความหลัก|การเยือนต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
[[ไฟล์:King Bhumibol foreign trips.png|200px|left|thumb|ประเทศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเยือน]]
ในระหว่างปี [[พ.ศ. 2502]] ถึง [[พ.ศ. 2510]] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม 27 ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆต่าง ๆ โดยทรงเสด็จเยือน[[ประเทศเวียดนามใต้]] อย่างเป็นทางการเป็นประเทศแรก อีกหนึ่งประเทศสำคัญที่พระองค์ได้เสด็จเยือนในช่วงเวลาดังกล่าวคือประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในการเสด็จประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งนั้น ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ขบวนพาเหรดของพระองค์ในนิวยอร์กมีผู้เฝ้าชมพระบารมีกว่า 750,000 คน นอกจากนี้ พระองค์ยังได้มีพระราชดำรัสต่อสภาคองเกรสแสดงจุดยืนว่าอเมริกาเป็นมหามิตรของไทย <ref>{{The Eagle and The Elephant : american relations, Patricia Norland |Page 99}}</ref> ซึ่งหลังจากการเสด็จเยือน[[ประเทศแคนาดา]] เมื่อปี พ.ศ. 2510 พระองค์ก็มิได้ทรงเสด็จเยือนประเทศไหนอีกเลย กระทั่งเมื่อปี [[พ.ศ. 2537]] ทรงเสด็จเยือน[[ประเทศลาว]] ซึ่งนับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งสุดท้ายของพระองค์<ref>{{cite web |url=http://www.thairath.co.th/content/753397 |title=ย้อนรอยพระยุคลบาท พ่อหลวงเสด็จประพาสต่างแดน|publisher=ไทยรัฐ|accessdate=2017-06-02}}</ref>
 
ในภายหลังพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทยและถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระ รวมทั้งพระองค์จะมีพระราชสานส์ถึงผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั้งการแสดงความยินดีและแสดงความเสียพระราชหฤทัย<ref>[http://www.chaoprayanews.com/2009/02/06/ในหลวง-การต่างประเทศ/ พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ], สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560</ref>