ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 132:
 
ส่วนคำว่า "ไรช์ที่สาม" นั้น พวกนาซีรับมา ใช้ครั้งแรกในนวนิยายเมื่อปี 1923 โดยอาร์ทัวร์ เมิลเลอร์ ฟัน เดน บรุค<ref name="TR-N-01">{{cite book|last=|first=|url=http://www.amazon.com/Man-Who-Invented-Third-Reich/dp/0750918667|authorlink=Stan Lauryssens|title=The man who invented the Third Reich: the life and times of Arthur Moeller van den Bruck|year=May 1, 1999|publisher=Npi Media Ltd|location=|isbn=978-0-75-091866-4|pages=}}</ref> ซึ่งนับ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ในสมัยกลาง (962–1806) เป็นไรช์ที่หนึ่ง และ[[จักรวรรดิเยอรมัน]] (ค.ศ. 1871–1918) เป็นไรช์ที่สอง ปัจจุบันชาวเยอรมันเรียกสมัยนี้ว่า ไซท์เดสนาซิโยนนัลโซซีอัลอิสมุส หรือย่อเป็น เอ็นเอส-ไซท์ ("สมัยชาติสังคมนิยม") หรือ นาซิโยนนัลโซซีอัลอิสทิสเชอ เกวัลแทร์ชัฟท์ ("ทรราชชาติสังคมนิยม")
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{ประวัติศาสตร์เยอรมนี}}
{{นาซี}}
 
=== สมัยสาธารณรัฐไวมาร์ ===
{{บทความหลัก|สาธารณรัฐไวมาร์}}
 
เศรษฐกิจเยอรมนีถดถอยอย่างหนักหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติ บางส่วนเนื่องจากการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามที่กำหนดภายใต้[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]]ปี 1919 รัฐบาลพิมพ์เงินเพื่อชำระเงินและจ่ายคืนหนี้สงครามของประเทศ ภาวะเงินเฟ้อเกินที่เกิดตามมานำให้ราคาสินค้าบริโภคแพงขึ้น ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและการจลาจลอาหาร{{sfn|Evans|2003|p=103–108}} เมื่อรัฐบาลไม่สามารถชำระค่าปฏิกรรมในเดือนมกราคม 1923 ทหารฝรั่งเศสยึดครองพื้นที่อุตสาหกรรมของเยอรมนีในเขตรูร์ เกิดความไม่สงบของประชาชนกว้างขวางตามมา{{sfn|Evans|2003|pp=186–187}}
 
[[พรรคนาซี|พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน]] (พรรคนาซี) ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก[[พรรคกรรมกรเยอรมัน]]ซึ่งตั้งขึ้นในปี 1919 เป็นพรรคการเมืองขวาจัดพรรคหนึ่งที่ดำเนินการอยู่ในประเทศเยอรมนีขณะนั้น{{sfn|Evans|2003|pp=170–171}} แนวนโยบายของพรรค ได้แก่ การขจัด[[สาธารณรัฐไวมาร์]] การปฏิเสธเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซาย [[การต่อต้านยิว]]อย่างรุนแรง และการต่อต้าน[[บอลเชวิค]]{{sfn|Goldhagen|1996|p=85}} นาซีสัญญาว่าจะตั้งรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง เพิ่ม[[เลเบินส์เราม์]] (พื้นที่อยู่อาศัย) สำหรับชนเจอร์แมนิก การสร้างชุมชนชาติที่ยึดเชื้อชาติ และการทำเชื้อชาติให้บริสุทธิ์โดยการปราบปรามยิวอย่างแข็งขัน ซึ่งชาวยิวจะถูกถอดความเป็นพลเมืองและสิทธิพลเมือง{{sfn|Goldhagen|1996|pp=202–203}} นาซีเสนอการฟื้นฟูชาติและวัฒนธรรมโดยยึดขบวนการเฟิลคิช{{sfn|Kershaw|2008|p=81}}
 
