ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ยุคใหม่: เพิ่ม พ.ศ.
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ภูมิอากาศ: เพิ่ม พ.ศ.
บรรทัด 100:
เกาะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟบน[[วงแหวนไฟ|วงแหวนไฟแปซิฟิก]] รอยต่อสามโบะโซะ (Boso Triple Junction) นอกชายฝั่งญี่ปุ่นเป็นรอยต่อสามที่[[แผ่นอเมริกาเหนือ]] [[แผ่นแปซิฟิก]]และ[[แผ่นทะเลฟิลิปปิน]]บรรจบกัน ประเทศญี่ปุ่นเดิมติดกับชายฝั่งตะวันออกของ[[ทวีปยูเรเชีย]] แต่แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงดึงประเทศญี่ปุ่นไปทางตะวันออก เปิด[[ทะเลญี่ปุ่น]]เมื่อประมาณ 15 ล้านปีก่อน<ref>{{cite web|url=http://shinku.nichibun.ac.jp/jpub/pdf/jr/IJ1501.pdf|last=Barnes|first=Gina L.|title=Origins of the Japanese Islands|publisher=[[University of Durham]]|year=2003|accessdate=August 11, 2009}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ 108 ลูก ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีภูเขาไฟใหม่เกิดขึ้นหลายลูก รวมทั้งโชวะ-ชินซันบนฮกไกโดและเมียวจิน-โชนอกหินบายองเนสในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างซึ่งมักทำให้เกิด[[คลื่นสึนามิ]]ตามมาหลายครั้งทุกศตวรรษ<ref>{{cite web |url=http://volcano.und.edu/vwdocs/volc_images/north_asia/japan_tec.html |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070204064754/http://volcano.und.edu/vwdocs/volc_images/north_asia/japan_tec.html |archivedate=February 4, 2007 |title=Tectonics and Volcanoes of Japan |publisher=Oregon State University |accessdate=March 27, 2007}}</ref> [[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466]] ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน<ref>{{cite web|last=James |first=C.D. |title=The 1923 Tokyo Earthquake and Fire |url=http://nisee.berkeley.edu/kanto/tokyo1923.pdf |publisher=University of California Berkeley |accessdate=January 16, 2011 |year=2002 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070316050633/http://nisee.berkeley.edu/kanto/tokyo1923.pdf |archivedate=March 16, 2007 |df= }}</ref> แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุด ได้แก่ [[แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538]] และ[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554|แผ่นดินไหวในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554]] ซึ่งมีขนาด 9.1 และทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ดัชนีความเสี่ยงโลกปี พ.ศ. 2556 จัดให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงสุดอันดับที่ 15<ref name="2013 World Risk Report">[http://www.worldriskreport.com/uploads/media/WorldRiskReport_2013_online_01.pdf 2013 World Risk Report] {{webarchive |url=https://web.archive.org/web/20140816173655/http://www.worldriskreport.com/uploads/media/WorldRiskReport_2013_online_01.pdf |date=August 16, 2014 }}</ref>
 
=== ภูมิอากาศ ===
บรรทัด 107:
เขตเหนือสุด ฮกไกโด มีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นที่มีฤดูหนาวเย็นและยาวนาน และมีฤดูร้อนอุ่นมากถึงเย็น [[หยาดน้ำฟ้า]]ไม่หนัก แต่หมู่เกาะมักมีกองหิมะลึกในฤดูหนาว ในเขตทะเลญี่ปุ่นตรงชายฝั่งตะวันตกของฮนชู ลมฤดูหนาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือนำให้หิมะตกหนัก ในฤดูร้อน ภูมิภาคนี้เย็นกว่าเขตแปซิฟิก แม้บางครั้งมีอุณหภูมิร้อนจัดเนื่องจาก[[ลมเฟิน]] (foehn) เขตที่สูงภาคกลางเป็นภูมิอากาศแบบทวีปชื้นในแผ่นดินตรงแบบ มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนมีความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนมาก หยาดน้ำฟ้าเบาบาง แม้ฤดูหนาวปกติมีหิมะตก เขตภูเขา[[ชูโงกุ]]และ[[เกาะชิโกกุ]]กั้นทะเลในแผ่นดินเซโตะจากลมตามฤดูกาล ทำให้มีลมฟ้าอากาศไม่รุนแรงตลอดปี ชายฝั่งแปซิฟิกมีลักษณะภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูหนาวไม่รุนแรง มีหิมะตกบางครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนชื้นเนื่องจากลมฤดูกาลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะรีวกีวมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน โดยมีฤดูหนาวอบอุ่นและฤดูร้อนร้อน หยาดน้ำฟ้าหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฤดูฝน<ref name=autogenerated2>{{cite book|last=Karan|first=Pradyumna Prasad|title=Japan in the 21st century|year=2005|publisher=University Press of Kentucky|isbn=0-8131-2342-9|pages=18–21, 41|author2=Gilbreath, Dick}}</ref>
 
อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 25.2 องศาเซลเซียส<ref>{{cite web|title=Climate|url=http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/essential/climate.html|publisher=[[Japan National Tourism Organization|JNTO]]|accessdate=March 2, 2011}}</ref> อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 41.0 องศาเซลเซียส ซึ่งมีบันทึกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556<ref>{{cite web|url=http://ds.data.jma.go.jp/tcc/tcc/news/press_20130813.pdf |title=Extremely hot conditions in Japan in midsummer 2013
|publisher=Tokyo Climate Center, Japan Meteorological Agency |date=August 13, 2013 |accessdate=August 3, 2017}}</ref> ฤดูฝนหลักเริ่มในต้นเดือนพฤษภาคมในโอกินาวะ และแนวฝนจะค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นเหนือจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม ในฮนชูส่วนใหญ่ ฤดูฝนเริ่มก่อนกลางเดือนมิถุนายนและกินเวลาประมาณหกสัปดาห์ ในปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง พายุไต้ฝุ่นมักนำพาฝนตกหนักมา<ref name="climate">{{cite web |url=http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/essential/climate.html |title=Essential Info: Climate |publisher=[[Japan National Tourism Organization|JNTO]] |accessdate=April 1, 2007}}</ref>