ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราหู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 30:
 
== ลักษณะกายของพระราหู ==
ลักษณะของพระราหู ในคติไทย เป็นเทพอสูรมีกายสีนิลออกไปทางทองสัมฤทธิ์ มีกายครึ่งท่อน บ้างก็เต็มองค์ บ้างก็เป็นครึ่งอสูรครึ่งนาค ปากขบ ตาโพลง มี ๒ กร ทรงกระบองเป็นอาวุธ สวมมงกุฎน้ำเต้า สวมอาภรณ์สีทองและสีม่วง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ทองสัมฤทธิ์ และแก้วนิลรัตน์ ทรงครุฑเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพอสูรมีกายสีนีล มี ๔ กร ทรงคทา ตรีศูล คทา ดาบ โล่ ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ สวมอาภรณ์สีน้ำเงิน ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ทองสัมฤทธิ์และแก้วนิลรัตน์ ทรงเสือหรือราชสีห์เป็นพาหนะ บ้างก็วาดพระราหูให้มีแต่หัว สถิตบนดอกบัวบนราชรถเทียมด้วยเสือ บ้างก็วาดพระราหูมีหัวแล้วมีหางนาค พระอังคาร
 
จากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์ แต่อมไว้ในปากได้ไม่นานก็ต้องคายออกมาเพราะทนความร้อนและรัศมีของเทวดานพเคราะห์ทั้งสองไม่ได้ เกิดเป็นเหตุของปรากฏการณ์[[สุริยุปราคา]]และ[[จันทรุปราคา]]ตามคติความเชื่อของคนโบราณ