ตั้งแต่ปี 1925 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 รัฐบาลเยอรมันเปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยเป็นรัฐ[[อำนาจนิยม]] ชาตินิยมและอนุรักษนิยมภายใต้ประธานาธิบดี [[เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค]] วีรบุรุษสงคราม ผู้ไม่นิยมระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างในสาธารณรัฐไวมาร์<ref>Mary Fulbrook. ''The Divided Nation: A History of Germany, 1918-1990''. Oxford UP, 1992, 45</ref> ผลการเลือกตั้งสหพันธรัฐในปี 1928 ปรากฏพรรคนาซีได้รับคะแนนเสียงต่ำมาก เพียง 12 ที่นั่ง เนื่องจากความเชื่อมโยงระหว่างฮิตเลอร์กับ[[กบฏโรงเบียร์]]<ref>{{Citation |first=M. |last=Broszat |title=Hitler and the Collapse of Weimar Germany |location=Oxford |publisher=Berg Publishers |year=1987 |page=9 |isbn=0854965092 }}.</ref> เมื่อตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐ[[เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตก ค.ศ. 1929|ตกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1929]] ผลกระทบในเยอรมนีนั้นร้ายแรงมาก หลายล้านคนตกงาน และธนาคารหลักหลายแห่งล้มละลาย ฮิตเลอร์และพรรคนาซีเตรียมฉวยโอกาสจากภาวะฉุกเฉินนี้เพื่อให้พรรคได้รับการสนับสนุน พวกเขาสัญญาจะเสริมสร้างเศรษฐกิจและจัดหางาน{{sfn|Shirer|1960|pp=136–137}} ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจว่าพรรคนาซีสามารถฟื้นฟูระเบียบ ปราบปรามความไม่สงบ และปรับปรุงชื่อเสียงของเยอรมนีในระดับนานาชาติได้ หลังการเลือกตั้งสหพันธรัฐปี 1932 พรรคนาซีเป็นพรรคใหญ่สุดในไรช์ซทัก โดยครอง 230 ที่นั่ง และได้รับคะแนนเสียงคิดเป็นร้อยละ 37.4{{sfn|Kolb|2005|p=224–225}}
 
=== การยึดอำนาจของนาซี ===
{{บทความหลัก|มัคท์แอร์ไกรฟุง}}
แม้นาซีจะมีสัดส่วนคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุดในการเลือกตั้งทั่วไปไรชส์ทาคสองครั้งในปี 1932 แต่ก็ยังมิได้ครองเสียงข้างมาก ฉะนั้นฮิตเลอร์จึงนำรัฐบาลผสมที่มีอายุสั้นตั้งโดยพรรคนาซีและ[[พรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน]] (DNVP){{sfn|Evans|2003|pp=293, 302}} วันที่ 30 มกราคม 1933 ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์ค ภายใต้แรงกดดันจากนักการเมือง นักอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ แต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ มัคท์แอร์ไกรฟุง ("การยึดอำนาจ") ในอีกหลายเดือนต่อมา พรรคนาซีใช้กระบวนการที่เรียก [[ไกลช์ชัลทุง]] ("การประสานงาน") เพื่อนำทุกแง่มุมของชีวิตมาอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคอย่างรวดเร็ว{{sfn|McNab|2009|p=14}} องค์การพลเรือนทุกองค์การ รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรรม องค์การอาสาสมัครและสโมสรกีฬา มีการเปลี่ยนตัวผู้นำเป็นผู้ฝักใฝ่นาซีหรือสมาชิกพรรค เมื่อถึงเดือนมิถุนายน 1933 องค์การที่ยังไม่อยู่ในการควบคุมของพรรคนาซีเหลือเพียงกองทัพและศาสนจักรเท่านั้น{{sfn|Evans|2005|p=14}}
 
[[ไฟล์:Riksdagsbrannen.jpg|thumb|left|200px|[[เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค|เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค]]]]
คืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1933 [[เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค|อาคารไรชส์ทาคถูกวางเพลิง]] [[มารีนึส ฟัน เดอร์ลึบเบอ]] ชาวดัตช์หัวคอมมิวนิสต์ ถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานวางเพลิง นาซีอ้างว่าเหตุลอบวางเพลิงดังกล่าวเป็นสัญญาณของการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ เกิดการปราบปรามคอมมิวนิสต์รุนแรงโดย[[ชตวร์มอัพไทลุง]] (SA) ทั่วประเทศ และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีสี่พันคนถูกจับ [[กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค|กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค]] กำหนดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1933 เพิกถอนเสรีภาพพลเมืองส่วนใหญ่ของเยอรมนีเพื่อปราบปรามคู่แข่งทางการเมือง รวมทั้งสิทธิในการชุมนุมและเสรีภาพสื่อ กฤษฎีกาดังกล่าวยังให้ตำรวจมีอำนาจกักขังบุคคลโดยไม่มีกำหนดโดยไม่ต้องมีการตั้งข้อหาหรือคำสั่งศาล กฎหมายนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งนำให้สาธารณะสนับสนุนมาตรการดังกล่าว{{sfn|Evans|2003|pp=329–334}}
 
