ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ชเลสวิจ→ชเลสวิช
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "พระเจ้าวิลเฮ็ล์ม" → "จักรพรรดิวิลเฮ็ล์ม" ด้วยสจห.
บรรทัด 51:
'''อ็อทโท เอดูอาร์ท เลโอพ็อลท์ ฟ็อน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน''' ({{lang-de|Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen}}) หรือที่นิยมเรียกว่า '''อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค''' เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่ง[[ราชอาณาจักรปรัสเซีย]]และ[[จักรวรรดิเยอรมัน]] เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890
 
ในปี 1862 [[จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]] ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นมุขมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ [[สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง]], [[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]] และ[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]] และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบ[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]ทิ้ง และจัดตั้ง[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]]อันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของ[[ยุโรปภาคพื้นทวีป]]ได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของ[[ออสเตรีย]]ไปยังกรุง[[เบอร์ลิน]]ของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารของปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน
 
ความสำเร็จใน[[การรวมชาติเยอรมัน]]ในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้น[[อาลซัส-ลอแรน (Alsace-Lorraine) ]]มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส<ref>Hopel, Thomas (23 August 2012) [http://ieg-ego.eu/en/threads/crossroads/border-regions/thomas-hoepel-the-french-german-borderlands#InsertNoteID_44_marker45 "The French-German Borderlands: Borderlands and Nation-Building in the 19th and 20th Centuries"]</ref> เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็น[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]
 
นโยบาย ''realpolitik'' ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า '''นายกฯเหล็ก''' ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้าง[[จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน]]ขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ
บรรทัด 59:
ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่ม[[รัฐสวัสดิการ]]เป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้<ref>Steinberg, 2011, pp.8, 424, 444; Bismarck specifically referred to Socialists, among others, as "Enemies of the Reich".</ref> ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า ''คุลทูร์คัมพฟ์'' ({{lang-de|Kulturkampf}}; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่าย[[สังคมนิยม]]
 
บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาใน[[ลูเทอแรน|นิกายลูเทอแรน]]อย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภา[[ไรชส์ทาค (จักรวรรดิเยอรมัน)|ไรชส์ทาค]]มาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชน[[ยุงเคอร์]]เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อ[[จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2]] ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี
==บุคลิก==
บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ''ยุงเคอร์'' มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism)<ref>{{cite book| authorlink=Isabel V. Hull| last=Hull| first=Isabel V.| title=The Entourage of Kaiser Wilhelm II, 1888–1918| url=https://books.google.com/books?id=pesmqV6vskkC&printsec=frontcover#v=onepage&q&f=false| year=2004| page=85| isbn=9780521533218}}</ref> สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง ''จักรวรรดิ[[ไรซ์]]'' ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของเขา
== บรรดาศักดิ์ ==
{| class="wikitable"
|-