ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
ในแผนแม่บทดั้งเดิมของโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ได้มีการกำหนดให้มีสถานีใกล้เคียงกับพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราชจำนวนสองสถานี คือ สถานีธนบุรี-ศิริราช ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ธนบุรี ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ของทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายมรณะ และสถานีศิริราช (เดิม) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะตั้งอยู่ใต้สะพานอรุณอมรินทร์ใกล้ ๆ กับพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราชและสถานีรถไฟธนบุรีเดิม ทั้งสองสถานีมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างระบบ และเป็นสถานีรถไฟที่เชื่อมกับโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย
 
ต่อมาใน พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลศิริราชมีแนวคิดที่จะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่เพื่อใช้ทดแทนอาคารผู้ป่วยนอกเดิมที่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก และเริ่มมีสภาพทรุดโทรมตามเวลา ทางโรงพยาบาลจึงได้ประสานไปยัง[[กระทรวงคมนาคม]]เพื่อขอให้มีการย้ายตำแหน่งทั้งสองสถานีมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และพัฒนาโครงการในรูปแบบบูรณาการให้เป็นสถานีแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่จะสามารถเชื่อมต่อการรักษาเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนได้อย่างรวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาการเดินทาง และลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลได้ โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนเห็นชอบ และให้เจ้าของโครงการทั้งสองหน่วยงานคือ [[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) และ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ออกแบบการเชื่อมต่อสถานีร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดให้ผู้ป่วยเท่าที่จะเป็นไปได้
 
ทั้งสามหน่วยงานได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการก่อสร้างโครงการร่วมกันเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดย หน่วยงานร่วมของ รฟม. และ รฟท. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างสถานีรถไฟร่วม คือสถานีรถไฟใต้ดิน และสถานีรถไฟระดับดิน รวมถึงก่อสร้างฐานอาคารทั้งหมดตั้งแต่ชั้น B3 ถึงชั้น 2 เมื่อการก่อสร้างในส่วนของรถไฟฟ้าแล้วเสร็จประมาณ 80% แล้ว โรงพยาบาลจะเข้าก่อสร้างอาคารส่วนที่เหลือทั้งหมดจนแล้วเสร็จทั้งโครงการ ทั้งนี้โรงพยาบาลคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ทุกส่วนภายใน พ.ศ. 2566 พร้อม ๆ กับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง<ref>[https://www.prachachat.net/property/news-321939 “ศิริราช” ทุ่ม 2 พันล้าน ผุดตึกผู้ป่วยนอกสูง 15 ชั้นบนสถานีรถไฟฟ้าสีแดง-สีส้ม สร้าง 3 ปีเสร็จ]</ref>