เดือนมีนาคม 1933 [[รัฐบัญญัติมอบอำนาจ]] ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเยอรมัน ผ่านความเห็นชอบของสภาไรชส์ทาคด้วยคะแนนเสียง 444 ต่อ 94{{sfn|Evans|2003|p=354}} การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้อำนาจฮิตเลอร์และคณะรัฐมนตรีผ่านกฎหมายซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ได้ โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของประธานาธิบดีหรือไรชส์ทาค{{sfn|Evans|2003|p=351}} เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวต้องการฝ่ายข้างมากสองในสามจึงจะผ่าน นาซีจึงใช้บทบัญญํติแห่งกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคกันมิให้ผู้แทนพรรคสังคมประชาธิปไตยเข้าร่วมประชุม โดยนักคอมมิวนิสต์ถูกห้ามไปก่อนแล้ว{{sfn|Shirer|1960|p=196}}{{sfn|Evans|2003|p=336}} วันที่ 10 พฤษภาคม รัฐบาลยึดทรัพย์สินของนักสังคมประชาธิปไตย และถูกห้ามในเดือนมิถุนายน{{sfn|Evans|2003|pp=358–359}} พรรคการเมืองที่เหลือถูกยุบ และในวันที่ 14 กรกฎาคม 1933 เยอรมนีกลายมาเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพฤตินัย เพราะมีการห้ามตั้งพรรคการเมืองใหม่{{sfn|Shirer|1960|p=201}} การเลือกตั้งต่อมาในปลายปี 1933, 1936 และ 1938 อยู่ใต้การควบคุมของนาซีโดยสมบูรณ์ และมีเพียงนาซีและนักการเมืองอิสระจำนวนน้อยที่ได้รับเลือกตั้ง รัฐสภารัฐภูมิภาคและไรช์สรัท (สภาสูงสหพันธรัฐ) ถูกยุบในเดือนมกราคม 1934{{sfn|Evans|2005|p=109}}
 
ระบอบนาซีเลิกสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐไวมาร์ รวมทั้งธงไตรรงค์ดำ-แดง-ทอง และใช้สัญลักษณ์นิยมจักรวรรดิที่ปรับปรุงใหม่ ไตรรงค์ดำ-ขาว-แดงสมัยจักรวรรดิเดิมถูกรื้อฟื้นเป็นหนึ่งในสองธงชาติอย่างเป็นทางการของเยอรมนี ธงที่สองนั้นเป็นธงสวัสดิกะของพรรคนาซี ซึ่งกลายเป็นธงชาติเยอรมันอย่างเดียวในปี 1935 เพลงประจำพรรคนาซี "[[ฮอสท์-เว็สเซิล-ลีท|เพลงฮอสท์ เว็สเซิล]]" กลายเป็นเพลงชาติเพลงที่สอง{{sfn|Cuomo|1995|p=231}}
 
ในสมัยนี้ ประเทศเยอรมนียังตกอยู่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย ประชาชนหลายล้านคนว่างงานและการขาดดุลการค้ายังน่ากลัว ฮิตเลอร์ทราบว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจสำคัญ ในปี 1934 มีการใช้โครงการโยธาสาธารณะขาดดุล ชาวเยอรมันรวม 1.7 ล้านคนถูกส่งไปทำงานในโครงการต่าง ๆ ในปี 1934 ปีเดียว{{sfn|McNab|2009|p=54}} ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงและต่อสัปดาห์เริ่มเพิ่มขึ้น{{sfn|McNab|2009|p=56}}
 
ข้อเรียกร้องเพิ่มอำนาจทางการเมืองและทหารของเอสเอก่อให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้นำทางทหาร อุตสาหกรรมและการเมือง ฮิตเลอร์สนองโดยกวาดล้างผู้นำเอสเอทั้งหมดใน[[คืนมีดยาว]] ซึ่งกินเวลาระหว่างวันที่ 30 มิถุนายนถึง 2 กรกฎาคม 1934 ฮิตเลอร์กำหนด[[แอร์นสท์ เริม]]และผู้นำเอสเออื่นเป็นเป้าหมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ตลอดจนศัตรูการเมืองของฮิตเลอร์อีกจำนวนหนึ่ง (เช่น เกรกอร์ ชตรัสเซอร์และอดีตนายกรัฐมนตรี [[ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์]]) ถูกล้อมจับและยิง{{sfn|Evans|2005|pp=31–34}}
 
