ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ตรีเอสเต้?→ตรีเยสเต
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
พอทสดัม→พ็อทซ์ดัม
บรรทัด 227:
=== การเปลี่ยนแปลงหลังสงคราม ===
[[ไฟล์:Germanborders.svg|thumb|300px|ดินแดนที่เยอรมนีสูญเสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง]]
พรมแดนโดยพฤตินัยของนาซีเยอรมนีเปลี่ยนแปลงมานานก่อนการล่มสลายในเดือนพฤษภาคม 1945 เพราะกองทัพแดงคืบหน้ามาทางตะวันออก พร้อมกับที่ประชากรเยอรมันหลบหนีมายังแผ่นดินเยอรมนี และสัมพันธมิตรตะวันตกรุกคืบมาทางตะวันออกจากฝรั่งเศส เมื่อสงครามยุติ มีเพียงผืนดินเล็ก ๆ จากออสเตรียถึงโบฮีเมียและโมราเวีย และภูมิภาคที่ถูกโดดเดี่ยวอื่น ๆ เท่านั้นที่ยังไม่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาสถาปนาเขตยึดครอง ดินแดนเยอรมนีก่อนสงครามทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นีซเซ (อันประกอบด้วย [[ปรัสเซียตะวันออก]] [[ไซลีเซีย]] [[ปรัสเซียตะวันตก]] ราวสองในสามของ[[พอเมอเรเนีย]] และบางส่วนของ[[บรันเดินบวร์ค]]) และสเทททิน และบริเวณโดยรอบ (เกือบ 25% ของดินแดนเยอรมนีก่อนสงครามเมื่อปี 1937) อยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์และโซเวียต โดยแบ่งให้โปแลนด์และโซเวียตผนวก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของ[[แคว้นซาร์]] ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมถ่านหินที่สำคัญของเยอรมนีที่เหลืออีกด้วย ดินแดนส่วนใหญ่ที่เยอรมนีเสียไปนี้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ยกเว้น [[อัปเปอร์ไซลีเซีย]] ซึ่งเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรขับไล่ผู้อยู่อาศัยชาวเยอรมัน ในปี 1947 สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเลิกปรัสเซียด้วยกฎหมาย ที่ 46 (20 พฤษภาคม 1947) ตามการประชุมพอทสดัมพ็อทซ์ดัม ดินแดนปรัสเซียทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นีซเซถูกแบ่งแยกและปกครองโดยโปแลนด์และ[[มณฑลคาลินินกราด]] ตามสนธิสัญญาสันิภาพขั้นสุดท้าย ภายหลัง โดยการลงนาม[[สนธิสัญญากรุงวอร์ซอ]] (ค.ศ. 1970) และ[[สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี]] (ค.ศ. 1990) เยอรมนีสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่เสียไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
 
การเปลี่ยนแปลงดินแดนดังกล่าวส่งผลกระทบให้ชาวเยอรมันราว 14 ล้านคน<ref name="expelled">de Zayas, Alfred-Maurice: ''A Terrible Revenge: The Ethnic Cleansing of the Eastern European Germans 1944-1950'', New York: St. Martin's Press, 1994</ref> ถูกขับออกจากดินแดนซึ่งอยู่นอกพรมแดนประเทศเยอรมนีใหม่ มีผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์นี้ประมาณ 1-2 ล้านคน<ref name="expelled"/> เช่นเดียวกับเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย เช่น [[สเทททิน]], [[เคอนิชส์แบร์ค]], [[เบรสเลา]], [[เอลบิง]] และ[[ดันท์ซิช]] ที่ได้ขับชาวเยอรมันออกจากเมืองเช่นกัน