ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวกุเวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| ภาษาแม่ = เทวนาครี
| ชื่อในภาษาแม่ = कुबेर
| จำพวก = [[เทพโลกบาล]] และ[[ยักษ์]]
| god_of = เทพผู้เป็นใหญ่เหนือ[[ยักษ์]] รากษส และกินนร เทพแห่งทรัพย์สมบัติ โชคลาภ ความมั่งคั่ง
| เทวพาหนะ = ม้า,มนุษย์,โค,แกะ,หมูป่า,พังพอน,ราชรถเทียมม้า,ราชรถเทียมพังพอน,ราชรถเทียมมนุษย์,บุษบกวิมาน
| abode = เมืองอลกา บนยอดเขาคันธมาทน์ ในกุเวรโลก
| อาวุธ = กระบองมหากาล,คทา,ดาบ,หอก,ดอกบัว,ขวาน,ธนู,ศร,หีบแก้วมณี ฯลฯ
| religion = [[ศาสนาฮินดู]] [[ศาสนาพุทธ]] และ[[ศาสนาเชน]]
|บิดา=พระวิศราวิศรวะมุนี|มารดา=พระนางอิลาวิฑา|consort=[[พระนางภัทรา]]|child=พระนลกุวร,พระมณีภัทร,พระนางมีนากษี,คันธมาทน์ (วานรในรามายณะ)}}
 
[[ไฟล์:Royal Crematorium Exhibition of King Rama 9 of Thailand Photographed by Trisorn Triboon (12).jpg|thumb|ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9]]
'''ท้าวกุเวร'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'', กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 316</ref> ({{lang-sa|कुबेर}} ''กุเพร'', {{lang-pi|कुवेर}} ''กุเวร'', {{lang-ta|குபேரன்}} ''กุเปรัน'') เป็นหนึ่งในสี่[[จาตุมหาราช]] ผู้ปกครองเหล่า[[ยักษ์]] รากษส คุหยัก กินนร [[กินรี]] เป็นชื่อของเทพแห่งความมั่งคั่ง ตามคติใน[[ศาสนาพุทธ]]และ[[ศาสนาฮินดู]] นับถือกันว่าพระองค์เป็นเทพประจำทิศอุดร [[ทิศเหนือ]] และเป็นเทพผู้คุ้มครองโลก ([[โลกบาล]]) ท้าวกุเวรเทียบเท่าได้กับ [[ท้าวเวสวัณ]]ใน ศาสนาพุทธ เป็นท้าว[[จตุโลกบาล]]
 
พระกุเวรเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับ[[พลูตอส]]ตามเทพปกรณัมกรีก
 
== ในศาสนาฮินดู ==
บางตำราเรียกท้าวกุเวรว่า "[[ท้าวเวสสุวรรณ]]" ({{lang-sa|वैश्रवण}} ''ไวศฺรวณ'', {{lang-pi| वेस्सवण}} ''เวสฺสวณ'') ตามนามโคตรของท้าวกุเวรในศาสนาฮินดู ส่วนในศาสนาเชนจะเรียกเทพองค์นี้ว่า ศารวนุภูติ (Sarvanubhuti)
=== ฤคเวท ===
ท้าวกุเวร ในฤคเวท เป็นยักษ์แคระ ถือเป็นเทพแห่งโจรและการลักทรัพย์ อาศัยอยู่ตามป่าเขา ถ้ำลึก คอยเฝ้าอัญมณีและทรัพย์สมบัติ พวกโจรนิยมบูชาท้าวกุเวร เพื่อให้ช่วยเหลือในการปล้น คอยปกป้องคุ้มภัยจากภูตผีปีศาจ และคอยเฝ้าทรัพย์สมบัติ
 
=== คัมภีร์ปุราณะ ===
ท้าวกุเวร ในคัมภีร์ปุราณะ เป็นบุตรของพระวิศรวะมุนี กับนางอิลาวิฑา และเป็นหลานของ[[ฤๅษีปุลัสตยะ]] ในอดีตชาติ ท้าวกุเวร เกิดเป็นพราหมณ์ ชื่อ ยาคทัตต์ มีนิสัยชอบลักขโมย วันหนึ่งถูกเหล่าทหารไล่ตามจับ จึงได้เข้าไปหลบในเทวาลัยร้างของ[[พระศิวะ]] และได้จุดไฟขึ้นบูชาพระศิวะ ทำให้พระศิวะทรงพอพระทัย หลังจากนั้นยาคทัตต์ก็ถูกทหารจับได้และต้องโทษประหาร หลังจากที่เขาตาย ยมทูตได้มารับวิญญาณของเขา แต่พระศิวะทรงส่งสาวกไปรับวิญญาณของเขา และส่งเขาไปเกิดใหม่ ยาคทัตต์ได้เกิดเป็นบุตรของท้าวอรินทมะ แห่งแคว้นกลิงคะ ชื่อว่า ทัมพกุมาร และได้ทำพิธีบูชาพระศิวะด้วยการจุดประทีปอยู่ทุกเวลา เมื่อเขาตายแล้วจึงได้มากำเนิดใหม่เป็นบุตรของพระวิศรวะมุนี มีนามว่า พระไวศรวัณ ได้บำเพ็ญตบะจน[[พระศิวะ]]พอพระทัย และทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพแห่งทรัพย์ และเป็น[[เทพโลกบาล]]ประจำทิศเหนือ และได้ปกครองกรุงลงกา ต่อมา[[ราวณะ]]ได้มาทำสงครามและแย่งเมืองลงกาและบุษบกวิมานไป พระศิวะจึงทรงมอบเมืองใหม่ให้ ชื่อว่า อลกา อยู่บนยอดเขาคันธมาทน์
 