วันที่ 2 สิงหาคม 1934 ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรม แต่หนึ่งวันก่อน คณะรัฐมนตรีได้ตรา "กฎหมายว่าด้วยตำแหน่งรัฐสูงสุดแห่งไรช์" ซึ่งมีใจความว่า ครั้นฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งประธานาธิบดีจะถูกยุบและรวมอำนาจเข้ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฉะนั้นฮิตเลอร์จึงกลายเป็นประมุขแห่งรัฐเช่นเดียวกับหัวหน้ารัฐบาล เขาได้รับแต่งตั้งเป็น "[[ฟือเรอร์|ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์]]" อย่างเป็นทางการ บัดนี้ ประเทศเยอรมนีเป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยมีฮิตเลอร์เป็นประมุข ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ กฎหมายใหม่เปลี่ยนคำสาบานความภักดีของทหารให้ยืนยันความภักดีต่อฮิตเลอร์ที่เป็นบุคคลมิใช่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารหรือรัฐ วันที่ 19 สิงหาคม ผู้มีสิทธิออกเสียงร้อยละ 90 ลงประชามติอนุมัติการรวมตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี
 
ชาวเยอรมันส่วนใหญ่โล่งใจว่าความขัดแย้งและการต่อสู้ตามถนนในสมัยไวมาร์ได้ยุติลง ทั้งได้รับการโฆษณาชวนเชื่อที่[[โยเซฟ เกิบเบลส์]]เป็นผู้สั่งการ ซึ่งสัญญาสันติภาพและความบริบูรณ์แก่ประชาชนทุกคนในประเทศเอกภาพปลอดมากซิสต์โดยไม่มีข้อผูกมัดแห่งสนธิสัญญาแวร์ซาย มีการเปิด[[ค่ายกักกันนาซี]]หลักแห่งแรกซึ่งเดิมใช้ขังนักโทษการเมืองที่[[ค่ายกักกันดาเคา|ดาเคา]]ในปี 1933{{sfn|Evans|2003|p=344}} มีการตั้งค่ายเหล่านี้หลายร้อยแห่งหลากขนาดและหลากหน้าที่เมื่อสงครามสิ้นสุด{{sfn|Evans|2008|loc=map, p.&nbsp;366}} เมื่อยึดอำนาจ นาซีใช้มาตรการกดขี่ต่อการคัดค้านทางการเมืองและเริ่มการกีดกันอย่างกว้างขวางต่อบุคคลที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาทางสังคม นาซีรวบอำนาจมหาศาลโดยใช้ข้ออ้างการต่อสู้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์บังหน้า นอกเหนือจากนี้ การรณรงค์ต่อชาวยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนียังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
 
เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 1933 มีการเริ่มมาตรการต่าง ๆ ซึ่งนิยามสถานภาพยิวและสิทธิของยิวในระดับภูมิภาคและชาติ{{sfn|Walk|1996|pp=1–128}} การริเริ่มและการมอบอำนาจกฎหมายต่อชาวยิวลงเอยด้วยการจัดตั้ง[[กฎหมายเนือร์นแบร์ค]]ปี 1935 ซึ่งริบสิทธิขั้นพื้นฐานของยิว{{sfn|Friedländer|2009|pp=44–53}} นาซีจะยึดความมั่งคั่ง การสมรสกับผู้มิใช่ยิว และสิทธิการเข้าทำงานในสาขาต่าง ๆ (เช่น ด้านกฎหมาย แพทยศาสตร์หรือเป็นครูอาจารย์) จนสุดท้ายประกาศว่ายิวไม่พึงปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับพลเมืองและสังคมเยอรมัน ซึ่งยิ่งลดความเป็นมนุษย์ของยิว อาจแย้งได้ว่า การกระทำเหล่านี้ทำให้ชาวเยอรมันเฉยชาถึงขั้นว่าทำให้ลงเอยด้วยฮอโลคอสต์ ชาติพันธุ์เยอรมันผู้ปฏิเสธการผลักไสยิวหรือแสดงสัญญาณใด ๆ ของการต่อต้านโฆษณาชวนเชื่อของนาซีจะถูก[[เกสตาโป]]ตรวจตรา ถูกริบสิทธิ หรือถูกส่งไปค่ายกักกัน{{sfn|Fritzsche|2008|pp=76–142}}
 
=== นโยบายต่างประเทศแสนยนิยม ===
[[ไฟล์:Reichsparteitag 1935.jpg|thumb|left|180px|[[การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค]]ปี 1935]]
 
