ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 36:
 
=== ปรับปรุงพัฒนา (2517-2527) ===
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 บจก.ไทยโทรทัศน์] เริ่มแพร่ภาพด้วยระบบ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ในระบบวีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 9<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)</ref> ซึ่งเป็น[[ภาพสี]]หรือ[[ขาวดำ]] ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แพร่ภาพ ด้วยเครื่องส่งที่ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ มอบให้ตามที่ระบุในสัญญา คู่ขนานไปกับไทยทีวีช่อง 4 ด้วยภาพขาวดำทั้งช่อง โดยเริ่มออกอากาศภาพสี เป็นครั้งแรกทางช่อง 9 คือถ่ายทอดสดการแข่งขัน [[ฟุตบอลโลก]][[ฟุตบอลโลก 1970|ครั้งที่ 9]] นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง[[ฟุตบอลทีมชาติบราซิล|ทีมชาติบราซิล]] กับ[[ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี|ทีมชาติอิตาลี]] ซึ่งเวลาประเทศไทย ตรงกับเช้า[[วันจันทร์]]ที่ [[22 มิถุนายน]] ทว่าในระยะเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายห้องส่งโทรทัศน์ รวมถึงสำนักงานทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหาย่าน[[ถนนพระสุเมรุ]] แขวงบางลำพู เนื่องจาก[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] เสนอซื้ออาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด บนที่ดินบริเวณที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ก่อนจะยุติการแพร่ภาพระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 4 หลังจาก[[วันอาทิตย์]]ที่ [[30 มิถุนายน]] พ.ศ. 2517 พร้อมทั้งปรับปรุงการแพร่ภาพ ในระบบ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9 เป็นโทรทัศน์สีอย่างสมบูรณ์<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)</ref>
 
ขณะที่เมื่อปี พ.ศ. 2516 ททบ.ก็อนุมัติให้แก้ไขระยะเวลาเช่าช่วง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตามที่ระบุในสัญญาซึ่งทำไว้กับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ออกไปเป็น 15 ปีจนถึง [[พ.ศ. 2527]] และตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ [[3 ตุลาคม]] พ.ศ. 2517 ททบ.ยังเปลี่ยนการส่งแพร่ภาพ จากระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 7 ไปใช้ระบบ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 5 จากนั้นเมื่อ[[วันอังคาร]]ที่ [[3 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน ก็เริ่มทดลองออกอากาศด้วยภาพสีเป็นครั้งแรก ด้วยการถ่ายทอด [[พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์]] เนื่องใน[[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา]]ประจำปี จากบริเวณ[[ลานพระราชวังดุสิต]] และเมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] ยังเพิ่มกำลังส่งออกอากาศ สถานีหลักที่สนามเป้า จาก 200 เป็น 400 กิโลวัตต์ รวมทั้งเริ่มออกอากาศเป็นภาพสีอย่างสมบูรณ์ทั้งช่องด้วย
 
สืบเนื่องจาก[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์นองเลือด]] [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ซึ่งขณะนั้นเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.ไทยโทรทัศน์ นำกล้องภาพยนตร์ออกถ่ายทำข่าวบริเวณ[[ท้องสนามหลวง]] โดยเฉพาะส่วนหน้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์นองเลือดรุนแรงที่สุด แล้วกลับไปล้างฟิล์มและตัดต่อด้วยตนเอง เพื่อนำออกเป็นรายงานข่าว ทั้งทางไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง จึงทำให้เขา, ราชันย์ ฮูเซ็น และลูกน้องอีกสองสามคน ถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. กอปรกับประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก เป็นผลให้คณะรัฐมนตรีลงมติยุบเลิก บจก.ไทยโทรทัศน์ เมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2520]] แล้วจึงมี[[พระราชกฤษฎีกา]]จัดตั้ง ''[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]]'' (อังกฤษ: The Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็น[[รัฐวิสาหกิจ]] ในสังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)|สำนักนายกรัฐมนตรี]] ประกาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม โดยให้รับโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของ บจก.[[ไทยโทรทัศน์]] คือ[[สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ|สถานีวิทยุ ท.ท.ท.]] และ[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9]] เพื่อดำเนินงานต่อไป ตั้งแต่วันที่ [[9 เมษายน]] ปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา [[อ.ส.ม.ท.]]
 
