ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เริ่มรับราชการในรัชกาลที่ 1 ตำแหน่ง'''นายสนิทหุ้มแพรมหาดเล็ก''' ต่อมารัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้เป็น'''จมื่นเด็กชา''' หัวหมื่นมหาดเล็กวังหน้า รับราชการใน[[กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์]] และย้ายกลับมารับราชการตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์สวรรคตในปี [[พ.ศ. 2360]] และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น '''พระยาศรีสุริยวงศ์''' ในเวลาต่อมา
 
ในรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เป็น '''พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา''' ตำแหน่งจางวางพระคลังสินค้า ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดให้เรียกพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาว่า '''เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ''' และโปรดเกล้าให้เป็น '''สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ''' ให้สำเร็จราชการทุกสิ่งใน[[พระนคร]] รวมทั้งว่าที่พระคลังสินค้า คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย" (เรียก[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] พี่ชายของท่านว่าว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่")
 
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นแม่กองสร้าง[[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] สร้าง[[ภูเขาทอง|พระปรางค์ภูเขาทอง]] [[วัดสระเกศ]] สร้าง[[วัดปทุมวนาราม]] สร้าง[[พระอภิเนาว์นิเวศน์]]และ[[พระที่นั่งไชยชุมพล]] ซ่อม[[พระที่นั่งสุทไธสวรรย์]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถในการเดินเรือ เป็นผู้ต่อเรือบาร์จ (เรือท้องแบน) ขนาด 300 ตัน และเรือสกูนเนอร์ ขนาด 200 ตัน ใช้เดินทางติดต่อค้าขายถึง[[ศรีลังกา]]