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1933 ฮิตเลอร์ประกาศว่าจะต้องสร้างเสริมอาวุธยุทธภัณฑ์ โดยทีแรกกระทำในทางลับ เนื่องจากการดังกล่าวเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย ปีต่อมาเขาบอกผู้นำทหารว่าปี 1942 เป็นวันที่เป้าหมายสำหรับการเข้าสู่สงครามในทางตะวันออก{{sfn|Evans|2005|pp=338–339}} เขาพาประเทศเยอรมนีออกจาก[[สันนิบาตชาติ]]ในปี 1933 โดยอ้างว่า ข้อกำหนดการลดกำลังรบขององค์การฯ ไม่ยุติธรรม เนื่องจากมีผลบังคับต่อเฉพาะประเทศเยอรมนี{{sfn|Evans|2005|p=618}} ซาร์ลันท์ซึ่งถูกกำหนดภายใต้การควบคุมดูแลของสันนิบาตชาติเป็นเวลา 15 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุด ออกเสียงลงคะแนนในเดือนมกราคม 1935 เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี{{sfn|Evans|2005|p=623}} ในเดือนมีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ประกาศว่าไรช์สเวร์จะเพิ่มกำลังเป็น 550,000 นายและเขาจะตั้งกองทัพอากาศ{{sfn|Kitchen|2006|p=271}} บริเตนเห็นชอบว่าชาวเยอรมนีควรได้รับอนุญาตให้สร้างกองทัพเรือโดยการลงนามความตกลงนาวีอังกฤษ-เยอรมันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1935{{sfn|Evans|2005|p=629}}
 
เมื่อการบุกครองเอธิโอเปียของอิตาลีนำสู่การประท้วงเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศส วันที่ 7 มีนาคม 1936 ฮิตเลอร์ใช้สนธิสัญญาความช่วยเหลือกันฝรั่งเศส-โซเวียตเป็นข้ออ้างในการสั่งกองทัพบกให้เคลื่อนกำลัง 3,000 นายเข้าสู่เขตปลอดทหารใน[[ไรน์ลันท์]]เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย{{sfn|Evans|2005|pp=633}} เนื่องจากดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี รัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศสจึงไม่รู้สึกว่าการพยายามบังคับใช้สนธิสัญญาฯ จะคุ้มความเสี่ยงสงคราม{{sfn|Evans|2005|pp=632–637}} ในการเลือกตั้งพรรคเดียวซึ่งจัดในวันที่ 29 มีนาคม พรรคนาซีได้รับการสนับสนุนร้อยละ 98.9{{sfn|Evans|2005|pp=632–637}} ในปี 1936 ฮิตเลอร์ลงนาม[[กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น]]กับประเทศญี่ปุ่น และความตกลงไม่รุกรานกับนายกรัฐมนตรี[[เบนิโต มุสโสลินี]] แห่งฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งไม่นานเรียกว่า "อักษะโรม-เบอร์ลิน"{{sfn|Evans|2005|p=641}}
 
ฮิตเลอร์ส่งหน่วยอากาศและยานเกราะสนับสนุนพลเอก [[ฟรันซิสโก ฟรังโก]] และกำลังชาตินิยมใน[[สงครามกลางเมืองสเปน]]ซึ่งปะทุในเดือนกรกฎาคม 1936 สหภาพโซเวียตส่งกำลังที่เล็กกว่าเข้าช่วยรัฐบาลสาธารณรัฐนิยม ฝ่ายชาตินิยมของฟรังโกชนะในปี 1939 และกลายเป็นพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของนาซีเยอรมนี{{sfn|Steiner|2011|pp=181–251}}
 
=== ออสเตรียและเชโกสโลวาเกีย ===
ในเดือนกุมภาพันธ์ 1938 ฮิตเลอร์เน้นย้ำความจำเป็นของเยอรมนีในการรักษาความปลอดภัยเขตแดนแก่นายกรัฐมนตรีออสเตรีย ควร์ท ชุสชนิจ (Kurt Schuschnigg) ชุชนิกก์จัดการลงประชามติว่าด้วยเอกราชของออสเตรียในวันที่ 13 มีนาคม แต่ฮิตเลอร์เรียกร้องให้ยกเลิก วันที่ 11 มีนาคม ฮิตเลอร์ยื่นคำขาดแก่ชุชนิกก์เรียกร้องให้เขายื่นอำนาจทั้งหมดแก่พรรคนาซีออสเตรียหรือเผชิญการรุกราน แวร์มัคท์ยาตราเข้าออสเตรียวันรุ่งขึ้นและได้รับการต้อนรับอย่างกระตือรือร้นจากประชาชน{{sfn|Evans|2005|pp=646–652}}
 
สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียเป็นที่พำนักของชนกลุ่มน้อยเยอรมันจำนวนพอสมควรซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน[[ซูเดเทินลันด์]] ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพรรคเยอรมันซูเดเทิน รัฐบาลเชโกสโลวาเกียเสนอสัมปทานเศรษฐกิจแก่ภูมิภาคดังกล่าว{{sfn|Evans|2005|p=667}} ฮิตเลอร์ตั้งสินใจผนวกทั้งประเทศเชโกสโลวาเกียมิใช่เพียงซูเดเทินลันด์เข้าสู่ไรช์{{sfn|Kershaw|2008|p=417}} นาซีดำเนินการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อเพื่อพยายามปลุกเร้าการสนับสนุนการบุกครอง{{sfn|Kershaw|2008|p=419}} ผู้นำสูงสุดของกองทัพไม่เห็นชอบกับแผนดังกล่าวเพราะเยอรมนียังไม่พร้อมทำสงคราม{{sfn|Evans|2005|pp=668–669}} วิกฤตการณ์ดังกล่าวนำให้บริเตน เชโกสโลวาเกียและฝรั่งเศส (พันธมิตรของเชโกสโลวาเกีย) ตระเตรียมสงคราม ในความพยายามเลี่ยงสงคราม นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร [[เนวิล เชมเบอร์ลิน]]จัดการประชุมหลายครั้งซึ่งผลลัพธ์คือ [[ความตกลงมิวนิก]] ซึ่งลงนามในวันที่ 29 กันยายน 1938 รัฐบาลเชโกสโลวาเกียถูกบีบให้ยอมรับการผนวกซูเดเทินลันด์เข้ากับประเทศเยอรมนี เชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับด้วยเสียงสันบสนุนเมื่อเขาลงจอดในกรุงลอนดอน เขาว่าเป็น "สันติภาพสำหรับยุคของเรา"{{sfn|Evans|2005|pp=671–674}} ความตกลงดังกล่าวกินเวลาหกเดือนก่อนฮิตเลอร์ยึดดินแดนเช็กเกียที่เหลือในเดือนมีนาคม 1939{{sfn|Evans|2005|p=683}} มีการตั้งรัฐหุ่นใน[[สโลวาเกีย]]{{sfn|Beevor|2012|p=24}}
 
=== สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ===
{{ดูเพิ่มที่|สงครามโลกครั้งที่สอง|ประวัติศาสตร์เยอรมนีช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง}}
 
[[ไฟล์:Second world war europe 1941-1942 map en.png|thumb|300px|แผนที่แสดงเขตอิทธิพลของเยอรมันในช่วงที่ไพศาลที่สุด (ปี 1942)]]
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 [[การบุกครองโปแลนด์]]เริ่มต้นขึ้น อีกสองวันถัดมา [[สหราชอาณาจักร]]และ[[ฝรั่งเศส]]ประกาศสงครามต่อเยอรมนี แต่ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน โปแลนด์ก็ถูกแบ่งออกเป็นเขตการยึดครองของเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ตามข้อตกลงลับใน[[สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ]]ซึ่งลงนามไว้ก่อนหน้านี้<ref>Zachary Shore. ''What Hitler Knew: The Battle for Information in Nazi Foreign Policy''. Published by Oxford University Press US, 2005 ISBN 0-19-518261-8, 978-0-19-518261-3, p. 108</ref> [[สงครามลวง|ไม่มีการเผชิญหน้าทางทหาร]]ระหว่างเยอรมนีกับฝ่ายสัมพันธมิตรราว 6 เดือนหลังจากโปแลนด์พ่าย<ref>Weinberg, Gerhard L. (1995), ''A World at Arms: A Global History of World War II'', Cambridge University Press, ISBN 0-521-55879-4, p. 95 & 121</ref> จนกระทั่ง[[การทัพนอร์เวย์]] ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 เยอรมนีได้ขยายดินแดนไปทางเหนือ ตามด้วยการรุกรานฝรั่งเศสและ[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]] ในเดือนพฤษภาคม
 
ใน[[ยุทธการแห่งบริเตน]] ซึ่งเป็นการเตรียมการสำหรับการ[[ปฏิบัติการสิงโตทะเล|บุกครองเกาะอังกฤษ]]ทางบก<ref>Kelly, Nigel; Rees, Rosemary; Shuter, Jane. 'Twentieth Century World'', pg. 38</ref> การทิ้งระเบิดใส่กรุงลอนดอนโดยอุบัติเหตุซึ่งขัดคำสั่งของฮิตเลอร์ ได้เปลี่ยนเส้นทางของสงคราม<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/history/worldwars/wwtwo/area_bombing_02.shtml |title=History - British Bombing Strategy in World War Two |publisher=BBC |date= |accessdate=2009-09-16}}</ref> อังกฤษตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดกรุงเบอร์ลิน ทำให้ฮิตเลอร์โกรธมาก จึงได้สั่งให้มี[[เดอะบลิตซ์|การทิ้งระเบิดตามหัวเมืองอังกฤษอย่างหนัก]]<ref>[http://yourarchives.nationalarchives.gov.uk/index.php?title=Chronological_Summary_of_Royal_Air_Force_Bomber_Command_Operations Chronological Summary of Royal Air Force Bomber Command Operations] – Your Archives</ref> ซึ่งได้เปิดโอกาสให้แก่กองทัพอากาศอังกฤษ ความพ่ายแพ้เหนือน่านฟ้าอังกฤษเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของเยอรมนี<ref>Bungay, Stephen. ''The Most Dangerous Enemy: A History of the Battle of Britain''. London: Aurum Press, 2000. pp 370-373.</ref> ฮิตเลอร์จึงหันไปให้ความสนใจในการโจมตีสหภาพโซเวียตแทน<ref>Fleming, Peter. (1958). ''Invasion 1940''. Readers Union, London, p. 273.</ref>
 
