ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ชเลสวิก→ชเลสวิช
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ซาร์ลันด์→ซาร์ลันท์
บรรทัด 170:
[[ไฟล์:Reichsparteitag 1935.jpg|thumb|left|180px|[[การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค]]ปี 1935]]
 
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1933 ฮิตเลอร์ประกาศว่าจะต้องสร้างเสริมอาวุธยุทธภัณฑ์ โดยทีแรกกระทำในทางลับ เนื่องจากการดังกล่าวเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย ปีต่อมาเขาบอกผู้นำทหารว่าปี 1942 เป็นวันที่เป้าหมายสำหรับการเข้าสู่สงครามในทางตะวันออก{{sfn|Evans|2005|pp=338–339}} เขาพาประเทศเยอรมนีออกจาก[[สันนิบาตชาติ]]ในปี 1933 โดยอ้างว่า ข้อกำหนดการลดกำลังรบขององค์การฯ ไม่ยุติธรรม เนื่องจากมีผลบังคับต่อเฉพาะประเทศเยอรมนี{{sfn|Evans|2005|p=618}} ซาร์ลันด์ลันท์ซึ่งถูกกำหนดภายใต้การควบคุมดูแลของสันนิบาตชาติเป็นเวลา 15 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุด ออกเสียงลงคะแนนในเดือนมกราคม 1935 เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี{{sfn|Evans|2005|p=623}} ในเดือนมีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ประกาศว่าไรช์สเวร์จะเพิ่มกำลังเป็น 550,000 นายและเขาจะตั้งกองทัพอากาศ{{sfn|Kitchen|2006|p=271}} บริเตนเห็นชอบว่าชาวเยอรมนีควรได้รับอนุญาตให้สร้างกองทัพเรือโดยการลงนามความตกลงนาวีอังกฤษ-เยอรมันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1935{{sfn|Evans|2005|p=629}}
 
เมื่อการบุกครองเอธิโอเปียของอิตาลีนำสู่การประท้วงเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศส วันที่ 7 มีนาคม 1936 ฮิตเลอร์ใช้สนธิสัญญาความช่วยเหลือกันฝรั่งเศส-โซเวียตเป็นข้ออ้างในการสั่งกองทัพบกให้เคลื่อนกำลัง 3,000 นายเข้าสู่เขตปลอดทหารใน[[ไรน์ลันท์]]เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย{{sfn|Evans|2005|pp=633}} เนื่องจากดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี รัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศสจึงไม่รู้สึกว่าการพยายามบังคับใช้สนธิสัญญาฯ จะคุ้มความเสี่ยงสงคราม{{sfn|Evans|2005|pp=632–637}} ในการเลือกตั้งพรรคเดียวซึ่งจัดในวันที่ 29 มีนาคม พรรคนาซีได้รับการสนับสนุนร้อยละ 98.9{{sfn|Evans|2005|pp=632–637}} ในปี 1936 ฮิตเลอร์ลงนาม[[กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น]]กับประเทศญี่ปุ่น และความตกลงไม่รุกรานกับนายกรัฐมนตรี[[เบนิโต มุสโสลินี]] แห่งฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งไม่นานเรียกว่า "อักษะโรม-เบอร์ลิน"{{sfn|Evans|2005|p=641}}
บรรทัด 214:
 
=== การเปลี่ยนแปลงดินแดนก่อนสงคราม ===
ผลจากความปราชัยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและ[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]]ซึ่งติดตามมา ประเทศเยอรมนีเสียอัลซาซ-ลอแรน นอร์เทิร์นชเลสวิชและเมเมล ซาร์ลันด์ลันท์เป็นรัฐในอารักขาของประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่าภายหลังผู้อยู่อาศัยจะลงประชามติตัดสินว่าจะเข้ากับประเทศใด ประเทศโปแลนด์แยกออกมาเป็นอีกประเทศหนึ่งและได้ทางออกสู่ทะเลโดยการสถาปนาฉนวนโปแลนด์ ซึ่งคั่นปรัสเซียจากประเทศเยอรมนีส่วนที่เหลือ [[ดันท์ซิช]]กลายเป็นเสรีนคร{{sfn|Evans|2003|p=62}}
 
ประเทศเยอรมนีเข้าควบคุมซาร์ลันด์ลันท์อีกครั้งผ่านการลงประชามติซึ่งจัดขึ้นในปี 1935 และผนวกออสเตรียใน[[อันชลุสส์]]ปี 1938{{sfn|Evans|2005|pp=623, 646–652}} [[ความตกลงมิวนิก]]ปี 1938 ทำให้เยอรมนีได้ควบคุม[[ซูเดเทินลันด์]]และยึด[[เชโกสโลวาเกีย]]ส่วนที่เหลืออีกหกเดือนต่อมา{{sfn|Evans|2005|pp=671–674}} ภายใต้คำขู่การบุกครองทางทะเล [[ประเทศลิทัวเนีย]]ยอมยกเขตเมเมลในเดือนมีนาคม 1939{{sfn|Shirer|1960|pp=461–462}}
 
ระหว่างปี 1939 ถึง 1941 กองทัพเยอรมันบุกครองประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และสหภาพโซเวียต{{sfn|Shirer|1960|pp=696–730}} [[มุสโสลินี]]ยก[[ตรีเยสเต]] [[เซาท์ไทรอล]]และ[[อิสเตรีย]]ให้ประเทศเยอรมนีในปี 1943 มีการจัดตั้งเขตหุ่นเชิดสองเขตในพื้นที่ คือ เขตปฏิบัติการลิตโตรัลเอเดรียติก (Operational Zone of the Adriatic Littoral) และเขตปฏิบัติการตีนเขาแอลพ์ (Operational Zone of the Alpine Foothills){{sfn|Wedekind|2005|p=111}}