ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนจิตรลดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''โรงเรียนจิตรลดา''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Chitralada School) เป็นโรงเรียนที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งขึ้นในบริเวณ [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] [[พระราชวังดุสิต]] และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียน นักเรียนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาเรียน จึงไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน<ref>http://www.thairath.co.th/content/435294</ref>
 
[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้โรงเรียนจิตรลดาได้ดำเนินงานมาโดยตลอด ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี|สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]เป็นองค์บริหาร โรงเรียนจึงได้รับสนองพระราโชบายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยมีท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาในขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระราโชบายมาบริหารและดำเนินการ<ref>http://www.chitraladaschool.ac.th/cd1_03.php</ref>
 
โรงเรียนจิตรลดาได้รับการยอมรับว่าเป็น "the most exclusive school in Thailand"<ref>http://www.triposo.com/layer/2avrjug</ref>.
บรรทัด 26:
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ [[10 มกราคม]] [[พ.ศ. 2498]] เนื่องด้วยขณะนั้น [[ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี|สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ]] เจริญพระชนมายุพร้อมที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียน โดยมีพระอาจารย์คนแรกที่ถวาย ฯ การสอนเพียงคนเดียว คือ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์) และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสหายร่วมศึกษาอีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนจิตรลดา 
 
จากนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 เมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ หรือ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เจริญพระชนมายุพอที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มชั้นอนุบาลขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และเพิ่มนักเรียนขึ้นอีก 4 คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้รับพระอาจารย์เพิ่มอีกคนหนึ่งคือ นางสาวอังกาบ ประนิช (ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียนอนุบาล 2 ระดับ ระดับละ 8 คน
 
ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2500 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการถาวร จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ''"โรงเรียนจิตรลดา"'' และได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2501 เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2507 ได้ขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีการศึกษา 2511 ได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยรับนักเรียนทั่วไป ตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนแต่ละปีการศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนโดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ ตามพระบรมราโชวาท “''ให้โรงเรียนรับนักเรียนทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์''”
บรรทัด 57:
 
== องค์บริหารและผู้บริหารโรงเรียนจิตรลดาในปัจจุบัน<ref>http://www.chitraladaschool.ac.th/cd1_06.php</ref> ==
* [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี|สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] องค์บริหาร
* พลอากาศเอก [[สถิตย์พงษ์ สุขวิมล]] เลขาธิการพระราชวัง ผู้รับใบอนุญาต
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้จัดการและผู้อำนวยการ