ในช่วงปี 1940-1941 เยอรมนีสามารถยึดครองเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป โดยส่งทหารรุกราน[[ยูโกสลาเวีย]] [[กรีซ]] [[ยุทธการเกาะครีต|เกาะครีต]]และในแถบ[[คาบสมุทรบอลข่าน]]<ref>Weinberg, Gerhard L. (1995), ''A World at Arms: A Global History of World War II'', Cambridge University Press, ISBN 0-521-55879-4. pp 229.</ref> ใน[[ทวีปแอฟริกา]] กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปถึง[[อียิปต์]]<ref>Murray, Williamson; Millett, Allan Reed (2001), ''A War to Be Won: Fighting the Second World War'', Harvard University Press, ISBN 0-674-00680-1. pp 263-267.</ref> ด้วยสภาวะเช่นนี้ เยอรมนีต้องทำศึกหลายด้าน หากแต่แผนการ[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา|รุกรานสหภาพโซเวียต]]ยังคงดำเนินการต่อไป ซึ่งนับว่าผิดหลักยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หากแต่มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วงปลายปีปี 1941 กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในสหภาพโซเวียตถึง 1,689 กิโลเมตร<ref>Glantz, David, ''The Soviet-German War 1941–45: Myths and Realities: A Survey Essay'', 11 October 2001, page 7</ref> ล้อมชานนครเลนินกราด<ref>[http://www.britannica.com/EBchecked/topic/335949/Siege-of-Leningrad Siege of Leningrad (Soviet history)]". Encyclopædia Britannica.</ref> แต่ก็ถูก[[ยุทธการแห่งมอสโก|หยุดยั้งที่มอสโก]]ในฤดูหนาวที่โหดร้าย<ref>Taylor, A.J.P. and Mayer, S.L., eds. (1974). ''A History of World War Two''. London: Octopus Books. ISBN 0-7064-0399-1. p.109</ref> อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร
 
ในปี 1942 การโจมตีโต้กลับของ[[กองทัพแดง]]ในแผ่นดินโซเวียตได้ขับไล่กองทัพอักษะออกจากชานเมืองกรุงมอสโก ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ กองทัพฝ่ายอักษะได้โจมตีทุ่งปิโตรเลียมแถบเทือกเขาคอเคซัสและแม่น้ำวอลกาครั้งใหญ่ หากแต่ความพ่ายแพ้ใน[[ยุทธการที่สตาลินกราด]]ได้สร้างความสูญเสียครั้งมโหฬารจนไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้อีก ในปีเดียวกัน ทาง[[แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|ด้านตะวันตก]] เยอรมนีเผชิญกับการทิ้งระเบิดทางอากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายแก่พลเมืองและสาธารณูปโภค<ref>[http://www.guardian.co.uk/world/2003/oct/22/worlddispatch.germany Germany's forgotten victims]. ''Guardian.co.uk''. October 22, 2003.</ref> พอถึงปี 1943 ใน[[การทัพแอฟริกาเหนือ]] กองทัพอักษะล่าถอยจากอียิปต์ไปจนถึง[[การทัพตูนิเซีย|ตูนิเซีย]]<ref>Collier, Paul. ''The Second World War (4) : The Mediterranean 1940-1945'', pg. 11</ref> และ[[เกาะซิซิลี]]ของอิตาลี และในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันก็ถูกผลักดันออกมาจากเลนินกราดและ[[ยุทธการสตาลินกราด|สตาลินกราด]]<ref>Gilbert, Sir Martin, ''The Second World War: A Complete History'', Macmillan, 2004 ISBN 0-8050-7623-9, pages 397–400</ref> เช่นเดียวกับความพยายามที่ล้มเหลวใน[[ยุทธการเคิสก์|การตีโต้ที่เคิสก์]]<ref>Kershaw, Ian. ''Hitler, 1936–1945: Nemesis'', W. W. Norton & Company, 2001, ISBN 0-393-32252-1,p. 592</ref> และในปี 1944 ปฏิบัติการขนาดใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตร – [[ปฏิบัติการบากราติออน]]และ[[ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด]] – ส่งผลให้กองทัพแดงรุกถึงโปแลนด์ในแนวรบด้านตะวันออก<ref>[http://www.belarusembassy.org/belarus/worldwarII/operation_bagration.htm Military Strategy: Sixtieth Anniversary of Operation Bagration]. Embassy of the Republic of Belarus in the United States of America. สืบค้นเมื่อ 11-02-2010.</ref> และฝ่ายสัมพันธมิตรรุกถึง[[แม่น้ำไรน์]]ในแนวรบด้านตะวันตก<ref>C.P. Stacey. ''Official History of the Canadian Army in the Second World War: Volume II The Victory Campaign'' p. 295</ref>
 