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ท้าวกุเวร มีความอหังการว่า ตัวเองเป็นเทพที่มีทรัพย์สมบัติมาก และต้องการอวดความร่ำรวย จึงได้ทูลเชิญเหล่าเทพและ[[พระพิฆเนศ]] มาร่วมงานฉลองที่พระราชวังของตน แต่ไม่ว่าท้าวกุเวรจะนำอาหารมาถวายพระพิฆเนศมากเท่าไร ก็ไม่อาจทำให้พระองค์อิ่มได้ พระพิฆเนศจึงกลืนกินทรัพย์สมบัติและพระราชวังของท้าวกุเวรจนหมดสิ้น พระกุเวรจึงต้องไปขอความช่วยเหลือจาก[[พระปารวตี]] พระนางทรงมอบข้าวให้ท้าวกุเวรถ้วยหนึ่งและทำให้พระพิฆเนศทรงอิ่ม และยอมคายทรัพย์สมบัติ และพระราชวังคืนให้แก่ท้าวกุเวร
 
บางตำราเรียกท้าวกุเวรว่า "[[ท้าวเวสสุวรรณ]]" ({{lang-sa|वैश्रवण}} ''ไวศฺรวณ'', {{lang-pi| वेस्सवण}} ''เวสฺสวณ'') ตามนามโคตรของท้าวกุเวรในศาสนาฮินดู ส่วนในศาสนาเชนจะเรียกเทพองค์นี้ว่า ศารวนุภูติ (Sarvanubhuti)
 
== ในศาสนาพุทธ ==
{{บทความหลัก|ท้าวเวสวัณ}}
ท้าวกุเวร ในศาสนาพุทธ รู้จักกันมากในนามว่า ท้าวเวสสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าว[[จตุโลกบาล]] อดีตชาติ ในยุคสมัยของ[[พระกัสสปพุทธเจ้า]] ท้าวกุเวรเกิดเป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวรพราหมณ์ เขามีไร่อ้อยจำนวนมาก และมีหีบหนีบน้ำอ้อยถึง ๗ หีบ ทำให้เขามีรายได้มาก จนเขาร่ำรวยขึ้น เขาได้สร้างศาลาที่พักในเมืองถึง ๑๐ แห่ง และแจกน้ำอ้อยแก่ผู้ที่มาพัก และได้ทำทานตลอดชีวิต เป็นเวลา ๒๐,๐๐๐ ปี ตามอายุขัยของคนยุคนั้น และได้ไปเกิดเป็นท้าวกุเวร มีผิวกายดั่งสีน้ำอ้อย ปกครองพวกยักษ์ อยู่ในสวรรค์ชั้น[[จาตุมหาราชิกา]] ทางด้านทิศเหนือ นอกจากนี้ท้าวกุเวรยังมีกระบอง ชื่อว่า มหากาล ที่สามารถทำลายล้างโลกธาตุได้อีกด้วย ในทางพุทธศาสนา ฝ่ายวัชรยาน ท้าวกุเวร มีนามว่า พระชัมภละ ถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ส่วนในศาสนาเชนจะเรียกเทพองค์นี้ว่า ศารวนุภูติ (Sarvanubhuti) มี ๔ พักตร์ ๘ กร กายสีรุ้ง ทรงช้างเป็นพาหนะ
 
[[ไฟล์:Jambhala.jpg|thumb|พระชัมภละ ในพุทธศาสนา นิกายวัชรยาน]]
 
== ลักษณะของท้าวกุเวร ==
ท้าวกุเวร ในคติไทย เป็นยักษ์มีกายสีทอง หรือ สีเขียว มีกายใหญ่กำยำ นัยน์ตาเป็นประกายลุกดังเพลิง มี ๒ กร ๓ ขา ทรงกระบองเป็นอาวุธ ปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎน้ำเต้า สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและอัญมณี ทรงม้าเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพบุรุษกายสีทอง บ้างก็ว่าสีแดง รูปร่างอ้วน ท้องใหญ่ ตัวเล็ก นัยน์ตาสีทอง มี ๒ กร กรหนึ่งทรงคทา กรหนึ่งอุ้มพังพอน สวมมงกุฎทองคำ มีรัศมีสีทอง สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและอัญมณี ประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงม้าเป็นพาหนะ บ้างก็ทรงมนุษย์ ท้าวกุเวร ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระไวศรวัณ,พระยักษราช,พระมยุราช,พระธนบดี,พระธเนศวร,พระธนัท,พระอิจฉาวสุ,พระรากษเสนทร์,พระรากษสาธิปติ,พระนรราช,พระนรวาหนะ,พระอีศะสขี
 
== ดูเพิ่ม ==