ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74:
 
== สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) ==
อะฮลิสซุนนะฮฺเชื่อและศรัทธาว่า พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีคุณลักษณะ (ศิฟาต) และพระนาม (อัสมาอฺ) จริงๆ ตามมที่มีระบุในอัล-กุรอานและบรรดาหะดีษที่เศาะฮีหฺ อันเป็นคุณลักษณะ (ศิฟาต) ตามที่พระองค์ทรงระบุไว้แก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ระบุคุณลักษณะนั้นๆ แก่พระองค์โดยไม่มีวิธีการ (بَلَاكَيْف) หรือการอธิบายว่าเป็นอย่างไร? (بِلَاتَكْيِيْف) หรือการเปรียบว่าเหมือน (بِلَاتَمْثِيْل) หรือการเทียบว่าคล้าย (بِلَاتَشْبِيْهٍ) หรือการตีความเป็นอื่น (بِلَاتَأْوِيْل) หรือการบิดเบือน (بِلَاتَحْرِيْفٍ) หรือการปฏิเสธคุณลักษณะนั้นว่าพระองค์ปลอดจากการมีคุณลักษระ (بِلَاتَعْطِيْلٍ) พร้อมกับปักใจว่าคุณลักษณะของพระองค์ไม่มีสิ่งใดเหมือน ไม่เหมือนสิ่งใด
 
 
เรายืนยันคุณลักษณะ (ศิฟาต) นั้นว่าเป็นคุณลักษระ (ศิฟะฮฺ) จริงๆ ของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์ เมื่อพระองค์และนบีของพระองค์ระบุว่า พระองค์ทรงมีพระหัตถ์ และพระองค์ทรงมีพระพักต์ เป็นต้น เราก็ยืนยันตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุ พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะจริงๆ ของพระองค์ ความหมายของคำว่า “พระหัตถ์” (اليد) และคำว่า พระพักตร์” (الوَجه) ตามมูลภาษาแปลได้เพียงแค่นั้น แต่ความจริงแท้ของความหมาย (หะกีเกาะฮฺ อัล-มุอฺนา อัล-มุรอด) ของคำที่บ่งคุณลักษณะนั้นไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์
 
 
เพราะคำว่า พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ไม่ใช่ความหมายตามมูลภาษาที่หมายถึงอวัยวะหรือส่วนประกอบ เมื่อพระพักตร์และพระหัตถ์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ของพระองค์ที่ไม่ใช่อวัยวะตามมูลภาษา แต่เป็นคุณลักษณะที่ไม่มีสิ่งใดเหมือนไม่เหมือนสิ่งใด เราก็เชื่อและยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะตามนั้นคือ พระองค์ทรงมี พระพักต์และพระหัตถ์เป็นคุณลักษณะจริงตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุไว้ในอัล-กุรอาน และหะดีษที่เศาะฮีหฺ
 
 
มิใช่เชื่อตามความหมายจริงตามรากศัพท์ของคำ (มะอฺนา หะกีกียฺ) เฉยๆ แต่เชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์บอกถึงคุณลักษณะนั้นหรือเชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์มีประสงค์ต่อความหมายนั้นควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน ความคล้าย วิธีการ และการอธิบายในเชิงตีความ พร้อมกับมอบหมาย (ตัฟวีฏ) ความรู้เกี่ยวกับหะกีเกาะฮฺ (ความจริงแท้) แห่งคุณลักษณะ (ศะฟะฮฺ) นั้นไปยังความรู้ของพระองค์ นี่คือความเชื่อในเรื่องการยืนยันคุณลักษณะ (إثْبَاتُ الصِّفَات) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน (نَفْيُ التَّشْبِيْه)ตามแนวทางของสลัฟศอลิหฺที่นักวิชาการอธิบายไว้
นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ซุนนี"