เมื่อวันที่ [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2521]] อ.ส.ม.ท.อนุมัติให้ขยายอายุสัญญา ดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์กับ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม [[พ.ศ. 2523]] ถึงวันที่ [[25 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2533]] และในปี พ.ศ. 2521 นั้นเอง ททบ.ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ เช่าช่องสัญญาณ[[ดาวเทียมปาลาปา]]ของ[[อินโดนีเซีย]] เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณ[[ดาวเทียมนานาชาติ]] (อินเทลแซท) ถ่ายทอดภาพข่าวจากทั่วโลกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดตั้ง สถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ<ref name="profile1"/> ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2525]] คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก อนุมัติให้ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ทำการแก้ไขอายุสัญญาเช่า สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ออกไปอีก 12 ปี เป็นเวลารวม 27 ปี จนถึงปี [[พ.ศ. 2539]] อนึ่ง หลังจากที่วงการบันเทิง จัดให้มีรางวัลผลงานภาพยนตร์ดีเด่น ต่อมาวงการโทรทัศน์ ก็มีการสถาปนา งานประกาศผลและมอบรางวัล ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ ''[[รางวัลเมขลา|เมขลา]]'' โดย[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2523]] และ''[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ|โทรทัศน์ทองคำ]]'' โดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ และ[[จำนง รังสิกุล|มูลนิธิจำนง รังสิกุล]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2529]] และสถาบันทั้งสองยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็นต้นแบบให้แก่อีกหลายรางวัล ซึ่งทยอยก่อตั้งขึ้นอีกในระยะหลัง
บรรทัด 73:
อย่างไรก็ตาม บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทาน และคำเสียหายดังกล่าว ให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ในที่สุดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 มติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ยกเลิกสัญญาสัมปทาน จัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อเวลา 24.00 น. วันเดียวกัน โดยมอบหมายให้[[กรมประชาสัมพันธ์]] เข้ากำกับดูแลการออกอากาศและรับโอนกิจการสถานีโทรทัศน์ โดยให้ชื่อใหม่ว่า ''[[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]'' ซึ่งออกอากาศในวันถัดไป (คือวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น.) ในเวลาต่อมา ก็ยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เฉพาะกิจ (หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ)ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบในการดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ในช่วงเวลาเฉพาะกิจ ไปจนกว่าที่จะมีความแน่นอนในการดำเนินกิจการ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ [[20 มิถุนายน]] พ.ศ. 2550<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/075/13.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้แปลงสภาพภารกิจการดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นสำนักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เฉพาะกิจ(หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) พ.ศ. 2550] สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560</ref>
 
หลังจากพระราชบัญญัติ [[องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย]] พ.ศ. 2551 ลงประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] และมีผลบังคับใช้ในวันที่ [[5 มกราคม]] [[พ.ศ. 2551]]แล้ว<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/008/1.PDF พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑], เล่ม ๑๒๕, ตอน ๘ก, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑</ref> สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรมประชาสัมพันธ์จึงออกหนังสือคำสั่งที่ 25/2551 เพื่อให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 00.08 น. ของวันที่ [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2551]]<ref>[http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=151541&NewsType=1&Template=1 คำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ ที่ 25/2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551] [[เดลินิวส์]]ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:01 น.</ref> และเพื่อให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ดำเนินการออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการโอนกิจการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ไปไว้ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดขององค์การฯ ตามความในมาตรา 57 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ในวันเดียวกันที่มีการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศของทางสถานีฯ พร้อมกับเชื่อมต่อรับสัญญาณการออกอากาศชั่วคราวจากอาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ปัจจุบันคืออาคารที่ทำการ[[สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์]]และ[[เอ็นบีทีเวิลด์|สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์]]) จนถึงวันที่ 31 เดือนและปีเดียวกัน โดยใช้เวลาเพียง 16 วัน<ref>[http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=75202 ปิดฉากทีไอทีวีคืนนี้ เชื่อมสัญญาณช่อง 11] [[ไทยรัฐ]]ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:41 น.</ref> ในชื่อ''[[สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส]]'' ซึ่งต่อมาได้เริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ [[1 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2551]] และในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น [[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]]
 
=== เปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัล (2556-ปัจจุบัน) ===
{{โครง-ส่วน}}
''ดูรายละเอียดได้ที่ [[โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย]]''
 
== อ้างอิง ==