ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉลิมชัย จารุวัสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ITha Chai. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 24:
| footnotes =
}}
'''พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์''' เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด อดีตผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคนแรก อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีต[[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]] ในรัฐบาลของพลเอก [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]] ระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีในการกำกับดูแลหน่วยงานต่อไปนี้ของรัฐ คือได้แก่ [[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]] [[กรมประชาสัมพันธ์]] [[อสมท|องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]] และ[[การกีฬาแห่งประเทศไทย]]
 
== ประวัติ ==
พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นบุตรของพันเอกหลวงชัยรณฤทธิ์ (ชิต จารุวัสตร์) และ นางวาส จารุวัสตร์ (เอมซบุตร) จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จาก[[โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์]] กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] รุ่นที่ 2 [[โรงเรียนเสนาธิการทหารบก]]ไทย รุ่นที่ 27 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2492 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4
 
พลเอก เฉลิมชัย ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา [[มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]] เมื่อปี พ.ศ. 2537
 
พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ สมรสกับทันตแพทย์หญิง ลัดดา จารุวัสตร์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ<ref>[https://www.thairath.co.th/person/4363 ประวัติชฎาทิพ จูตระกูล ข้อมูลล่าสุดของชฎาทิพ จูตระกูล]</ref>
บรรทัด 35:
* ชาลี จารุวัสตร์ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกิจการองค์กรสัมพันธ์ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด สมรสกับ ศิริรัตน์ ภูมมะกาญจนะ
* ชฎาทิพ จารุวัสตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด สมรสกับอภิชาติ จูตระกูล รองประธานกรรมการ และประธานอำนวยการ บมจ.[[แสนสิริ]]
 
 
== การทำงาน ==
=== ราชการทหาร ===
พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เข้ารับราชการใน[[กองทัพบกไทย]] ในปี พ.ศ. 2483 ยศว่าที่ร้อยตรีเหล่าทหารปืนใหญ่ จนได้รับพระราชทานยศพลโท ในปี พ.ศ. 2505 และลาออกจากราชการทหารในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 ในระหว่างรับราชการทหารเขาเคยเป็นนายทหารคนสนิทของจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] รวมทั้งเป็นผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2499 และเคยเป็นอาจารย์[[โรงเรียนเสนาธิการทหารบก]] นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษใน พ.ศ. 2504
 
=== งานธุรกิจกับบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ===
 
พลเอก เฉลิมชัย เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท [[สยามพิวรรธน์]] จำกัด บริษัทธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส"<ref>[http://www.siampiwat.com/th/group/milestones เหตุการณ์สำคัญ]</ref> โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 จนถึง พ.ศ. 2547 เป็นผู้วางแผนการพัฒนาและดำเนินการจัดตั้งโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนเตลอันเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ขนาด 400 ห้อง ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น ด้วยวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นว่า การมีโรงแรมระดับนานาชาติเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก จะเป็นปัจจัยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้มีการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมการโรงแรม และสร้างงานให้คนไทย จนนำไปสู่ผลดีทางเศรษฐกิจ ต่อมาจึงได้สร้างศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ที่เปิดกิจการในปี พ.ศ 2516 โดยเป็นศูนย์การค้าระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นศูนย์การค้านำสมัยล้ำยุคที่สุดในขณะนั้น เพรียบพร้อมด้วยสาธารณูปโภคชั้นดี ระบบปรับอากาศและบันไดเลื่อน ต่อมีสยามดิฟคัฟเวอรี่ที่ได้เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2540 มีความพิเศษคือ ร้าน Loft ซึ่งเป็นร้านค้าขนาดใหญ่ที่คุณภาพดี แปลก ใหม่ ไม่เคยมีในศูนย์การค้าแห่งใดมาก่อนในเมืองไทย นอกจากนี้ภายในสยามดิฟคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ยังมีการปรับเปลี่ยนสินค้าให้นำสมัยอยู่เสมอ ต่อมาพลเอก เฉลิมชัยได้เป็นผู้ก่อตั้งและดำเนินการสร้างสยามพารากอนที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2548 เมื่อรวมเข้ากับศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์และสยามดิฟคัฟเวอรี่ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน จึงส่งผลให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นจุดศูนย์กลางธุรกิจการค้านานาประเภทที่มีมาตรฐานสูงและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมชมและจับจ่ายใช้สอย ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เสริมสร้างเศรษฐกิจของชาติ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนชาวต่างประเทศ อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย
 
=== งานด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ===