ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The Bangsawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ตรังกานู→เตอเริงกานู
บรรทัด 10:
<blockquote>"ราว พ.ศ. ๒๐๔๕ ในแผ่นดินพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส โปรตุเกสขอกองกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาไปทำร้ายพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามในขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่าจ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณ"</blockquote>
 
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้ปกครองหัวเมืองประเทศราช อันได้แก่ หัวเมืองมลายู ([[ไทรบุรี]], [[ปัตตานี]], [[กลันตัน]] และ[[ตรังกานูเตอเริงกานู]]), หัวเมืองลาวพุงขาว ([[อาณาจักรล้านช้าง|ล้านช้าง]]), หัวเมืองลาวพุงดำ ([[อาณาจักรล้านนา|ล้านนา]]), หัวเมืองเขมร ([[กัมพูชา]]) และหัวเมือง[[กะเหรี่ยง]] (ตะวันตกของพม่าในปัจจุบัน)<ref name="ดอกไม้"/> ซึ่งประเทศราชเหล่านี้จะต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องบรรณาการมาทุก ๆ สามปี มูลค่าของดอกไม้เงินดอกไม้ทองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาจจะสูงถึงราว ๆ หนึ่งพัน[[ดอลลาร์สเปน]]เลยทีเดียว<ref name="andaya">อันดายา, บาร์บารา วัดสัน และ อันดายา, ลีโอนาโด วาย. ''ประวัติศาสตร์มาเลเซีย''. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2549, ISBN 9749377672, หน้า 111 - 112</ref> ทั้งนี้การส่งบรรณาการดังกล่าวไม่มีกฎเกณฑ์ว่ามากน้อยเพียงใดเพราะขึ้นอยู่กับผลิตผลในท้องถิ่น หรือเป็นสิ่งของที่ทางกรุงเทพฯ ที่แจ้งความต้องการไป<ref name="ดอกไม้"/>
 
ในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการปฏิรูปการปกครองยกเลิกหัวเมืองประเทศราชในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ธรรมเนียมการส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นบรรณาการจึงไม่ปรากฎอีก ปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อครั้งเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ พร้อมด้วยเจ้าราชภาคินัย เจ้าน้อยเลาแก้ว เจ้าน้อยสมพมิตร เจ้าน้อยเมืองชื่น และเจ้าน้อยวุฒิวงษ์ เข้าเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2447 และนับเป็นเครื่องราชบรรณาการ งวดสุดท้าย ก่อนจะมีการยกเลิกธรรมเนียมการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา