ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาราโอเกะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ฮัมบูร์ก→ฮัมบวร์ค
บรรทัด 19:
ในช่วงแรกๆ นั้นราคาค่าหยอดตู้คาราโอเกะนับว่าแพงพอสมควร เงิน 100 เยนนั้นพอที่จะซื้ออาหารกลางวันได้ถึง 2 ที่ แต่ไม่นานต่อมาคาราโอเกะก็กลายเป็นความบันเทิงยอดนิยมไปแล้ว เครื่องคาราโอเกะมีบริการในร้านอาหาร ห้องต่างๆ ของโรงแรม และไม่ช้าก็เปิดธุรกิจใหม่ คือ ร้านคาราโอเกะ ''Karaoke Box'' ที่มีห้องขนาดเล็ก พร้อมด้วยเครื่องคาราโอเกะให้บริการ ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลาไม่นานนัก ในปี 2004 นั้น นายไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะผู้คิดค้นระบบคาราโอเกะขึ้น "นับเป็นการเสนอทางเลือกใหม่ให้ผู้คนได้ทนซึ่งกันและกันได้"
 
[[ไฟล์:Karaoke-irish-pub.jpg|thumb|left|คาราโอเกะบาร์ ใน [[ฮัมบูร์กบวร์ค]] [[ประเทศเยอรมนี]]]]
เดิมทีเครื่องคาราโอเกะแต่ละเครื่องนั้นจะใช้[[เทปคาสเซตต์]]หรือ[[วิดีโอเทป]] แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ก็แทนที่ด้วยแผ่น[[วิดีโอซีดี]] หรือ[[ดีวีดี]] หรือระบบ[[ฮาร์ดดิสก์]] เป็นต้น ในปี ค.ศ. 1992 บริษัทไทโต (Taito Corporation) ได้นำเสนอเครื่อง X2000 ที่สามารถค้นหาเสียงดนตรีโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ได้ สำหรับคุณภาพของดนตรีและภาพนั้นยังมีข้อจำกัด แต่ความก้าวหน้าของการสื่อสารมีมากกว่า จึงมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้เครื่องคาราโอเกะมีขนาดเล็กลง และมีเครื่องรุ่นใหม่ๆ มาแทนที่เครื่องรุ่นเก่าๆ เสมอ เครื่องคาราโอเกะจะเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย[[ไฟเบอร์ออปติก]] เพื่อให้ได้ภาพและเสียงดนตรีคุณภาพสูงอย่างฉับไว ซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่นานคาราโอเกะก็แพร่หลายไปยังส่วนอื่นๆ ของ[[เอเชีย]] และแพร่ไปถึงสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษ 1990 มีร้านคาราโอเกะ หรือคาราโอเกะบาร์ที่จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ให้ลูกค้าที่เป็นนักร้องสมัครเล่นได้ร้องเพลง ในบางแห่งนั้นแทนที่จะมีเครื่องเล่นคาราโอเกะขนาดเล็ก กลับใช้เครื่องเสียงไฮเอนด์ขนาดใหญ่แทนเลยก็มี เวทีสำหรับเต้นและแสงไฟก็เป็นสิ่งที่พบได้ใน[[คาราโอเกะบาร์]] เนื้อร้องนั้นมักจะแสดงอยู่บนจอโทรทัศน์หลายจอที่วางไว้รอบๆ รวมทั้งมีจอฉายภาพขนาดใหญ่ด้วย