ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันชลุส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขบางส่วน
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ซาร์ลันด์→ซาร์ลันท์
บรรทัด 11:
แม้[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ถูกผูกมัดให้รักษาเงื่อนไขของ[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]]และ[[สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ค.ศ. 1919)|สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง]] ซึ่งเจาะจงห้ามสหภาพออสเตรียและเยอรมนี แต่ปฏิกิริยาของชาติเหล่านั้นมีเพียงคำพูดและเป็นสายกลางเท่านั้น ไม่มีการเผชิญหน้าทางทหาร แม้แต่ผู้คัดค้านการผนวกที่แข็งกร้าวที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิตาลีฟาสซิสต์ ฝรั่งเศส และบริเตน ("[[แนวสเตรซา]]") ยังสงบอยู่
 
อันชลุสเป็นก้าวสำคัญแรก ๆ ในการสร้าง[[ปัญหาเยอรมัน|ไรช์มหาเยอรมัน]]ของฮิตเลอร์เพื่อให้รวมชาติพันธุ์[[เยอรมัน]]ทั้งหมดและที่ดินและดินแดนทั้งหมดที่[[จักรวรรดิเยอรมัน]]เสียใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] แม้ออสเตรียไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีคริสต์ศตวรรษที่ 20 (การสร้างเอกภาพเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สร้างรัฐชาติที่[[ปรัสเซีย]]ครอบงำใน ค.ศ. 1871 เหลือออสเตรียนอก "เลสเซอร์เยอรมนี") แต่ออสเตรียเป็นเป้าหมายถัดไปตามเหตุผล ก่อนหน้าการบุกครองออสเตรียใน ค.ศ. 1938 ไรช์ที่สามส่งทหารกลับเข้าประจำ[[ไรน์แลนด์]] และ[[รัฐซาร์ลันด์ลันท์|เขตซาร์]]ถูกคืนให้เยอรมนีหลังการยึดครอง 15 ปีโดยการลงประชามติ หลังอันชลุส ฮิตเลอร์มุ่งเป้าไป[[เชโกสโลวาเกีย]] ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่[[ความตกลงมิวนิก]]ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938 ทำให้ไรช์ที่สามควบคุม[[ซูเดเทินลันด์]]ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมและมีประชากรชาติพันธุ์เยอรมันครอบงำอยู่ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 จากนั้นฮิตเลอร์รื้อถอนเชโกสโลวาเกียโดยรับรองเอกราชของ[[สโลวาเกีย]]แล้วทำให้ชาติส่วนที่เหลือเป็น[[รัฐในอารักขา]] ในปีเดียวกัน [[ลิทัวเนีย]]คืน[[เมเมิลลันด์]]ให้เยอรมนี
 
ด้วยอันชลุส สาธารณรัฐออสเตรียที่พูดภาษาเยอรมันไม่เป็นรัฐเอกราชอีกต่อไป เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พวกอนุรักษนิยม ประชาธิปไตยสังคม และคอมมิวนิสต์ตั้งรัฐบาลออสเตรียชั่วคราวภายใต้การนำของคาร์ล เรนเนอร์เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1945 ([[การรุกเวียนนา|เมื่อเวียนนาถูกกองทัพแดงยึดครองแล้ว]]) รัฐบาลยกเลิกอันชลุสในวันเดียวกันและ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]รับรองตามกฎหมายในหลายเดือนถัดมา ใน ค.ศ. 1955 สนธิสัญญารัฐออสเตรียสถาปนาออสเตรียเป็นรัฐเอกราชอีกครั้ง