ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียงผาเหนือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:Q778634
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
}}
'''เลียงผาเหนือ''' ({{lang-en|Chinese serow, Southwest china serow, Mainland serow}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Capricornis milneedwardsii}}<ref name="ความ"/>) เป็น[[สัตว์กีบคู่]]ชนิดหนึ่ง จำพวก[[เลียงผา]]
 
เลียงผาเหนือ เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของ[[เลียงผาใต้]] (''C. sumatraensis'') โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Capricornis sumatraensis milneedwardsii'' (ในบางข้อมูลยังจัดให้เป็นชนิดย่อยอยู่<ref name="dnp">[http://www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=169:2011-07-25-04-24-14&catid=36:2010-11-29-10-17-46&Itemid=48 สัตว์ป่าน่ารู้ เลียงผา]</ref>)
 
พบกระจายพันธุ์ในประเทศจีนทางใต้ เช่น เมืองเปาซิงเสียน ใน[[มณฑลเสฉวน]] ในประเทศไทยพบได้ในตอนเหนือของประเทศ และพบได้ทั่วทุกภาคยกเว้นภาคกลางและภาคใต้<ref name="ความ">[http://t-fern.forest.ku.ac.th/Forest/biodiversity/index.php?action=1&action3=detail&action2=mammal&id=187 ความหลากหลายของสัตว์ป่าเมืองไทย]</ref>
 
เลียงผาเหนือ มีขนที่หยาบสีเทาอมดำเหมือนเลียงผาใต้ อุณหภูมิระหว่างขนกับชั้นผิวหนังมีความแตกต่างกัน มีแผงคอที่พาดผ่านระหว่างเขาไปตรงกลางของด้านหลัง เขาโดยเฉพาะในเพศผู้จะโดดเด่น มีสีอ่อน ความยาวประมาณ 6 นิ้ว และมีความยาวโค้ง เลียงผาเหนือมีขนาดลำตัวที่ใหญ่มาก เมื่อเติบโตเต็มที่มีความยาวกว่า 6 ฟุต และมีส่วนสูง 3 ฟุต จากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ และมีน้ำหนักกว่าประมาณ 150 กิโลกรัม ขาทั้งสี่ตั้งแต่หัวเข่าลงไปจนถึงกีบมีสีน้ำตาลอมแดง
 
พบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงหรือหน้าผาและบริเวณที่มีความหน้าผาสูงได้ถึง 4,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลชัน สามารถอาศัยและปีนป่ายได้ดีในพื้นที่ที่มีความขรุขระ แต่ก็สามารถพบได้ว่าบางครั้งพบในที่รา่บ ว่ายน้ำได้ดี และสามารถว่ายน้ำข้ามทะเลไปยังอาศัยยังเกาะแก่งต่าง ๆ ได้อีกด้วย
 
ปกติแล้วเลียงผาเหนือมักอาศัยอยู่เพียงลำพังตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในถิ่้นที่ปราศจากการรบกวน โดยเฉพาะจากมนุษย์ มีอาณาเขตหากินไม่กี่ตารางไมล์ กินหญ้า, หน่อไม้ และใบไม้ต่าง ๆ เป็นอาหาร สัตว์ที่ค่อนข้างหวงถิ่น มีการเดินตรวจตราถิ่นอาศัยเป็นประจำ มีการประกาศอาณาเขตหากินอย่างชัดเจนด้วยการถ่ายมูล มักออกหากินตั้งแต่ช่วงเวลาเช้าตรู่และเวลาโพล้เพล้พลบค่ำ เลียงผาเหนือมักจะให้กำเนิดลูกอ่อนระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8 เดือน<ref name="iucn">[http://www.iucnredlist.org/details/3814/0 จาก] [[IUCN]]]</ref>
 
==อ้างอิง==