ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{แก้ภาษา}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''สัต''' หรือ '''ความเป็น''' ({{lang-en|being}},; {{lang-el|ὤν}}; {{lang-la|Esse}}) ในทางปรัชญาหมายถึง สิ่งที่ดำรงอยู่จริง หรือเป็นอยู่จริง รวมไปถึงสภาวะความดำรงอยู่ของสิ่งนั้น. [[ภววิทยา]] (Ontology) เป็นสาขาในวิชาปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับ "สัต" โดยสัตเป็นมโนทัศน์ (concept) หรือแนวคิดที่ครอบคลุมถึงลักษณะทั้งในเชิงภาวะวิสัย และอัตวิสัยของความเป็นจริงและการดำรงอยู่. สิ่งใด ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมใน "สัต" ก็จะถูกเรียกว่าสัตเช่นกัน. ตลอดประวัติศาสตร์ทางความคิดในวิชาปรัชญาตะวันตก ความเข้าใจในเรื่อง "สัต" เป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันตลอดมา นับตั้งแต่จุดกำเนิดของวัฒนธรรมทางปรัชญาของตะวันตก (กล่าวคือนับตั้งแต่ความพยายามของ [[ปรัชญาในยุคก่อนโสเครตีส]] ที่จะทำความเข้าใจมัน). นักปรัชญาตะวันตกคนแรกที่พยายามจำแนกและนิยามแนวคิดเรื่องสัต คือ[[พาร์เมนิดีส]] (Parmenides) ผู้กล่าวว่า "whatever is is, and what is not cannot be." ("สิ่งใดที่''เป็นขึ้น''ย่อม ''เป็น'' ส่วนสิ่งใดที่มิเป็นขึ้นย่อม ''มิอาจเป็น'' ได้") โดยพาร์เมนิดีสเชื่อว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่แล้ว (ὅπως ἐστίν) ย่อมมีสภาวะเป็นอมตะนิรันดร์ ไร้กาลเวลาและไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้สิ่งใดที่''เป็นขึ้น'' ย่อมเป็นขึ้นมาอย่างสมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เราเห็นนั้นเป็นสิ่งลวง เพราะความ "กลายเป็น" (becoming) ก็เป็นเช่นเดียวกับ "ความไม่เป็น" นั่นเอง
 
[[มาร์ติน ไฮเดกเกอร์]] นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้นำแนวคิดทางภววิทยาเรื่อง "สัต" กลับมาศึกษาใหม่โดยละเอียด และใช้คำเยอรมันว่า Dasein เพื่อพัฒนาทฤษฎีของตนเกี่ยวกับสัต จนนำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานเล่มสำคัญเมื่อ ปี ค.ศ. 1927 เรื่อง Sein und Zeit หรือ Being and Time (ภาวะกับกาล). ไฮเดกเกอร์เชื่อว่าความคิดเกี่ยวกับ "สัต" เป็นมโนทัศน์ที่ลึกที่สุดของปรัชญาตะวันตก ที่ไม่ได้รับความเอาใจใส่จากวงการปรัชญา มาตั้งแต่สมัยหลังอริสโตเติ้ล. ไฮเดกเกอร์มีอิทธิพลกว้างขวางมากต่อวงการปรัชญาสมัยใหม่ในภาคพื้นทวีปยุโรป ทำให้มีการหยิบยืมหลักการทางภววิทยาของไฮเดกเกอร์มาใช้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อย่างกว้างขวาม ทั้งด้านจิตวิทยามนุษย์ และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสื่อ และเทคโนโลยี.
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สัต"