[[ไฟล์:Bundesarchiv B 145 Bild-P054320, Berlin, Brandenburger Tor und Pariser Platz.jpg|thumb|right|300px|ความเสียหายของกรุงเบอร์ลินหลัง[[ยุทธการที่เบอร์ลิน]]จบลง]]
 
ปฏิบัติการในการยับยั้งกองทัพสัมพันธมิตรล้วนแต่ประสบความล้มเหลว และราวเดือนเมษายน 1945 กองทัพสัมพันธมิตรได้รุกเข้าสู่เยอรมนีทั้งทางตะวันตกและทางตะวันออก กรุงเบอร์ลินตกอยู่ใต้วงล้อมของกองทัพโซเวียต ฮิตเลอร์เครียดหนักและตัดสินใจฆ่าตัวตาย<ref>Joachimsthaler, Anton. ''The Last Days of Hitler - The Legends - The Evidence - The Truth'', Brockhampton Press, 1999, pp 160-167.</ref> โดยส่งมอบอำนาจต่อให้แก่พลเรือเอก [[คาร์ล เดอนิทซ์]]<ref>Kershaw, Ian (2001), ''Hitler, 1936–1945: Nemesis'', W. W. Norton & Company, ISBN 0-393-32252-1. p.823</ref>
 
=== ยอมจำนนและล่มสลาย ===
[[ไฟล์:Nuremberg-1-.jpg|thumb|left|200px|อดีตผู้นำนาซีตกเป็นจำเลยใน[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค]]]]
 
เดอนิตช์พยายามที่จะติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขอยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข<ref>William Shirer. ''The Rise and Fall of the Third Reich''. Fawcett Crest. New York. 1983. ISBN 0-449-21977-1</ref> เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945 ได้มีการยอมจำนนอย่างเป็นทางการ<ref>Donnelly, Mark. ''Britain in the Second World War'', pg. xiv</ref> ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดการคงอยู่ของนาซีเยอรมนี<ref>''"...also based on the fact that after the debellatio of Germany, the Allied powers have been the local sovereigns in Germany.".'' United Nations War Crimes Commission. [http://books.google.co.uk/books?id=Z-xlVF_5Hu8C&pg=PA13&dq=debellatio+allies+germany&sig=ACfU3U0E77AgKBDsfN3L4u4_0OjN_qwZhw#v=onepage&q=debellatio&f=false Law reports of trials of war criminals]. William S. Hein & Co., Inc. p. 14</ref>
 
ในเดือนสิงหาคม ได้มีการจัด[[การประชุมพ็อทซ์ดัม]]ระหว่างผู้นำมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อกำหนดข้อตกลงและแนวทางสำหรับอนาคตของเยอรมนี รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของเยอรมนีอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับ[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค|การพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม]]ผู้นำและนายทหารระดับสูงของนาซีที่[[เนือร์นแบร์ค]]<ref>Richard Overy. [http://www.bbc.co.uk/history/worldwars/wwtwo/nuremberg_article_01.shtml World Wars in-depth Nuremberg: Nazis On Trial]. ''[[BBC]]''. สืบค้นเมื่อ 07-02-2010.</ref> จำเลยทั้งหมดถูกพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้อกล่าวหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่ถูกตัดสินประหารชีวิตและบางส่วนถูกตัดสินจำคุก
 
การแบ่งแยกปกครองเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นภายใต้การจัดตั้ง[[สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร]] และแบ่งเยอรมนีและกรุงเบอร์ลินออกเป็น 4 ส่วน ให้อยู่ในการควบคุมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต โดยส่วนที่ปกครองโดยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รวมตัวกันเป็น[[เยอรมนีตะวันตก]] และส่วนที่สหภาพโซเวียตปกครองกลายมาเป็น[[เยอรมนีตะวันออก]] เยอรมนีทั้งสองเป็นสนามรบของ[[สงครามเย็น]]ในทวีปยุโรป ก่อนที่จะมีการรวมประเทศอีกครั้งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
 
== ภูมิศาสตร์ ==