ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาคม เฉ่งไล่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
บาร์เซโลน่า→บาร์เซโลนา
บรรทัด 22:
{{MedalSport | [[มวยสากลสมัครเล่น]]}}
{{MedalCompetition | [[โอลิมปิกฤดูร้อน]]}}
{{MedalBronze | [[โอลิมปิกฤดูร้อน 1992|บาร์เซโลน่าบาร์เซโลนา 2535]] |เวลเตอร์เวท}}
{{MedalCompetition | [[เอเชียนเกมส์]]}}
{{MedalSilver | [[เอเชียนเกมส์ 1994|ฮิโรชิมา 2537]]|เวลเตอร์เวท}}
บรรทัด 33:
อาคมเป็นคนที่ชอบเล่น[[ฟุตบอล]]มากกว่าชกมวย แต่เริ่มต้นการชก[[มวย]]จากการที่ได้ดูพี่ชายซ้อมมวย ขณะ[[ฝน|ฝนตก]] ไม่สามารถเตะฟุตบอลได้ เมื่อหัวหน้าค่ายเห็นจึงจับมาลองชก และหลังจากฝึกได้ไม่นาน จึงขึ้นชื่อในชื่อ "อิสระ เกียรติอินทรีดำ" และเอาชนะได้ พร้อมรับค่าตัวครั้งแรก 50 บาท เมื่ออายุได้ 12 ขวบ จากนั้นจึงตระเวนชกไปทั่ว[[ภาคใต้]] ก่อนที่จะเข้าสู่[[กรุงเทพ]] โดยได้อยู่กับค่ายศักดิ์กรีรินทร์ ของ พ.ต.ท.[[กรีรินทร์ อินทร์แก้ว]] (ยศในขณะนั้น) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "อิสระ ศักดิ์กรีรินทร์" จนได้เป็นแชมป์[[ไลท์เวท]] ของ[[สนามมวยเวทีลุมพินี]] โดยได้รับค่าตัวสูงสุด 1.2 แสนบาท ในการชกกับ [[ราม่อน แด็กเกอร์]] นักมวยหมัดหนักชาว[[เนเธอร์แลนด์]] เจ้าของฉายา ''"ไอ้กังหันลมนรก"'' และเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนราม่อน แด็กเกอร์ ไปได้ขาดลอย หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนมาชก[[มวยสากลสมัครเล่น]]เมื่อไม่มีคู่ชกในแบบ[[มวยไทย]]แล้ว สามารถคว้าเหรียญทองมาได้จากการแข่งขัน[[กีฬาแห่งชาติ]]ที่[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ในปี [[พ.ศ. 2534]]
 
จนกระทั่งได้ติด[[ทีมชาติไทย|ทีมชาติ]]ได้เป็นตัวแทนในรุ่น[[เวลเตอร์เวท]] แข่งขัน[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1992|กีฬาโอลิมปิกที่บาร์เซโลน่าบาร์เซโลนา]] [[ประเทศสเปน]] โดยในรอบแรก ชนะ ยูเซฟ คาเตรี จากอิหร่าน เมื่อ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 รอบสอง ชนะ นิก โอโดเร จากเคนยา เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2535 รอบ 8 คนสุดท้าย ชนะ วิทาลิยัส การ์ปาเซียสกัส จากลิทัวเนีย เมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2535 รอบรองชนะเลิศ แพ้ ไมเคิล คาร์รูท จากไอร์แลนด์ 11-4 หมัด เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ได้เหรียญทองแดง<ref>http://www.sports-reference.com/olympics/athletes/ch/arkom-chenglai-1.html</ref> (ก่อนการชกอาคมได้โกนศีรษะเพื่อแก้บน) ได้ครองเหรียญทองแดง และคาร์รูทก็ได้เหรียญทองในที่สุด ซึ่งอาคมเป็นนักกีฬาไทยเพียงคนเดียวที่ได้เหรียญรางวัลจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้
 
หลังจากนั้น อาคมก็ยังมิได้แขวน[[นวม]] ยังคงชกมวยสากลสมัครเล่นในนามทีมชาติต่อไป โดยได้ร่วมแข่งในรายการมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก ที่[[กรุงเทพ]] ในปี [[พ.ศ. 2537]] แต่แพ้ [[ที.เค.โอ.|RSC.]] (Referee Stop Contest) ไปอย่างหมดรูป แต่ก่อนแขวนนวมก็ยังได้ติดทีมชาติไปชกใน[[เอเชียนเกมส์ 1994|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 12]] ที่[[ฮิโรชิมา]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] ได้เหรียญเงินมาเป็นรายการสุดท้าย เมื่อติดทีมชาติเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ พ.ศ. 2538 ได้เพียงเหรียญทองแดง จึงได้แขวนนวมไปในที่สุด